Crop guarantee fund | กองทุนประกันราคาพืชผล [เศรษฐศาสตร์] |
Bank-Fund Collaboration | ธนาคารโลกร่วมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Pension fund | กองทุนบำนาญ [เศรษฐศาสตร์] |
Common commodity fund | กองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ [เศรษฐศาสตร์] |
Revolving loan fund | กองทุนหมุนเวียนเพื่อให้กู้ยืม [เศรษฐศาสตร์] |
Real Estate Investment Trust | กองทุนอสังหาริมทรัพย์ [ธุรกิจ] |
International Monetary Fund | กองทุนการเงินระหว่างประเทศ [ธุรกิจ] |
Asian Bond Fund | กองทุนพันธบัตรเอเชีย, Example: เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2546 โดยธนาคารกลางของกลุ่มประเทศ และเขตเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก-แปซิฟิกรวม 11 ประเทศหรือที่รู้จักกันในนาม Executive’s Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย กองทุน ABF จะมุ่งลงทุนในพันธบัตรเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ออกโดยรัฐบาลหรือ รัฐวิสาหกิจของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศเอเชียยกเว้นพันธบัตรที่ออกโดยประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ กองทุนพันธบัตรเอเชียกองแรกนั้นมีวงเงินแรกเริ่มจำนวนประมาณ 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ [ตลาดทุน] |
Asian Bond Fund 2 | กองทุนพันธบัตรเอเชีย ระยะที่ 2, Example: กองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่ 2 หรือ กองทุน ABF2 จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2547 โดยมีวัตถุประสงค์ลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินท้องถิ่นของกลุ่มประเทศเอเชีย ทั้ง 8 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ฮ่องกง สาธารณรัฐเกาหลี และมาเลเซีย เงินทุนใน ABF2 มีจำนวน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะได้รับการจัดสรรแบ่งเป็นกองทุนใหญ่ 2 กอง ได้แก่ กองทุนแพน-เอเชีย บอนด์ อินเด็กซ์ ฟันด์ (Pan-Asia Bond Index Fund : PAIF) ซึ่งจะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและกึ่งรัฐบาลในสกุลเงินท้องถิ่นของสมาชิก EMEAP 8 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ จำนวน 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และฟันด์ ออฟ บอนด์ ฟันด์ (Fund of Bond Funds : FoBF) ซึ่งเป็น 8 กองทุนย่อยใน 8 ประเทศซึ่งจะลงทุนในพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลและกึ่งรัฐบาลในสกุลเงินท้องถิ่นของแต่ละตลาด รวมจำนวน 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ [ตลาดทุน] |
Mutual fund | กองทุนรวม, Example: กองทรัพย์สินที่จัดตั้งและบริหารโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมหรือเรียกย่อ ๆ ว่า " บลจ." มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ที่ให้ผลตอบแทนและมีความเสี่ยงในการลงทุนแตกต่างกันไป อาทิเช่น ลงทุนในหุ้นทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตราสารทางการเงินประเภทต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผลหรือกำไรจากการขายหน่วยลงทุน โดยกองทุนรวมจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ กองทุนเปิด (Open-End Fund) และกองทุนปิด (Closed-End Fund) [ตลาดทุน] |
Closed-end fund | กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน (กองทุนปิด), Example: กองทุนรวมที่ บลจ. จะไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนจนกว่าจะครบกำหนดอายุกองทุนรวม เช่น 5 ปี 7 ปี เป็นต้น โดย บลจ. จะเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียวตอนเริ่มต้นโครงการ ทำให้หน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทนี้มีจำนวนที่แน่นอนและเพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ลงทุน บลจ. มักนำหน่วยลงทุนไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้ โดยผ่านบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์ในราคาตลาด ซึ่งอาจจะต่ำกว่า หรือสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงของหน่วยลงทุนนั้น ๆ [ตลาดทุน] |
Open-end fund | กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (กองทุนเปิด), Example: กองทุนรวมที่ บลจ. ขายหน่วยลงทุนและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในโครงการ เช่น เปิดทำการซื้อขายเดือนละครั้ง สัปดาห์ละครั้ง หรือทุกวันทำการ ในราคาซื้อขายหน่วยลงทุนที่คำนวณจากราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนอยู่ [ตลาดทุน] |
