ผ้านุ่ง | น. ผ้าสำหรับนุ่งชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เวลานุ่งม้วนให้เป็นชายกระเบนหรือหางกระเบนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้าด้านหลังระดับบั้นเอวตอนที่เรียกว่า กระเบนเหน็บ. |
กระเบน | เรียกชายผ้าที่เป็นส่วนกว้างของผ้านุ่งที่ประกบกันแล้วม้วนเฉียงสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นแล้วเอาชายไปเหน็บที่ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน |
กระโปรง | (-โปฺรง) น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล |
เกี้ยว ๑ | ผ้าคาดเอวสำหรับขุนนาง เรียกว่า ผ้าเกี้ยว เช่น เกี้ยวลาย คือผ้าคาดเอวที่มีลาย (บางทีเข้าใจกันว่าเป็นผ้านุ่งอย่างหนึ่ง). |
แก้ ๑ | น. ชื่อเบี้ยตัวโต ๆ สำหรับขัดผ้านุ่งให้ผิวเป็นมัน เช่น ผ้าลาย เรียกว่า เบี้ยอีแก้ หรือ เบี้ยแก้ใหญ่. (ดู เบี้ยแก้ ประกอบ). |
จตุปัจจัย | (-ปัดไจ) น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). |
จีวร, จีวร- | (จีวอน, จีวอนระ-) น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว ]. |
โจงกระเบน | ก. ม้วนชายผ้านุ่งแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, เรียกวิธีนุ่งผ้าเช่นนั้น ว่า นุ่งผ้าโจงกระเบน. |
ชายกระเบน | น. ชายผ้าที่เป็นส่วนกว้างของผ้านุ่งที่ประกบกันแล้วม้วนเฉียง สอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นแล้วเอาชายไปเหน็บที่ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, หางกระเบน ก็เรียก. |
ชายพก | น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้กัน เหน็บไว้ที่บริเวณสะดือ แล้วดึงชายข้างใดข้างหนึ่งให้ยาวกว่า มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เหน็บไว้ที่เอว ใส่เงินหรือหมากเป็นต้นได้. |
ตะพุ่น ๒ | ว. สีชนิดหนึ่งคล้ายสีครามจาง เป็นสีผ้านุ่งของพวกตะพุ่น เรียกว่า สีตะพุ่น. |
เต่อ | ว. ลักษณะที่ชายผ้านุ่งหรือแขนเสื้อเป็นต้นสั้นขึ้นไปมาก เช่น นุ่งผ้าสั้นเต่อ แขนเสื้อสั้นเต่อ, เตินเต่อ ก็ว่า. |
เตินเต่อ | ว. ลักษณะที่ชายผ้านุ่งหรือแขนเสื้อเป็นต้นสั้นขึ้นไปมาก เช่น นุ่งผ้าสั้นเตินเต่อ นุ่งผ้าสูงเตินเต่อ, เต่อ ก็ว่า. |
ไตรจีวร | (-จีวอน) น. ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง คือ ผ้านุ่ง) อุตราสงค์ (จีวร คือ ผ้าห่ม) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร หรือ ไตร เช่น ไตรครอง ดอกไม้คลุมไตร. |
ถก | ก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถกผ้านุ่งถกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุดลอกออกมาอย่างถกหนังหัว |
ถลก | (ถะหฺลก) ก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถลกผ้านุ่งถลกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุดลอกออกมาอย่างถลกหนังหัว |
