สมเด็จพระสังฆราช | น. ประมุขแห่งคณะสงฆ์ ซึ่งตามกฎหมายคณะสงฆ์บัญญัติให้สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก. |
เกล้ากระหม่อม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
งาสาน | น. เรียกพัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี ว่า พัดงาสาน, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า “คามวาสี อรัญวาสี” มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี. |
ตำหนัก | น. ที่ประทับของเจ้านาย เช่น ตำหนักปลายเนิน หรือของสมเด็จพระสังฆราช เช่น ตำหนักเพชร, ถ้าเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรียกว่า พระตำหนัก เช่น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระตำหนักวาสุกรี. |
ประเทียบ ๒ | เรียกรถฝ่ายใน ว่า รถพระประเทียบ, เรียกเรือฝ่ายใน ว่า เรือพระประเทียบ, โดยอนุโลมเรียกรถประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ว่า รถพระประเทียบ. |
เฝ้า | ไปพบ, ไปหา, ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า สมเด็จพระสังฆราช และหม่อมเจ้า. |
พระองค์ | ลักษณนามใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์. |
พระองค์ | ส. คำใช้แทนผู้เป็นใหญ่ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น ขอพระองค์จงจำไว้สำเหนียก ดั่งนี้เรียกว่าสวัสดิรักษา (สวัสดิรักษา), หรือเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น จะจากจริงทิ้งน้องหรือลองจิต โอ้คิดคิดถึงพระองค์น่าสงสาร (อภัย), (ราชา) สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธ-ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี. |
พัดงาสาน | น. พัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า “คามวาสี อรัญวาสี” มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี. |
พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ | น. พัดยศของสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ มีลักษณะอย่างทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ปลายแหลม และมีแฉกโดยรอบ พื้นตาดโหมดหรือกำมะหยี่ ปักลวดลายด้วยดิ้นเลื่อมหรือดิ้นด้าน มีสีและลวดลายต่าง ๆ ตามชั้นแห่งสมณศักดิ์ ด้ามงาเกลี้ยง, ถ้าเป็นพัดยศสมเด็จพระสังฆราช ยอดทำด้วยงาสลักเป็นฉัตร ๓ ชั้น. |
พุทธฎีกา | ถ้อยคำของสมเด็จพระสังฆราช. |
รถพระประเทียบ | น. รถประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช, รถสำหรับเชิญพระพุทรูปสำคัญ. |
เรือพระประเทียบ | น. เรือหลวงจัดเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในหรือพระราชทานเป็นยานพาหนะของสมเด็จพระสังฆราช. |
ลิขิต | น. หนังสือ, จดหมาย, (นิยมใช้เฉพาะจดหมายของพระสงฆ์), หากเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราช ใช้ว่า พระลิขิต. |
ศาสน์ | น. คำสั่ง, คำสั่งสอน, โดยปริยายหมายถึง พระราชหัตถเลขาทางราชการและลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระราชศาสน์ สมณศาสน์. |
สกลมหาสังฆปริณายก | (สะกนมะหาสังคะปะรินายก) น. ตำแหน่งของสมเด็จพระสังฆราชในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์ทั้งปวง. |
สถิต | (สะถิด) ก. อยู่, ยืนอยู่, ตั้งอยู่, (ใช้เป็นคำยกย่องแก่สิ่งหรือบุคคลที่อยู่ในฐานะสูง) เช่น พระเจ้าสถิตบนสวรรค์ พระมหากษัตริย์สถิตบนพระที่นั่ง สมเด็จพระสังฆราชสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร. |
สมณสาสน์ | (-สาด) น. จดหมายของสมเด็จพระสังฆราชหรือประมุขของประเทศซึ่งเป็นนักบวชที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ. |
สังฆาณัติ | น. กฎข้อบังคับของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงบัญญัติขึ้นโดยคำแนะนำของสังฆสภาตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔. |
สายสูตร | เส้นด้ายที่เจ้านายหรือสมเด็จพระสังฆราชจับโยงไปเพื่อกระทำกิจกรรมทางศาสนา เช่น ยกช่อฟ้าหรือเททองหล่อพระพุทธรูปเป็นต้น. |
สาสน, สาสน-, สาสน์, สาส์น | จดหมายของประมุขของประเทศหรือประมุขสงฆ์ที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, ถ้าเป็นจดหมายของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระราชสาส์น, ถ้าเป็นจดหมายของประธานาธิบดี เรียกว่า อักษรสาส์น, เขียนเป็น อักษรสาสน หรือ อักษรสาสน์ ก็ได้, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราช เรียกว่า สมณสาสน์, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เรียกว่า พระสมณสาสน์. |
สิ้นพระชนม์ | ก. ตาย (ใช้แก่เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราช). |
สุพรรณบัฏ | (สุพันนะบัด) น. แผ่นทองคำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จารึกพระนามพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป เจ้าประเทศราช และสมเด็จพระสังฆราช เรียกว่า พระสุพรรณบัฏ |
สมเด็จพระสังฆราช | น. ประมุขแห่งคณะสงฆ์ ซึ่งตามกฎหมายคณะสงฆ์บัญญัติให้สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก. |
เกล้ากระหม่อม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
งาสาน | น. เรียกพัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี ว่า พัดงาสาน, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า “คามวาสี อรัญวาสี” มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี. |
ตำหนัก | น. ที่ประทับของเจ้านาย เช่น ตำหนักปลายเนิน หรือของสมเด็จพระสังฆราช เช่น ตำหนักเพชร, ถ้าเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรียกว่า พระตำหนัก เช่น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระตำหนักวาสุกรี. |
ประเทียบ ๒ | เรียกรถฝ่ายใน ว่า รถพระประเทียบ, เรียกเรือฝ่ายใน ว่า เรือพระประเทียบ, โดยอนุโลมเรียกรถประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ว่า รถพระประเทียบ. |
เฝ้า | ไปพบ, ไปหา, ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า สมเด็จพระสังฆราช และหม่อมเจ้า. |
พระองค์ | ลักษณนามใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์. |
พระองค์ | ส. คำใช้แทนผู้เป็นใหญ่ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น ขอพระองค์จงจำไว้สำเหนียก ดั่งนี้เรียกว่าสวัสดิรักษา (สวัสดิรักษา), หรือเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น จะจากจริงทิ้งน้องหรือลองจิต โอ้คิดคิดถึงพระองค์น่าสงสาร (อภัย), (ราชา) สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธ-ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี. |
พัดงาสาน | น. พัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า “คามวาสี อรัญวาสี” มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี. |
พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ | น. พัดยศของสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ มีลักษณะอย่างทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ปลายแหลม และมีแฉกโดยรอบ พื้นตาดโหมดหรือกำมะหยี่ ปักลวดลายด้วยดิ้นเลื่อมหรือดิ้นด้าน มีสีและลวดลายต่าง ๆ ตามชั้นแห่งสมณศักดิ์ ด้ามงาเกลี้ยง, ถ้าเป็นพัดยศสมเด็จพระสังฆราช ยอดทำด้วยงาสลักเป็นฉัตร ๓ ชั้น. |
พุทธฎีกา | ถ้อยคำของสมเด็จพระสังฆราช. |
รถพระประเทียบ | น. รถประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช, รถสำหรับเชิญพระพุทรูปสำคัญ. |
เรือพระประเทียบ | น. เรือหลวงจัดเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในหรือพระราชทานเป็นยานพาหนะของสมเด็จพระสังฆราช. |
ลิขิต | น. หนังสือ, จดหมาย, (นิยมใช้เฉพาะจดหมายของพระสงฆ์), หากเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราช ใช้ว่า พระลิขิต. |
ศาสน์ | น. คำสั่ง, คำสั่งสอน, โดยปริยายหมายถึง พระราชหัตถเลขาทางราชการและลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระราชศาสน์ สมณศาสน์. |
สกลมหาสังฆปริณายก | (สะกนมะหาสังคะปะรินายก) น. ตำแหน่งของสมเด็จพระสังฆราชในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์ทั้งปวง. |
สถิต | (สะถิด) ก. อยู่, ยืนอยู่, ตั้งอยู่, (ใช้เป็นคำยกย่องแก่สิ่งหรือบุคคลที่อยู่ในฐานะสูง) เช่น พระเจ้าสถิตบนสวรรค์ พระมหากษัตริย์สถิตบนพระที่นั่ง สมเด็จพระสังฆราชสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร. |
สมณสาสน์ | (-สาด) น. จดหมายของสมเด็จพระสังฆราชหรือประมุขของประเทศซึ่งเป็นนักบวชที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ. |
สังฆาณัติ | น. กฎข้อบังคับของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงบัญญัติขึ้นโดยคำแนะนำของสังฆสภาตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔. |
สายสูตร | เส้นด้ายที่เจ้านายหรือสมเด็จพระสังฆราชจับโยงไปเพื่อกระทำกิจกรรมทางศาสนา เช่น ยกช่อฟ้าหรือเททองหล่อพระพุทธรูปเป็นต้น. |
สาสน, สาสน-, สาสน์, สาส์น | จดหมายของประมุขของประเทศหรือประมุขสงฆ์ที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, ถ้าเป็นจดหมายของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระราชสาส์น, ถ้าเป็นจดหมายของประธานาธิบดี เรียกว่า อักษรสาส์น, เขียนเป็น อักษรสาสน หรือ อักษรสาสน์ ก็ได้, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราช เรียกว่า สมณสาสน์, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เรียกว่า พระสมณสาสน์. |
สิ้นพระชนม์ | ก. ตาย (ใช้แก่เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราช). |
สุพรรณบัฏ | (สุพันนะบัด) น. แผ่นทองคำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จารึกพระนามพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป เจ้าประเทศราช และสมเด็จพระสังฆราช เรียกว่า พระสุพรรณบัฏ |