Property fund “Type 1 Fund” | กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) , กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1), Example: กองทุนรวมที่ บลจ. จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป เพื่อไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีรายได้ประจำในรูปค่าเช่า เช่น อาคารสำนักงาน เซอร์วิส อพาร์ทเมนท์ เป็นต้น โดยรายได้ที่เกิดขึ้นจากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปให้ผู้ลงทุนในรูปเงินปันผล และ บลจ. จะนำกองทุนไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้ กองทุนดังกล่าวจัดเป็นกองทุนปิด ทั้งนี้ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกอง 1 นั้นจะมี 2 แบบคือ การลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อให้มีกรรมสิทธิ์ในการครอบครอง (ซื้อมาเป็นเจ้าของ) (Free hold) และอีกแบบหนึ่งคือ การลงทุนในสิทธิการเช่า (Lease Hold) [ตลาดทุน] |
Property fund for resolving financial institution problems “Type 2 Fund” | กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 2), Example: กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ บลจ. จัดตั้งขึ้นเพื่อจำหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ในการนำเงินที่ได้รับจากการจำหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าว [ตลาดทุน] |
Mutual fund for resolving financial institution problems “Type 3 Fund” | กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 3) , กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 3), Example: กองทุนรวมที่ บลจ. จัดตั้งขึ้นเพื่อจำหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนำเงินที่ได้รับจากการจำหน่ายหน่วยลงทุนที่ไปลงทุนในทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน [ตลาดทุน] |
Property and loan fund “Type 4 Fund” | กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (กอง 4) , กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (กอง 4), Example: กองทุนรวมที่ บลจ. จัดตั้งขึ้นเพื่อจำหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบันโดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนำเงินที่ได้รับจากการจำหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดหาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องหรือในทรัพย์สินอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน [ตลาดทุน] |
Equity fund | กองทุนรวมตราสารแห่งทุน, Example: กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ซึ่งตราสารแห่งทุนหมายความถึงหุ้นสามัญของบริษัทต่าง ๆ หุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เป็นต้น [ตลาดทุน] |
Fixed income fund | กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้, Example: กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เช่น พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ เป็นต้น โดยจะไม่ลงทุนในหุ้นหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น [ตลาดทุน] |
Mixed fund | กองทุนรวมผสม, Example: กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินตลอดจนการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยสัดส่วนการลงทุนตามนโยบายดังกล่าวขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบริษัทจัดการกองทุนรวมตามความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในแต่ละขณะ หรือกำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารแห่งทุนในขณะใดขณะหนึ่งน้อยกว่าร้อยละหกสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม [ตลาดทุน] |
Money market fund | กองทุนรวมตลาดเงิน, Example: กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารหนี้ หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ซึ่งมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถามหรือจะครบกำหนดชำระคืนหรือมีอายุสัญญาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สิน หรือเข้าทำสัญญาเหล่านั้น [ตลาดทุน] |
Guaranteed fund | กองทุนรวมมีประกัน, Example: กองทุนรวมมีประกัน คือ กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีบุคคลอื่นประกันว่าหากผู้ถือหน่วยลงทุนได้ถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาที่กำหนด ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชำระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจำนวนเงินที่ประกันไว้ [ตลาดทุน] |