ถุง | น. เครื่องใช้สำหรับใส่สิ่งของ ทำด้วยผ้าหรือกระดาษเป็นต้น ก้นปิด ปากเปิด บางชนิดที่ปากมีหูรูดหรือหูหิ้ว, เรียกเครื่องใช้สำหรับสวมมือสวมเท้า มีลักษณะยืดหรือหดได้ ว่า ถุงมือ ถุงเท้า, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถุงนํ้าดี ถุงนํ้าครํ่า ถุงนํ้าตา, เรียกผ้านุ่งของผู้หญิงซึ่งใช้ผืนผ้าเย็บริมด้านข้างให้ติดกัน ว่า ผ้าถุง. |
ถุงสำเร็จ | น. ผ้านุ่งผู้หญิงที่ตัดเย็บสำเร็จรูป โดยป้ายไปด้านใดด้านหนึ่ง. |
นุ่งผ้าโจงกระเบน | ก. นุ่งผ้าแล้วม้วนชายผ้านุ่งสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว. |
ปน | ก. ประสมกัน เช่น ข้าวเจ้าปนข้าวเหนียว, แกมกัน เช่น พูดไทยปนฝรั่ง, รวมกัน เช่น อย่าเอาผ้านุ่งกับเสื้อซักปนกัน, ถ้าเอาส่วนน้อยประสมลงในส่วนมากเพื่อให้ระคนปนเป็นอันเดียวกัน เรียกว่า เจือปน, ถ้าเป็นในลักษณะที่ปนกันทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งดีและชั่ว เรียกว่า คละปน. |
ประเชิญ | เอาผ้านุ่ง ผ้าขาวม้าเป็นต้นที่ขาดกลางผืนมาตัดตรงขาดออก แล้วเอาชายมาต่อกันเข้าใหม่ เรียกว่า ประเชิญผ้า. |
ปัจจัย | เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธ-ศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึง เงินตรา ก็ได้ (มักใช้แก่ภิกษุสามเณร) |
ผ้าดำ | น. ผ้าด้ายชนิดย้อมมะเกลือ ใช้เป็นผ้านุ่งไว้ทุกข์. |
ผ้าแดง | น. ผ้าทอด้วยด้ายย้อมสีแดงเลือดนก มักใช้ทำผ้านุ่งโจงกระเบนหรือผ้าเช็ดปากสำหรับคนกินหมากเป็นต้น. |
ผ้าตา | น. ผ้านุ่งชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมมีลายเป็นตา ๆ. |
ผ้าผ่อน | น. ผ้าทั่ว ๆ ไป, ผ้านุ่งผ้าห่ม. |
ผ้าพื้น | น. ผ้านุ่งที่ทอด้วยด้ายมีสีใดสีหนึ่งเป็นพื้น ไม่มีดอกไม่มีลาย. |
ผ้าลาย | น. ผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทำเป็นผ้าถุง. |
ผืน | น. เรียกสิ่งที่มีลักษณะแบนเป็นแผ่นอย่างผ้า หนัง หรือเสื่อ เป็นต้น มีขนาดเต็มตามกำหนดและอาจม้วนหรือพับได้เช่นผ้านุ่ง ผ้าห่ม เสื่อ พรม และหนัง ว่า ผืนผ้า ผืนหนัง เป็นต้น |
พก ๑ | น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น |
พื้น | เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มีดอกดวงลวดลาย ว่า ผ้าพื้น. |
เฟ็ด | ว. แฟบ, หด, สั้น, ถลกขึ้นสูง (ใช้แก่ผ้านุ่ง) |
ร่มผ้า | น. ส่วนของร่างกายภายในผ้านุ่งที่ไม่ควรเปิดเผย. |
ลอยชาย | ว. ปล่อยชายผ้านุ่ง (คือ ไม่โจงกระเบน) ในคำว่า นุ่งผ้าลอยชาย |
ลาย ๑ | เรียกผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทำเป็นผ้าถุง ว่า ผ้าลาย. |
ลุ่ย | ก. เลื่อนหลุดจากที่เพราะคลายตัวไม่แน่นเหมือนเดิม เช่น ผ้านุ่งที่เหน็บไว้ลุ่ยหลุดออก มวยผมลุ่ยออกมา. |
เล็ดงา | น. ชื่อลายผ้านุ่ง ลักษณะเป็นดอกเล็ก ๆ สีขาวขนาดเท่าเมล็ดงากระจายอยู่บนผ้าพื้นสีเข้ม. |
เลิก | ก. ยกหรือเปิดสิ่งที่ปูลาดหรือคลุมอยู่เป็นต้น เช่น เลิกเสื่อ เลิกผ้าคลุม นอนไม่เรียบร้อย ผ้านุ่งเลิกสูงขึ้นไป |
เวิก | ก. เลิก เปิด หรือแหวกแต่บางส่วน เช่น ผ้านุ่งเวิก เวิกม่าน. |
สบง | (สะบง) น. ผ้านุ่งของภิกษุสามเณร. |
ส่าหรี | (-หฺรี) น. เครื่องแต่งกายสตรีอินเดียแบบหนึ่ง เป็นผ้าชิ้นยาวประมาณ ๕-๖ เมตร ใช้เป็นทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม ส่วนที่นุ่ง ยาวกรอมส้น พันรอบตัวและจีบข้างหน้าเหน็บไว้ที่เอว ส่วนผ้าห่มใช้ชายผ้าที่เหลือพาดอกและสะพายบ่า โดยมากเป็นบ่าซ้ายห้อยชายไปข้างหลัง ชายที่ห้อยดึงมาคลุมหัวก็ได้. |
โสร่ง | (สะโหฺร่ง) น. ผ้านุ่งเป็นถุงมีลวดลายต่าง ๆ อย่างชาวชวามลายูนุ่งเป็นต้น. |
หางกระเบน | น. ชายผ้าที่เป็นส่วนกว้างของผ้านุ่งที่ประกบกันแล้วม้วนเฉียง สอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นแล้วเอาชายไปเหน็บที่ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, ชายกระเบน ก็เรียก. |
หางหงส์ ๑ | น. ชายผ้านุ่งที่จีบโจงแล้วไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยให้จีบคลี่ห้อยจากเอวเบื้องหลังลงมาถึงหว่างขาอย่างตัวพระแต่งในละครรำ |
ผ้านุ่ง | น. ผ้าสำหรับนุ่งชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เวลานุ่งม้วนให้เป็นชายกระเบนหรือหางกระเบนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้าด้านหลังระดับบั้นเอวตอนที่เรียกว่า กระเบนเหน็บ. |
กระเบน | เรียกชายผ้าที่เป็นส่วนกว้างของผ้านุ่งที่ประกบกันแล้วม้วนเฉียงสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นแล้วเอาชายไปเหน็บที่ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน |
กระโปรง | (-โปฺรง) น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล |
เกี้ยว ๑ | ผ้าคาดเอวสำหรับขุนนาง เรียกว่า ผ้าเกี้ยว เช่น เกี้ยวลาย คือผ้าคาดเอวที่มีลาย (บางทีเข้าใจกันว่าเป็นผ้านุ่งอย่างหนึ่ง). |
แก้ ๑ | น. ชื่อเบี้ยตัวโต ๆ สำหรับขัดผ้านุ่งให้ผิวเป็นมัน เช่น ผ้าลาย เรียกว่า เบี้ยอีแก้ หรือ เบี้ยแก้ใหญ่. (ดู เบี้ยแก้ ประกอบ). |
จตุปัจจัย | (-ปัดไจ) น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). |
จีวร, จีวร- | (จีวอน, จีวอนระ-) น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว ]. |
โจงกระเบน | ก. ม้วนชายผ้านุ่งแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, เรียกวิธีนุ่งผ้าเช่นนั้น ว่า นุ่งผ้าโจงกระเบน. |
ชายกระเบน | น. ชายผ้าที่เป็นส่วนกว้างของผ้านุ่งที่ประกบกันแล้วม้วนเฉียง สอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นแล้วเอาชายไปเหน็บที่ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, หางกระเบน ก็เรียก. |
ชายพก | น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้กัน เหน็บไว้ที่บริเวณสะดือ แล้วดึงชายข้างใดข้างหนึ่งให้ยาวกว่า มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เหน็บไว้ที่เอว ใส่เงินหรือหมากเป็นต้นได้. |
ตะพุ่น ๒ | ว. สีชนิดหนึ่งคล้ายสีครามจาง เป็นสีผ้านุ่งของพวกตะพุ่น เรียกว่า สีตะพุ่น. |
เต่อ | ว. ลักษณะที่ชายผ้านุ่งหรือแขนเสื้อเป็นต้นสั้นขึ้นไปมาก เช่น นุ่งผ้าสั้นเต่อ แขนเสื้อสั้นเต่อ, เตินเต่อ ก็ว่า. |
เตินเต่อ | ว. ลักษณะที่ชายผ้านุ่งหรือแขนเสื้อเป็นต้นสั้นขึ้นไปมาก เช่น นุ่งผ้าสั้นเตินเต่อ นุ่งผ้าสูงเตินเต่อ, เต่อ ก็ว่า. |
ไตรจีวร | (-จีวอน) น. ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง คือ ผ้านุ่ง) อุตราสงค์ (จีวร คือ ผ้าห่ม) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร หรือ ไตร เช่น ไตรครอง ดอกไม้คลุมไตร. |
ถก | ก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถกผ้านุ่งถกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุดลอกออกมาอย่างถกหนังหัว |
ถลก | (ถะหฺลก) ก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถลกผ้านุ่งถลกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุดลอกออกมาอย่างถลกหนังหัว |
ถุง | น. เครื่องใช้สำหรับใส่สิ่งของ ทำด้วยผ้าหรือกระดาษเป็นต้น ก้นปิด ปากเปิด บางชนิดที่ปากมีหูรูดหรือหูหิ้ว, เรียกเครื่องใช้สำหรับสวมมือสวมเท้า มีลักษณะยืดหรือหดได้ ว่า ถุงมือ ถุงเท้า, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถุงนํ้าดี ถุงนํ้าครํ่า ถุงนํ้าตา, เรียกผ้านุ่งของผู้หญิงซึ่งใช้ผืนผ้าเย็บริมด้านข้างให้ติดกัน ว่า ผ้าถุง. |
ถุงสำเร็จ | น. ผ้านุ่งผู้หญิงที่ตัดเย็บสำเร็จรูป โดยป้ายไปด้านใดด้านหนึ่ง. |
นุ่งผ้าโจงกระเบน | ก. นุ่งผ้าแล้วม้วนชายผ้านุ่งสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว. |
ปน | ก. ประสมกัน เช่น ข้าวเจ้าปนข้าวเหนียว, แกมกัน เช่น พูดไทยปนฝรั่ง, รวมกัน เช่น อย่าเอาผ้านุ่งกับเสื้อซักปนกัน, ถ้าเอาส่วนน้อยประสมลงในส่วนมากเพื่อให้ระคนปนเป็นอันเดียวกัน เรียกว่า เจือปน, ถ้าเป็นในลักษณะที่ปนกันทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งดีและชั่ว เรียกว่า คละปน. |
ประเชิญ | เอาผ้านุ่ง ผ้าขาวม้าเป็นต้นที่ขาดกลางผืนมาตัดตรงขาดออก แล้วเอาชายมาต่อกันเข้าใหม่ เรียกว่า ประเชิญผ้า. |
ปัจจัย | เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธ-ศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึง เงินตรา ก็ได้ (มักใช้แก่ภิกษุสามเณร) |
ผ้าดำ | น. ผ้าด้ายชนิดย้อมมะเกลือ ใช้เป็นผ้านุ่งไว้ทุกข์. |
ผ้าแดง | น. ผ้าทอด้วยด้ายย้อมสีแดงเลือดนก มักใช้ทำผ้านุ่งโจงกระเบนหรือผ้าเช็ดปากสำหรับคนกินหมากเป็นต้น. |
ผ้าตา | น. ผ้านุ่งชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมมีลายเป็นตา ๆ. |
ผ้าผ่อน | น. ผ้าทั่ว ๆ ไป, ผ้านุ่งผ้าห่ม. |
ผ้าพื้น | น. ผ้านุ่งที่ทอด้วยด้ายมีสีใดสีหนึ่งเป็นพื้น ไม่มีดอกไม่มีลาย. |
ผ้าลาย | น. ผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทำเป็นผ้าถุง. |
ผืน | น. เรียกสิ่งที่มีลักษณะแบนเป็นแผ่นอย่างผ้า หนัง หรือเสื่อ เป็นต้น มีขนาดเต็มตามกำหนดและอาจม้วนหรือพับได้เช่นผ้านุ่ง ผ้าห่ม เสื่อ พรม และหนัง ว่า ผืนผ้า ผืนหนัง เป็นต้น |
พก ๑ | น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น |
พื้น | เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มีดอกดวงลวดลาย ว่า ผ้าพื้น. |
เฟ็ด | ว. แฟบ, หด, สั้น, ถลกขึ้นสูง (ใช้แก่ผ้านุ่ง) |
ร่มผ้า | น. ส่วนของร่างกายภายในผ้านุ่งที่ไม่ควรเปิดเผย. |
ลอยชาย | ว. ปล่อยชายผ้านุ่ง (คือ ไม่โจงกระเบน) ในคำว่า นุ่งผ้าลอยชาย |
ลาย ๑ | เรียกผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทำเป็นผ้าถุง ว่า ผ้าลาย. |
ลุ่ย | ก. เลื่อนหลุดจากที่เพราะคลายตัวไม่แน่นเหมือนเดิม เช่น ผ้านุ่งที่เหน็บไว้ลุ่ยหลุดออก มวยผมลุ่ยออกมา. |
เล็ดงา | น. ชื่อลายผ้านุ่ง ลักษณะเป็นดอกเล็ก ๆ สีขาวขนาดเท่าเมล็ดงากระจายอยู่บนผ้าพื้นสีเข้ม. |
เลิก | ก. ยกหรือเปิดสิ่งที่ปูลาดหรือคลุมอยู่เป็นต้น เช่น เลิกเสื่อ เลิกผ้าคลุม นอนไม่เรียบร้อย ผ้านุ่งเลิกสูงขึ้นไป |
เวิก | ก. เลิก เปิด หรือแหวกแต่บางส่วน เช่น ผ้านุ่งเวิก เวิกม่าน. |
สบง | (สะบง) น. ผ้านุ่งของภิกษุสามเณร. |
ส่าหรี | (-หฺรี) น. เครื่องแต่งกายสตรีอินเดียแบบหนึ่ง เป็นผ้าชิ้นยาวประมาณ ๕-๖ เมตร ใช้เป็นทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม ส่วนที่นุ่ง ยาวกรอมส้น พันรอบตัวและจีบข้างหน้าเหน็บไว้ที่เอว ส่วนผ้าห่มใช้ชายผ้าที่เหลือพาดอกและสะพายบ่า โดยมากเป็นบ่าซ้ายห้อยชายไปข้างหลัง ชายที่ห้อยดึงมาคลุมหัวก็ได้. |
โสร่ง | (สะโหฺร่ง) น. ผ้านุ่งเป็นถุงมีลวดลายต่าง ๆ อย่างชาวชวามลายูนุ่งเป็นต้น. |
หางกระเบน | น. ชายผ้าที่เป็นส่วนกว้างของผ้านุ่งที่ประกบกันแล้วม้วนเฉียง สอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นแล้วเอาชายไปเหน็บที่ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, ชายกระเบน ก็เรียก. |
หางหงส์ ๑ | น. ชายผ้านุ่งที่จีบโจงแล้วไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยให้จีบคลี่ห้อยจากเอวเบื้องหลังลงมาถึงหว่างขาอย่างตัวพระแต่งในละครรำ |