คำบอกกล่าว | น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจา ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนองในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับจำนอง. |
คืบ ๒ | น. ว่านชนิดหนึ่ง ใบเหมือนผักอีแปะ ก้านเขียวเล็ก มีเมล็ดที่ปลายใบ เมื่อเมล็ดแก่และหางตกถึงดินแล้ว เมล็ดงอกเป็นต้นขึ้นมา ในตำรากบิลว่านกล่าวว่าใช้เมล็ดห่อผ้าไว้ ตีฟันไม่เข้า. |
ตรีกูฏ | น. ชื่อภูเขา ๓ ลูก ในไตรภูมิกล่าวว่าเป็นภูเขาที่รองรับเขาพระสุเมรุ, ผาสามเส้า ก็เรียก. |
ทวีป | ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่าแผ่นดินมี ๔ ทวีป คือ ๑. ชมพูทวีป ๒. อมรโคยานทวีปหรืออปรโคยานทวีป ๓. อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป ๔. บุพวิเทหทวีป. |
แล่น ๒ | น. หลอดสำหรับเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะเช่นทอง นาก เงินให้ติดกัน, เรียกกิริยาที่ใช้หลอดเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะดังกล่าวว่า เป่าแล่น. |
สาวพรหมจารี | น. สาวที่ยังไม่มีสามี, หญิงที่ยังไม่มีระดู, เช่น ตามที่ถือกันว่า ผู้ซึ่งสำหรับกวนข้าวทิพย์นั้นต้องเป็นสาวพรหมจารี คือที่ยังไม่มีสามีนั้นประการหนึ่ง อีกนัยหนึ่งคือหญิงซึ่งยังไม่มีระดูกล่าวว่าเป็นพรหมจารีแท้… (สิบสองเดือน) |
law of combining volumes of gases | กฎการรวมปริมาตรของแก๊ส, กฎที่กล่าวว่า เมื่อแก๊สต่าง ๆ ทำปฏิกิริยากันพอดี ปริมาตรของแก๊สเหล่านั้นกับปริมาตรของแก๊สที่เกิดจากปฏิกิริยา จะเป็นอัตราส่วนของเลขจำนวนเต็มอย่างง่าย บางครั้งเรียกกฎนี้ว่า กฎของเกย์ลุสแซก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Pythagoras's theorem | ทฤษฎีบทปีทาโกรัส, ทฤษฎีบทเรขาคณิตที่เกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมมุมฉากซึ่งกล่าวว่า ผลบวกของกำลังสองของความยาวของด้านประกอบมุมฉากจะเท่ากับกำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
law of constant proportion [ law of definite proportion ] | กฎสัดส่วนคงที่, กฎที่กล่าวว่าอัตราส่วนระหว่างมวลของธาตุที่รวมตัวกันเป็นสารประกอบจะมีค่าคงที่เสมอ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Le Chatelier's principle | หลักของเลอชาเตอลิเอ, หลักการซึ่งกล่าวว่า เมื่อรบกวนระบบที่อยู่ในภาวะสมดุล ระบบจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่จะลดผลของการรบกวนนั้นโดยการเข้าสู่ภาวะสมดุลใหม่ การรบกวนภาวะสมดุลได้แก่ การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสาร อุณหภูมิหรือความดัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
law of conservation of mechanical energy | กฎการอนุรักษ์พลังงานกล, กฎเกี่ยวกับพลังงานกลของวัตถุ ซึ่งกล่าวว่า พลังงานกลรวมของวัตถุมีค่าคงตัวเสมอ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
law of conservation of momentum | กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม, กฎเกี่ยวกับโมเมนตัมของวัตถุซึ่งกล่าวว่า เมื่อไม่มีแรงลัพธ์ใด ๆ มากระทำต่อระบบแล้ว ผลรวมของโมเมนตัมของระบบจะมีค่าคงตัว เช่น เมื่อวัตถุชนกัน ผลรวมของโมเมนตัมวัตถุก่อนการชนจะเท่ากับผลรวมของโมเมนตัมของวัตถุภายหลังการชน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
law of conservation of mass | กฎทรงมวล, กฎเกี่ยวกับมวลของสารซึ่งกล่าวว่า ผลรวมของมวลสารทั้งหมดภายในระบบปิดมีค่าคงตัวหมายความว่า มวลสารจะไม่สูญหายไปหรือเกิดขึ้นใหม่ ในปฏิกิริยาเคมี มวลของสารก่อนเกิดปฏิกิริยาจะเท่ากับมวลของสารหลังเกิดปฏิกิริยา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
biogenesis | ไบโอเจเนซิส, ทฤษฎีที่กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตมีกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
law of gravitation | กฎแรงดึงดูดระหว่างมวล, กฎเกี่ยวกับแรงดึงดูดระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆ ซึ่งกล่าวว่า วัตถุทั้งหลายจะดึงดูดซึ่งกันและกัน โดยขนาดของแรงดึงดูดระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆ เป็นสัดส่วนตรงกับมวลของวัตถุทั้งสอง และเป็นสัดส่วนกลับกับระยะทางระหว่างวัตถุทั้งสองนั้นยกกำลังสอง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
work-kinetic energy theorem | ทฤษฎีบทงานและพลังงานจลน์, ทฤษฎีเกี่ยวกับงานและพลังงานจลน์ของวัตถุ ซึ่งกล่าวว่า งานเนื่องจากแรงลัพธ์ไม่เป็นศูนย์กระทำต่อวัตถุเท่ากับพลังงานจลน์ของวัตถุที่เปลี่ยนไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
law of conservation of angular momentum | กฎการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม, กฎเกี่ยวกับโมเมนตัมเชิงมุมของวัตถุซึ่งกล่าวว่า เมื่อทอร์กลัพธ์เนื่องจากแรงภายนอกที่กระทำต่อวัตถุเท่ากับศูนย์ ผลรวมของโมเมนตัมเชิงมุมของระบบมีค่าคงตัว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Hooke's law | กฎของฮุก, กฎที่กล่าวว่า เมื่อมีแรงดึงหรือกดวัสดุ ความยาวที่ยืดออกหรือหดเข้าของวัสดุจะเป็นสัดส่วนกับแรง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
law of conservation of mechanical energy | กฏการอนุรักษ์พลังงานกล, กฎเกี่ยวกับพลังงานกลของวัตถุ ซึ่งกล่าวว่า พลังงานกลรวมของวัตถุมีค่าคงตัวเสมอ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |