ทันกิน | ก. คิดหรือทำการใด ๆ ทันท่วงที (โดยปรกติใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น ทำการงานช้าไม่ทันกิน มัวงุ่มง่ามอยู่อย่างนี้ไม่ทันกิน. |
นำพา | ก. เอาใจใส่, เอื้อเฟื้อ, ช่วยธุระ, ใช้ในประโยคปฏิเสธว่า ไม่นำพา. |
ประพจน์ | ประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธซึ่งเป็นข้อความจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จะมีความหมายกำกวมไม่ได้. (อ. proposition). |
ประโยค | (ปฺระโหฺยก) น. คำพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอนหนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำถาม |
ประสีประสา | น. วิสัย, เรื่องราว, ความเป็นไป, ความหมาย, (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น ไม่รู้ประสีประสา. |
เป็นอันขาด | ว. ใช้ในประโยคปฏิเสธ หมายความว่า แน่นอน, แน่แท้. |
ยัก ๒ | ว. คำประกอบกริยาในประโยคปฏิเสธแสดงความผิดคาด เช่น ไม่ยักจริง ว่าจะมาแล้วไม่ยักมา. |
ยัง | คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยานั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้าคำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายังกินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยาเชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยังไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับประโยคหลังที่มีข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจากโง่แล้วยังหยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. |
ยางอาย | น. ความกระดาก, ความละอายใจ, มักใช้ในประโยคปฏิเสธว่า ไม่มียางอาย. |
แยแส | ก. เอาเป็นธุระ, เกี่ยวข้อง, สนใจ, เอาใจใส่, (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น เขาไม่แยแสว่าใครจะคิดอย่างไร. |
ลงโบสถ์ | โดยปริยายหมายความว่า เข้ากันได้ (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น นาย ก กับ นาย ข ไม่ลงโบสถ์กัน. |
วางตา | ก. ละสายตา, มักใช้ในประโยคปฏิเสธว่า ดูไม่วางตา. |
สีสา | ว. ประสีประสา (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น เด็กคนนี้พูดจาไม่รู้สีสา อย่าถือสาเลย. |
หยอก | ว. ใช้ในประโยคปฏิเสธ หมายความว่า มาก เช่น เก่งไม่หยอก คือ เก่งมาก |
หยุดหย่อน | ว. เว้นระยะ มักใช้ในประโยคปฏิเสธ เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน คือ ทำงานไม่เว้นระยะ. |