Fund of funds | กองทุนรวมหน่วยลงทุน, Example: กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม เนื่องจากกองทุนรวมมีข้อดีหลายประการ ที่สำคัญคือ มีการกระจายการลงทุน ความเสี่ยงจึงลดลง ทั้งยังมีต้นทุนเฉลี่ยต่ำ กองทุนรวมหน่วยลงทุนจึงรับเอาข้อได้เปรียบดังกล่าวมา นอกจากนั้นแล้ว กองทุนรวมหน่วยลงทุนยังกระจายการลงทุนไปในหลาย กองทุนรวมภายใต้การจัดการของหลายผู้จัดการกองทุนและหลายบริษัทจัดการ จึงเป็นการกระจายความเสี่ยงที่กว้างขวางกว่า ข้อเสียของกองทุนรวมหน่วยลงทุน คือจะมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการจัดการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซ้ำซ้อน [ตลาดทุน] |
Capital protected fund | กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น, Example: กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมวางแผนการลงทุนเพื่อให้ความคุ้มครองเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม [ตลาดทุน] |
Specific fund | กองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน, Example: กองทุนรวมที่มีนโยบายในการกระจายการลงทุนน้อยกว่ามาตรฐานการกระจายการลงทุนที่สำนักงาน ก.ล.ต.กำหนดสำหรับกองทุนรวมทั่วไป [ตลาดทุน] |
Index fund | กองทุนรวมดัชนี, Example: กองทุนรวมที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยดัชนีราคาหลักทรัพย์ดังกล่าวต้องได้รับการยอมรับจากสำนักงาน ก.ล.ต. [ตลาดทุน] |
Foreign investment fund | กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ, Example: กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนในประเทศไปลงทุนในต่างประเทศ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาอนุญาตให้มีการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้ในวงเงินจำกัดในแต่ละปี ต้องนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศทั้งจำนวน เว้นแต่เป็นกรณีเงินฝากในประเทศ เพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงานของกองทุน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน เป็นต้น [ตลาดทุน] |
Mutual fund for resolving capital problem of commercial banks | กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์, Example: กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเพื่อแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ โดยจะต้องเป็นกองทุนรวมที่กำหนดอายุโครงการจัดการกองทุนรวมที่แน่นอน [ตลาดทุน] |
Vayupak fund | กองทุนรวมวายุภักษ์, Example: จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพิ่มทางเลือกในการออมและการลงทุนให้แก่ประชาชน 2. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศ 3. ทำให้การบริหารจัดการหลักทรัพย์ที่กระทรวงการคลังถือครองอยู่เกิดประโยชน์สูงสุด และเพิ่มทางเลือกให้กับรัฐบาลในการจัดสรรเงินที่นอกเหนือจากการจัดสรรเงินจากงบประมาณ เพื่อนำไปลงทุนในกิจการที่มีความจำเป็นและต้องการการส่งเสริมจากภาครัฐ [ตลาดทุน] |
Retirement mutual fund | กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ, Example: กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมและการลงทุนของบุคคล เพื่อเตรียมความพร้อมไว้สำหรับการเกษียณอายุที่มีคุณภาพ ผู้ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มากกว่าการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป เพราะเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกินปีละ 500, 000 บาท ทั้งนี้ ให้นับรวมเงินลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี ผู้ลงทุนจะได้รับประโยชน์จากการประหยัดภาษีเงินได้ทันที ตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มลงทุน [ตลาดทุน] |
Country fund | กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ, Example: กองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดแก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย [ตลาดทุน] |
Long term equity fund | กองทุนรวมหุ้นระยะยาว, Example: กองทุนรวมตราสารแห่งทุนที่นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยทางการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน (ซึ่งก็คือ กองทุนรวม) ที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าวจะช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุน โดยเงินลงทุนซื้อหน่วยในกองทุนประเภทนี้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ โดยกำหนดเพดานสูงสุดไว้ที่ไม่เกิน 500, 000 บาท นอกจากนี้ กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุนหรือ capital gain tax ก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นเงินได้เมื่อเสียภาษี ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ลงทุนจะต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน [ตลาดทุน] |
