กระทู้ ๓ | น. ชื่อหนอนผีเสื้อกลางคืนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Noctuidae ลำตัวรูปทรงกระบอก ยาว ๓-๔ เซนติเมตร ผิวเป็นมัน มีขนตามลำตัวน้อย ส่วนใหญ่สีน้ำตาลคลํ้า ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือเส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมนํ้าตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาวที่สันหลังและข้างลำตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทำให้เหลือแต่ตอโผล่เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์หรือหนอนกระทู้คอรวง [ Mythimna separate (Walker) ] ทำลายต้นข้าว, หนอนกระทู้ผัก [ Spodoptera litura (fabricius) ] ที่กัดกินพืชผัก. |
ขมวน | (ขะหฺมวน) ว. ผุ, ยุ่ย, ใช้แก่เนื้อแห้งปลาแห้งเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ ซึ่งเกิดจากเชื้อราหรือตัวขมวนกัดกิน เช่น ปลาเป็นขมวน เนื้อเป็นขมวน. |
จิ้งหรีด | น. ชื่อแมลงในวงศ์ Gryllidae หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน หนวดยาว ปากเป็นชนิดกัดกิน ลำตัวยาว ๑-๓ เซนติเมตร มีปีก ๒ คู่ ปีกคู่หน้าหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้างของลำตัว ปีกคู่หลังบางพับเก็บอยู่ใต้ปีกคู่หน้า เพศผู้ปีกคู่หน้ามีลวดลายเป็นสัน ทำเสียงได้โดยใช้ปีกคู่หน้าสีกัน กินใบพืช เช่น ทองดำ [ Gryllus bimaculatus (De Geer) ] ทองแดง [ Teleogryllus mitratus (Burmeister) ], จังหรีด ก็เรียก. |
ด้วง ๑ | น. ชื่อแมลงในอันดับ Coleoptera มีปีก ๒ คู่ ลำตัวและปีกคู่หน้าแข็ง เมื่อพับปีกขอบปีกจะจดกันที่กึ่งกลางสันหลัง ปีกคู่หลังเป็นแผ่นใหญ่บางใสพับซ้อนอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน อกปล้องแรกใหญ่และเห็นได้ชัดเจน เช่น ด้วงแรด ในวงศ์ Scarabaeidae ด้วงดิน ในวงศ์ Carabidae ด้วงงวง ในวงศ์ Curculionidae ด้วงบางชนิดมีชื่อเรียกต่างออกไป เช่น กว่าง ค่อม ตด ทับ แมลงพวกนี้มีมากชนิดกว่าแมลงในอันดับอื่น ๆ, แมลงปีกแข็ง ก็เรียก. |
ต่อ ๑ | น. ชื่อแมลงหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ อันดับ Hymenoptera มีความยาว ๑.๕ เซนติเมตรขึ้นไป มีปีก ๒ คู่ ลักษณะเป็นแผ่นบางใส ปีกคู่หลังเล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน ช่วงต่อระหว่างปล้องอกกับปล้องท้องคอดกิ่ว เพศเมียมีเหล็กในสำหรับต่อยปล่อยนํ้าพิษทำให้เจ็บปวดอาจถึงตายได้ และสามารถต่อยได้หลายครั้งต่างกับผึ้ง บางชนิดอยู่อย่างลำพัง แต่บางชนิดรวมกลุ่มทำรังอยู่เป็นฝูง ที่สำคัญได้แก่ วงศ์ Vespidae เช่น ต่อหัวเสือ [ Vespa affinis (Linn.) ] ต่อหลุม ( V. mandarinia Smith) นอกจากนี้ยังมีต่อในวงศ์อื่น ๆ เช่น ต่อกาเหว่า หมาร่า ต่อแมงมุม. |
ตั๊กแตน | (ตั๊กกะ-) น. ชื่อแมลงหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ในอันดับ Orthoptera ลำตัวยาว มีขนาดต่าง ๆ กัน อาจมีปีกหรือไม่มีก็ได้ พวกที่มีปีกจะมี ๒ คู่ ปีกคู่หน้าค่อนข้างหนา ยาวและแคบ คู่หลังบางและกว้างพับอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน ส่วนอกมีลักษณะต่างกันมาก อาจกว้างใหญ่ แคบ ยาว หรือสั้น ขาอาจเหมือนกันหมด หรือมีขาหน้าหรือขาหลังใหญ่กว่าคู่อื่น ๆ เช่น ตั๊กแตนผี [ Aularches miliaris (Linn.) ] ในวงศ์ Acrididae ตั๊กแตนตำข้าว เช่น ชนิด Hierodula membranaceusBurmeister ในวงศ์ Mantidae ตั๊กแตนใบไม้ เช่น ชนิด Phyllium pulcherifolium Serville ในวงศ์ Phasmidae และตั๊กแตนกิ่งไม้ เช่น ชนิด Eurycnema versirubra (Serville) ในวงศ์ Phasmidae. |
ปาทังกา | น. ชื่อตั๊กแตนชนิด Patanga succincta (Linn.) ในวงศ์ Acrididae ลำตัวยาว ๖-๗ เซนติเมตร กว้าง ๗-๘ มิลลิเมตร สีแตกต่างกันไปเป็นสีนํ้าตาล นํ้าตาลแก่ มีแถบสีครีมพาดจากหัวไปทางด้านหลังปล้องอกจนถึงปีก ขอบตาด้านหน้าและด้านหลังมีแถบสีครีมพาดยาวลงมา ปีกมีจุดและรอยด่างกระจายทั่วไป อาจพบอยู่เดี่ยว ๆ หรือเป็นฝูง กัดกินพืชต่าง ๆ. |
พรุน | (พฺรุน) ว. ลักษณะที่เป็นรูเว้าหวำชอนไชไปทั่วแทบไม่มีชิ้นดี เช่น ผ้าถูกแมลงกัดกินพรุนไปหมด. |
แมลงดำหนาม | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Chrysomelidae มีขนาดแตกต่างกัน ปีกคู่หน้ามีหนามสีดำ กัดกินใบพืชเห็นเป็นทางขาว ที่พบกินใบข้าว เรียก แมลงดำหนามข้าว เช่น ชนิด Dicladispa armigera (Olivier) ลำตัวป้อม และแมลงดำหนามมะพร้าว (Plesispa reichei Chapuis) ลำตัวเรียวกว่า ทั้ง ๒ ชนิดลำตัวยาว ๕-๖ มิลลิเมตร. |
เล็ม | ตัดแต่ริมหรือปลายทีละน้อย เช่น เล็มผม, เลือกเก็บหรือเด็ดทีละน้อย เช่น เล็มยอดกระถิน, เลือกเก็บแต่ผลที่เห็นว่าสุกหรือใช้ได้ เช่น เล็มมะม่วง, กัดกินทีละน้อย เช่น เด็กเล็มขนม แกะเล็มหญ้า, และเล็ม ก็ว่า. |
และเล็ม | ก. กัดกินทีละน้อย เช่น เด็กและเล็มขนม แกะและเล็มหญ้า |
หนอนม้วนใบข้าว | ชื่อหนอนผีเสื้อหลายชนิดในสกุล Cnaphalocrocisและ Marasmia วงศ์ Pyralidae ตัวหนอนใสสีเขียวอ่อน หัวสีน้ำตาล ม้วนใบข้าวตามยาวเป็นที่อยู่แล้วกัดกินผิวใบอยู่ภายใน ทุกชนิดเป็นศัตรูข้าว ชนิดที่พบมากที่สุด ได้แก่ ชนิด C. medinalis (Guenée) ตัวหนอนยาวประมาณ ๑๒ มิลลิเมตร, หนอนห่อใบข้าว ก็เรียก. |