กรรมวิธี | (กำมะวิที) น. ลักษณะอาการหรือวิธีการที่ผันแปรหรือเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์ทำขึ้น อันดำเนินติดต่อกันเรื่อยไปเป็นลำดับ, กระบวนวิธีดำเนินการในประดิษฐกรรม. |
กระบวนการ | น. ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการเจริญเติบโตของเด็ก, กรรมวิธีหรือลำดับการกระทำซึ่งดำเนินต่อเนื่องกันไปจนสำเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมีเพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. |
กระแหนะ | กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, แขนะ ก็ว่า. |
กลั่น | (กฺลั่น) ก. คัดเอาแต่ส่วนหรือสิ่งที่สำคัญหรือที่เป็นเนื้อแท้ด้วยวิธีต้มให้ออกเป็นไอ แล้วใช้ความเย็นบังคับให้เป็นของเหลว เช่น กลั่นนํ้า เรียกน้ำที่ได้จากกรรมวิธีเช่นนั้น ว่า น้ำกลั่น, โดยปริยายหมายความว่า คัดเอา เลือกเอา. |
กะไหล่ | น. กรรมวิธีเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทองเป็นต้น โดยใช้ปรอทละลายเงินหรือทองให้เป็นของเหลว แล้วทาลงบนโลหะที่ต้องการเคลือบ จากนั้นไล่ปรอทออกโดยใช้ความร้อน, กาไหล่ ก็ว่า. |
กะไหล่ | ว. เรียกของเช่นพานเป็นต้นที่เคลือบเงินหรือทองด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า พานกะไหล่เงิน พานกะไหล่ทอง. |
การกลั่นทำลาย | น. กรรมวิธีที่ให้ความร้อนสูงแก่สารอินทรีย์โดยไม่ให้อากาศเข้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นแก่สารนั้น ให้ผลเป็นสารที่ระเหยได้และแยกตัวออกมา เช่น การกลั่นทำลายขี้เลื่อย ให้ผลเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ กรดนํ้าส้ม และสารอื่นอีก, การกลั่นทำลายถ่านหิน ให้ผลเป็นแก๊สถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ นํ้ามันเบนซิน ลูกเหม็นกันแมลงสาบ และสารอื่นที่มีประโยชน์อีกมาก กากที่เหลือเรียกว่า ถ่านโค้ก. |
แกล้งดิน | ก. กระบวนการแก้ปัญหาสภาพดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้กรรมวิธีเร่งปฏิกิริยาเคมีในดิน ทำให้ดินเปรี้ยวอย่างรุนแรงแล้วใช้ระบบชลประทานนำน้ำมาเจือจางดินเปรี้ยวทำสลับไปมา จนเปลี่ยนสภาพดินให้สามารถเพาะปลูกได้. |
แขนะ | (ขะแหฺนะ) น. กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, กระแหนะ ก็ว่า. |
คอนกรีตอัดแรง | น. คอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้กรรมวิธีดึงเหล็กเส้นให้ยืดตัวเต็มที่ก่อนแล้วจึงหล่อคอนกรีตหุ้ม เพื่อให้รับนํ้าหนักได้ดียิ่งขึ้น. |
เคมีภัณฑ์ | น. สารบริสุทธิ์ที่เตรียมได้โดยกรรมวิธีเคมีหรือที่ใช้ในกรรมวิธีเคมี. |
เคลือบ | (เคฺลือบ) ก. ไล้ ทา หรือพอกผิวเดิมด้วยของเหลวบางชนิด แล้วทิ้งไว้ให้เย็นจนแข็งตัว เช่น เคลือบนํ้าตาล เคลือบยาพิษ, ทาผิวนอกด้วยนํ้ายาเคมีแล้วใช้ความร้อนอบให้นํ้ายาเกาะแน่น, เรียกสิ่งที่เคลือบโดยกรรมวิธีเช่นนั้น ว่า เครื่องเคลือบ |
ถนอมอาหาร | ก. เก็บผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ ด้วยกรรมวิธีบางอย่างเพื่อกันเสียหรือเสื่อมคุณภาพ. |
ทับทิม ๑ | เรียกขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งมันใส่สีแดงเหมือนเม็ดทับทิมต้มกินกับนํ้าเชื่อมหรือนํ้าหวาน ว่า ทับทิมลอยแก้ว, ถ้าทำด้วยแห้วหรือมันแกวหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คลุกแป้ง แล้วทำด้วยกรรมวิธีเดียวกัน เรียกว่า ทับทิมกรอบ. |
ทำหมัน | ก. ทำการคุมกำเนิดโดยกรรมวิธีที่จะไม่ให้ชายหรือหญิงสามารถมีลูกอีกต่อไป. |
นมผง | น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นผง ได้จากการนำน้ำนมไปผ่านกรรมวิธีซึ่งทำให้ส่วนที่เป็นน้ำระเหยออกไปหมด อาจเติมสารเคมีที่มีประโยชน์ต่อร่างกายลงไปด้วยก็ได้. |
เปลี่ยน | (เปฺลี่ยน) ก. แปรหรือกลายไปจากลักษณะหรือภาวะเดิม, เอาสิ่งหนึ่งเข้าแทนอีกสิ่งหนึ่งโดยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น แลกเปลี่ยน ผลัดเปลี่ยน สับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง, ย้าย เช่น เปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนพรรค เปลี่ยนคลื่นวิทยุ. |
ฝนเทียม | น. ฝนที่เกิดจากกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ เช่นโดยการโปรยนํ้าแข็งแห้งในอากาศ. |
เพาะปลูก | น. กรรมวิธีในการปลูกและเลี้ยงดูต้นไม้ตั้งแต่เพาะเมล็ด หรือนำต้นที่โตแล้ว หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น เช่น หัว กิ่ง ใบ ไปปลูกแล้วบำรุงให้เจริญเติบโต. |
มัดหมี่ | น. กรรมวิธีในการทอผ้าอย่างหนึ่ง เอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายต่าง ๆ ตามที่มัดไว้, เรียกผ้าที่ทอด้วยกรรมวิธีเช่นนั้น ว่า ผ้ามัดหมี่, หมี่ ก็เรียก. |
แยบยล | ว. มีกลเม็ดหรือชั้นเชิงแนบเนียน เช่น เขามีกรรมวิธีแยบยล นักประพันธ์มีกลวิธีเขียนเรื่องแยบยล. |
ระบมบาตร | ก. รมบาตรให้ดำเป็นมันเพื่อกันสนิมด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น เอากำมะถันและนํ้ามันทาบาตรแล้วรมไฟให้ร้อน. |
รูปถ่าย | น. ภาพที่บันทึกไว้ด้วยวิธีให้แสงผ่านฟิล์มรูปเป็นต้นลงบนแผ่นวัสดุไวแสง เช่น กระดาษอัดรูป แล้วนำไปล้างตามกรรมวิธีเพื่อให้รูปปรากฏ. |
เรือประมง | น. เรือกลไฟขนาดใหญ่ที่ใช้จับปลาในทะเลลึก มักมีเครื่องอุปกรณ์ที่ทันสมัยใช้จับปลา แช่ปลา และทำปลาด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ อยู่ในทะเลได้หลาย ๆ สัปดาห์. |
ลงหิน | น. กรรมวิธีทำภาชนะหรือเครื่องใช้ด้วยโลหะทองแดงกับดีบุก หลอมให้เข้ากันแล้วตีขึ้นรูปต่าง ๆ ขัดผิวให้ขึ้นเงาด้วยผงหิน เช่น ขันลงหิน พานลงหิน. |
ลอกหน้า | ก. กรรมวิธีในการเสริมสวยโดยเอาครีมชนิดหนึ่งทาหน้าให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้แห้ง พอครีมแห้งก็ลอกออกเป็นแผ่น โดยจะมีสิวเสี้ยนเป็นต้นติดมากับแผ่นครีมนั้น. |
ล้าง | ก. ทำให้หมดสิ้นไปโดยใช้สิ่งเช่นนํ้าหรือไฟเป็นต้น และมีกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น กวาดล้าง ชะล้าง ชำระล้าง ล้างกลิ่น ล้างคาว ล้างถู, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฆ่าล้างโคตร สงครามล้างชาติ. |
ลาย ๑ | น. รูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยเส้นเป็นสำคัญ ลักษณะเป็นแบบซํ้า ๆ เป็นหมู่ ๆ หรือต่อเนื่องกันไปก็มี มีทั้งลายแบบธรรมชาติและลายแบบประดิษฐ์ ใช้เขียน ปั้น หรือแกะสลัก เป็นต้น เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เช่น ลายกระหนก ลายเทพนม ลายก้านขด, กรรมวิธีประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ให้เป็นลวดลาย เช่น ลายกำมะลอ ลายปิดทองรดนํ้า ลายแทงหยวก |
ศิลปะประยุกต์ | น. กรรมวิธีในการนำทฤษฎีและหลักการทางศิลปะไปใช้ในภาคปฏิบัติ เพื่อพัฒนาศิลปะให้มีความงามหรือเป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นเป็นต้น อย่างในการออกแบบเครื่องแต่งกาย. |
ส่ง | อาการที่ส่งเครื่องหมาย ข้อความ ข่าวสาร หรือภาพ เป็นต้น ไปให้อีกฝ่ายหนึ่งโดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น ส่งสัญญาณ ส่งรหัส ส่งโทรเลข ส่งวิทยุ ส่งโทรภาพ. |
สตัฟฟ์ | (สะ-) น. การนำวัสดุบางอย่างบรรจุในโครงหนังสัตว์ซึ่งผ่านกรรมวิธีทางเคมีสำหรับรักษาไม่ให้เน่าเปื่อยแล้วตกแต่งให้ดูเหมือนสัตว์จริง. |
สังเคราะห์ | ว. ที่สร้างขึ้นโดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น ใยสังเคราะห์. |
สุก ๑ | ก. พ้นจากห่าม เช่น ผลไม้สุก, เปลี่ยนสภาพจากดิบด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ อย่างต้ม ผัด ย่าง เป็นต้น เช่น ต้มไก่สุกแล้ว ย่างเนื้อให้สุก, ถึงระยะที่ได้ที่หรือแก่จัดแล้ว เช่น ข้าวในนาสุกเกี่ยวได้แล้ว ฝีสุกจนแตก ต้อสุกผ่าได้แล้ว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ร้อนจนเนื้อตัวจะสุกแล้ว ถูกเขาต้มจนสุก, เรียกชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้ว ว่า คนสุก |
สูญขี้ผึ้ง | น. กรรมวิธีหนึ่งในการหล่อโลหะ ใช้ขี้ผึ้งพอกหุ้มแกนทรายให้เป็นหุ่น แล้วทาไล้ด้วยดินเหนียวผสมขี้วัวและน้ำ จึงเข้าดินเป็นพิมพ์ นำไปเผาไฟสำรอกขี้ผึ้งให้ละลายออกจากพิมพ์ จากนี้เทโลหะหลอมเหลวเข้าแทนที่ขี้ผึ้ง. |
เสียกบาล | น. กรรมวิธีเซ่นผีโดยเอาเครื่องเซ่นพร้อมตุ๊กตาดินปั้นเป็นต้นใส่กระบะกาบกล้วยไปทิ้งที่ทางสามแพร่งหรือลอยน้ำ เพื่อมิให้ผีร้ายมานำตัวเด็กที่เจ็บป่วยไป, เรียกตุ๊กตาที่ใช้ในการนี้ ว่า ตุ๊กตาเสียกบาล. |
หุ้มแผลง | (-แผฺลง) น. กรรมวิธีในการหุ้มพระพุทธรูปด้วยแผ่นเงินหรือแผ่นทองบาง ๆ โดยให้ตะเข็บของแต่ละแผ่นซึ่งมีลักษณะคล้ายฟันประสานกัน แล้วใช้เครื่องมือกวดรอยประสานให้เรียบเสมอกัน. |
เอนไซม์ | น. สารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนประเภทโปรตีน มีปรากฏอยู่ในเซลล์ที่มีชีวิตของพืชและสัตว์ ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีของกรรมวิธีต่าง ๆ ทางชีววิทยา เช่น การย่อยอาหาร การหมัก. |
Method engineering | วิศวกรรมวิธีการ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Manufacturing processes | กรรมวิธีการผลิต [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Waste immobilization | การตรึงกากกัมมันตรังสี, กรรมวิธีหนึ่งของการปรับสภาพกากกัมมันตรังสี เพื่อป้องกันการรั่วหรือการแพร่กระจาย โดยการทำให้อยู่ในสภาพของแข็ง หรือห่อหุ้มด้วยวัสดุ หรือฝังในเนื้อวัสดุ เช่น การตรึงในซีเมนต์ด้วยการผสมกับซีเมนต์หรือฝังในเนื้อซีเมนต์ หรือในยางมะตอย หรือในแก้ว, Example: [นิวเคลียร์] |
Facsimile | โทรภาพ, ภาพหรือรูปที่ส่งมาทางไกล, กรรมวิธีในการถอดแบบเอกสารตีพิมพ์ หรือรูปภาพโดยทางคลื่นวิทยุ หรือทางสาย เช่นสายโทรศัพท์, Example: Facsimile ออกเสียงตามพจนานุกรมอังกฤษว่า แฟ็ก-ซิม-อิ-ลี ปัจจุบันมักจะเขียนเป็น โทรสาร หรือทับศัพท์ แฟ็กซ์ ไม่ต้องใส่จุด (Fax) [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Radiation disinfestation | การยับยั้งการแพร่พันธุ์ของแมลงด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารหรือผลิตผลการเกษตรด้วยปริมาณรังสีไม่เกิน 1 กิโลเกรย์ เพื่อทำลายแมลงและยับยั้งการแพร่พันธุ์ ทั้งนี้อาหารหรือผลิตผลการเกษตรจะต้องบรรจุในภาชนะที่เหมาะสมเพื่อป้องกันแมลงที่จะมาทำลายหลังการฉายรังสีแล้ว อาหารหรือผลิตผลการเกษตรที่ใช้กรรมวิธีนี้ เช่น มะม่วง มะละกอ เมล็ดโกโก้ ถั่ว ข้าว ข้าวสาลี ปลาแห้ง ปลารมควัน ดอกกล้วยไม้ <br>(ดู food irradiation ประกอบ) </br> [นิวเคลียร์] |
Immobilization, waste | การตรึงกากกัมมันตรังสี, กรรมวิธีหนึ่งของการปรับสภาพกากกัมมันตรังสี เพื่อป้องกันการรั่วหรือการแพร่กระจาย โดยการทำให้อยู่ในสภาพของแข็ง หรือห่อหุ้มด้วยวัสดุ หรือฝังในเนื้อวัสดุ เช่น การตรึงในซีเมนต์ด้วยการผสมกับซีเมนต์หรือฝังในเนื้อซีเมนต์ หรือในยางมะตอย หรือในแก้ว [นิวเคลียร์] |
Heat treatment | กรรมวิธีทางความร้อน [TU Subject Heading] |
Methods engineering | วิศวกรรมวิธี [TU Subject Heading] |
Molding (Chemical technology) | การทำโพรงแบบ (กรรมวิธีทางเคมี) [TU Subject Heading] |
Printing processes | กรรมวิธีการพิมพ์ [TU Subject Heading] |
radicidation | การฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี, คือ การนำอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคชนิดที่ไม่สร้างสปอร์ เช่น ซาลโมเนลลา ชิเกลลาอี.โคไล ฯลฯ เชื้อโรคเหล่านี้เป็นต้นเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ปวดท้อง ขาดน้ำ อาเจียน และเป็นไข้ ตัวอย่างอาหารที่นำมาฉายรังสีเพื่อฆ่าเชื้อโรค ได้แก่ แหนม กุ้งแช่แข็ง ขากบแช่แข็ง และเนื้อไก่แช่แข็ง การฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธีนี้เทียบได้กับการพาสเจอร์ไรซ์ [พลังงาน] |
radurization | การลดจุลินทรีย์ด้วยรังสี, คือ การนำอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อลดแบคทีเรีย หรือป้องกันการเจริญเติบโตของรา ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสียหรือเสื่อมคุณภาพ อาหารที่ผ่านการฉายรังสีจะเก็บรักษาได้นานขึ้น ตัวอย่างอาหารที่นำมาฉายรังสีเพื่อลดจุลินทรีย์ ได้แก่ ปลาสด เครื่องเทศ เครื่องปรุงรส และสตรอเบอรี [พลังงาน] |