Tsunami fund | กองทุนรวมสึนามิ, Example: กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์ของกิจการที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากธรณีพิบัติที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ใน 6 จังหวัดภาคใต้ [ตลาดทุน] |
Exchange traded fund | กองทุนรวมอีทีเอฟ, Example: กองทุนรวมเปิดที่โดยทั่วไปบริษัทจัดการกองทุนรวมจะขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกับผู้ลงทุนรายใหญ่ และจัดให้มีตลาดรอง (organized market) สำหรับการซื้อขายหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนใด ๆ โดยบริษัทได้จัดให้มีผู้ลงทุนรายใหญ่อย่างน้อยหนึ่งรายที่พร้อมจะซื้อและขายคืนหน่วยลงทุนเพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรองสะท้อนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมได้อย่างใกล้เคียง [ตลาดทุน] |
Flexible automatic redemption fund | กองทุนรวมที่มีการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ, Example: กองทุนรวมประเภท auto redemption เป็นกองทุนเปิดที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ระหว่างทางก่อนครบอายุโครงการ โดยกองทุนลักษณะนี้จะมีการจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ลงทุนเป็นงวด ๆ เพียงแต่เงินที่ผู้ลงทุนจะได้รับกลับมานั้นจะไม่ใช่เงินปันผล แต่เป็นเงินที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรายละเอียดโครงการของกองทุนรวม โดยเงินจำนวนนี้ผู้ถือหน่วยที่เป็นบุคคลธรรมดาจะไม่ถูกหักภาษีเหมือนกับเงินปันผล ทำให้ได้รับเงินจากการขายคืนแบบอัตโนมัตินี้เต็มจำนวน [ตลาดทุน] |
Private fund | กองทุนส่วนบุคคล, Example: การจัดการเงินทุนของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้มอบหมายให้จัดการลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะมีการลงทุนในทรัพย์สินอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่นโดยการจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลนั้นจะเป็นการทำสัญญาระหว่างลูกค้ากับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจึงไม่ได้มีสภาพเป็นนิติบุคคล กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงเป็นของลูกค้า ชื่อเจ้าของทรัพย์สินก็ยังคงเป็นชื่อของลูกค้า แต่จะมีการระบุชื่อของบริษัทจัดการควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าที่บริหารโดยบริษัทจัดการใด และเนื่องจากกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินเป็นของลูกค้า สัญชาติของกองทุนส่วนบุคคลจึงเป็นไปตามสัญชาติของลูกค้าด้วย ซึ่งเมื่อการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลในหลักทรัพย์ได้รับผลประโยชน์ เช่น หุ้นที่ลงทุนไว้มีการจ่ายเงินปันผล (dividend) หรือขายหุ้นแล้วได้ส่วนเกินจากมูลค่าเงินลงทุน (capital gain) ลูกค้าก็จะต้องเสียภาษีในผลประโยชน์ที่ตนได้รับในอัตราภาษีเช่นเดียวกับที่ลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์นั้น [ตลาดทุน] |
Provident fund | กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, Example: กองทุนสะสมสำหรับลูกจ้างเมื่อออกจากงาน กองทุนนี้จะสะสมเงินเข้ากองทุนเป็นรายเดือน โดยส่วนหนึ่งเป็นการหัก สะสมมาจากเงินเดือนของลูกจ้างและอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินสมทบของฝ่ายนายจ้าง เพื่อให้เกิดประโยชน์งอกเงยแก่กองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และจำกัดความเสี่ยง ทางการได้กำหนดขอบเขตการลงทุนของกองทุน และกำหนดสัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ไว้ การลงทุนของกองทุน จะต้องอยู่ภายใต้การจัดการของสถาบันการเงิน ที่ได้รับใบอนุญาตจัดการกองทุนส่วนบุคคล [ตลาดทุน] |
Fund manager | ผู้จัดการกองทุน, Example: ผู้จัดการกองทุนรวม ได้แก่ กรรมการหรือพนักงานของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจในการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. [ตลาดทุน] |
Private fund manager | ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล, Example: ผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก บลจ. ให้ทำหน้าที่ในการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. [ตลาดทุน] |
Private fund manager | ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล, Example: ผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก บลจ. ให้ทำหน้าที่ในการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. [ตลาดทุน] |
Provident Fund Act B.E. 2530 | พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530, Example: พระราชบัญญัติเพื่อกำกับดูแลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2530 โดยแต่งตั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียน และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกกฎกระทรวงและกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ต่อมาได้แก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฉบับที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2542 และเมื่อ พ.ศ. 2543 กระทรวงการคลังได้โอนการกำกับดูแลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่คณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้ให้ความเห็นชอบในเรื่องต่าง ๆ [ตลาดทุน] |
Portfolio duration | อายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของกระแสเงินสดที่ได้รับจากทรัพย์สินของกองทุนรวม, Example: อายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของกระแสเงินสดที่ได้รับจากทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งคำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกำหนดที่ต้องการขายหรือต้องการซื้อหุ้นดังกล่าวนั้นจะสามารถกระทำได้เสมอ [ตลาดทุน] |
Net Capital Rule | หลักเกณฑ์เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ, Example: เงินกองทุนสภาพคล่องของบริษัท หมายถึง สินทรัพย์สภาพคล่องของบริษัทหักด้วยหนี้สินรวมของบริษัทนั้น เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ หมายถึง เงินกองทุนสภาพคล่องหักด้วยค่าความเสี่ยง ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิขึ้นมาใช้ก็เพื่อเป็นการเพิ่มมาตรฐานเกี่ยวกับฐานะความมั่นคงทางการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ และเพื่อสร้างความมั่นใจว่าบริษัทหลักทรัพย์จะดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องให้เพียงพอที่จะจ่ายคืนหนี้สินแก่ลูกค้าเมื่อบริษัทประสบปัญหาทางการเงิน [ตลาดทุน] |
Bank capital | เงินกองทุนของธนาคาร [TU Subject Heading] |
Charitable uses, trusts, and foundations | กฎหมายกองทุนการกุศล [TU Subject Heading] |
Closed-end funds | กองทุนปิด [TU Subject Heading] |
Common Fund for Commodities | กองทุนร่วมเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ [TU Subject Heading] |
Endowments | กองทุนการกุศล [TU Subject Heading] |
Fund accounting | การบัญชีกองทุน [TU Subject Heading] |
Funds and scholarships | กองทุนและทุนการศึกษา [TU Subject Heading] |
International Convention on the Establishment of an International Fund for Compensation for Oil Pollution Damage (1971) | อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายอันเนื่องมาจากมลพิษของน้ำมัน (ค.ศ. 1971) [TU Subject Heading] |
coffer { coffered | n. กล่องใส่ของมีค่า, หีบใส่เงิน, กำปั่น, See also: coffers n., pl. กองทุน เงินทุน, หีบจมน้ำ, อู่เรือลอยน้ำ. vt. บรรจุในหีบ, ประดับด้วยหีบ |
coffering | n. กล่องใส่ของมีค่า, หีบใส่เงิน, กำปั่น, See also: coffers n., pl. กองทุน เงินทุน, หีบจมน้ำ, อู่เรือลอยน้ำ. vt. บรรจุในหีบ, ประดับด้วยหีบ |
coffers } | n. กล่องใส่ของมีค่า, หีบใส่เงิน, กำปั่น, See also: coffers n., pl. กองทุน เงินทุน, หีบจมน้ำ, อู่เรือลอยน้ำ. vt. บรรจุในหีบ, ประดับด้วยหีบ |
foundation | (เฟาเด'เชิน) n. รากฐาน, พื้นฐาน, การก่อ, การสร้าง, การสถาปนา, มูลนิธิ, กองทุนมูลนิธิ, ผู้ก่อตั้ง, คณะผู้ก่อตั้ง, เครื่องรัดลำตัวผู้หญิง., See also: foundationary adj., Syn. basis |
i.m.f. | abbr. International Monetary Fund กองทุนระหว่างประเทศ |
imf | abbr. International Monetary Fund กองทุนระหว่างประเทศ |
kitty | (คิท'ที) n. ลูกแมว, ชื่อเล่นสำหรับแมว, กองทุน, เงินเดิมพัน, เงินชัก pl.kitties |
nobel | n. รางวัลโนเบลจากกองทุนของAlfred B. Nobel สำหรับผู้มีผลงานดีเยี่ยม |
nobel prize | n. รางวัลโนเบลจากกองทุนของAlfred B. Nobel สำหรับผู้มีผลงานดีเยี่ยม |
pool | (พูล) n., vt. (ทำให้เป็น) แอ่งน้ำ, สระน้ำ, บ่อน้ำ, กองเลือด n. เงินกองกลางในการพนัน, เงินเดิมพันทั้งหมด, เงินกงสี, จำนวนรวม, การแทงบิลเลียดที่ผู้ชนะได้เงินกองกลางทั้งหมด, ผลประโยชน์รวม, กองทุน, การรวมกำลังในการทำธุรกิจเพื่อขจัดคู่แข่งขัน vt., vi. รวมกลุ่ม, ใส่เข้ากองกลาง |
settlement | (เซท'เทิลเมินทฺ) n. การจัดการ, การแก้ปัญหา, การชำระหนี้, การชำระบัญชี, การตั้งถิ่นฐาน, การตั้งรกราก, การตั้งหลักฐาน, การตั้งกิจการ, นิคม, อาณานิคม, ชุมชน, การมอบทรัพย์สิน, ทรัพย์สิน, กองทุน, ถิ่นที่อยู่ตามกฎหมาย, การค่อย ๆ จมลง |
unicef | abbr. United Nations International Children's Emergency Fund องค์การกองทุนเด็กระหว่างประเทศ (ของสหประชาชาติ) |