Reclaimed rubber | ยางรีเคลมได้มาจากการนำเอาผลิตภัณฑ์ยางเก่าที่ใช้แล้ว เช่น ยางล้อรถยนต์ ยางในรถยนต์ หรือยางคงรูปที่เป็นของเสียซึ่งเกิดระหว่างกระบวนการผลิต มาผ่านกรรมวิธีโดยความร้อนและเคมี ยางจะเกิดการดีพอลิเมอไรซ์ (depolymerize) เปลี่ยนจากสภาพคงรูป (vulcanized) และมีความยืดหยุ่น (elasticity ) กลับคืนไปสู่สถานะแรกเริ่ม คือ ไม่มีความคงรูป (unvulcanised) และไม่มีความยืดหยุ่น (plasticity )* ได้เป็นยางรีเคลมที่มีลักษณะกึ่งของแข็งและของเหลว (paste-like ) ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ปกติจะใช้ยางรีเคลมผสมกับยางธรรมชาติสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่คำนึงถึงความ แข็งแรงและความ ทนทานมากนัก *Plasticity คือ ความโน้มเอียงของวัสดุที่จะเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปอย่างถาวรเมื่อได้รับ แรงกระทำ [เทคโนโลยียาง] |
process | กระบวนการ, กรรมวิธี, การกระทำเป็นขั้นตอนต่อเนื่องกันโดยมีการพิจารณาวางแผนกำหนดไว้ล่วงหน้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Immunization, Mode of | กรรมวิธีในการฉีด [การแพทย์] |
Ionic Substitution | กรรมวิธีการแลกเปลี่ยนอีออน [การแพทย์] |
alchemy | (แอล' คะมี) n. การเล่นแปรธาตุใสยุคสมัยกลางเพื่อหากรรมวิธีเปลี่ยนโลหะให้เป็นทองและการหาน้ำอมฤต. -alchemic, alchemical, alchemistic, alchemistical adj. -alchemist n. |
crude | (ครูด) adj. หยาบ, สกปรก, เป็นธรรมชาติ, ยังไม่สุก, ยังไม่ผ่านกรรมวิธี n. น้ำมันดิบ, See also: crudeness n., Syn. coarse, unrefined |
crudity | (ครู'ดิที) n. ภาวะที่ดิบ, สิ่งที่ดิบ, สิ่งที่ยังไม่ผ่านกรรมวิธี, กิริยาที่หยาบ, กิริยาหรือคำพูดที่ไม่สุภาพ |
cure | (คิว'เออะ) { cured, curing, cures } vt. รักษาให้หาย, แก้ให้หาย vi. บังเกิดผลในการบำบัดรักษา, ผ่านกรรมวิธีไม่ให้เน่า (ย่าง, บ่ม, อบ, รม, ผึ่ง) n. การรักษาให้หาย, Syn. treatment |
demarche | (เดมาซ') n. กรรมวิธี, แผนงาน -pl. demarches |
parity | ภาวะคู่หรือคี่หมายถึง กรรมวิธีของการทดสอบความผิดพลาดของข้อมูลโดยการเพิ่มบิตต่อกันเข้ากับข้อมูล โดยวิธีการเพิ่มบิตที่มีจำนวนค่าเป็นคี่ (1) ให้เปลี่ยนเป็นเลขคู่ (0) เรียกว่า ภาวะเสริมคู่ (even parity) หรือ เพิ่มบิตที่มีจำนวนค่าเป็นคู่ (0) ให้เปลี่ยนเป็นเลขคี่ (1) เรียกว่า ภาวะเสริมคี่ (odd parity) |
process | (โพร'เซส, พรอส'เซส) n. ขบวนการ, ขบวนแห่กระบวนการ, ระบบ, การดำเนินการ, แนวทาง, กรรมวิธี, วิธีปฏิบัติ, ขั้นตอนการปฏิบัติ, หมายศาล, ปุ่ม, ส่วนยื่น, สิ่งงอก, เนื้องอก, การทำแม่พิมพ์, การเปลี่ยนแปลง, การล้างรูป vt. ทำให้ผ่านกระบวนการ, ปฏิบัติการ, จัดการ, ทำแม่พิมพ์สอดสี, ล้างรูป, |