compiler | (คัมไพ'เลอะ) n. ผู้รวบรวม, ผู้เรียบเรียง ตัวแปลโปรแกรมคอมไพเลอร์หมายถึง โปรแกรมที่แปลโปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่นภาษา FORTRAN, COBOL ฯ เป็นภาษาเครื่อง (machine language) การแปลโดยใช้โปรแกรมแปลนี้ จะใช้วิธีแปลทั้งโปรแกรม นำคำแปลเก็บไว้ในหน่วยความจำ แล้วจึงลงมือปฏิบัติการ (execute) ไปทีละคำสั่ง ถ้ามีการสั่งให้ทำบางคำสั่งซ้ำ ก็ไม่จำเป็นต้องแปลใหม่ดู translator ประกอบดู interpreter เปรียบเทียบ |
executable statement | ข้อความสั่งทำการหมายถึง คำสั่งในภาษาระดับสูงที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ลงมือทำการ คำสั่งเหล่านี้ ตัวแปลโปรแกรม (compiler) จะแปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้วเครื่องจะปฏิบัติการตามคำสั่งนั้น เช่น คำสั่งกำหนดค่า A = 2 ถ้าเครื่องเจอคำสั่งนี้ ก็จะลงมือกระทำการ (execute) ด้วยการนำค่า 2 ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำช่องหนึ่งที่มีอยู่ (address) ชื่อ A เป็นต้นดู non executable statement เปรียบเทียบ |
imperative statement | หมายถึง คำสั่งในภาษาระดับสูง (high level language) ที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ลงมือทำการ คำสั่งเหล่านี้ ตัวแปลโปรแกรม จะแปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) ก่อน แล้วเครื่องจึงจะปฏิบัติตาม เช่น ข้อความสั่งทำการกำหนดให้ A = 2 ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์พบคำสั่งนี้ ก็จะลงมือทำหาร ด้วยการนำ 2 ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำช่องหนึ่งที่มีอยู่ (address) แล้วกำหนดชื่อที่เก็บนั้นว่า A เป็นต้นมีความหมายเหมือน excutable statement |
incremental compiler | ตัวแปลโปรแกรมส่วนเพิ่มหมายถึง โปรแกรมพิเศษที่ทำหน้าที่เป็นตัวแปลคำสั่งในโปรแกรมให้เป็นรหัสภาษาเครื่องในทันทีที่พิมพ์ข้อความที่เป็นคำสั่งเต็มบรรทัด ตัวแปลโปรแกรมส่วนเพิ่มตัวนี้จะทำหน้าที่แปลในขณะที่เราพิมพ์คำสั่งแต่ละคำสั่ง ผิดกับตัวแปลอื่นที่จะรอจนพิมพ์โปรแกรมเสร็จหมดจึงจะลงมือแปล การแปลแบบหลังนี้ เราจะต้องรอสักนิดหนึ่ง เมื่อการแปลเสร็จสิ้นแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะลงมือทำงาน ดู interpreter ประกอบ |
machine language | ภาษาเครื่องหมายถึง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำให้เครื่องรับรู้และเข้าใจได้ เขียนโดยใช้รหัสเลขฐานสองเป็นหลัก (ฉะนั้น จะมีแต่เลข 0 กับ 1 เท่านั้น) คำสั่งแต่ละคำสั่งจะหมายถึงการทำงานอย่างหนึ่ง แต่ละโปรแกรมจึงจะยาวค่อนข้างมาก ผู้ที่เริ่มต้นเรียนคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ไม่ควรเรียนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้เลย เพราะอาจจะทำให้หมดกำลังใจไปเลย อาจจะพอเปรียบได้ว่า เลขฐานสองนั้นก็เหมือน ๆ กับตัวโน้ต เพลง (ภาษาดนตรีก็เข้าใจยากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาษาเครื่องนี้สักเท่าใดดอก) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องทำความเข้าใจไว้เสมอว่า ไม่ว่าเราจะสั่งให้เครื่องทำงานด้วยโปรแกรมภาษาอะไรก็ตาม ตัวแปลโปรแกรม (compiler) ก็จะต้องทำหน้าที่แปลภาษาที่เราใช้ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนเสมอ คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจจนสามารถปฏิบัติตามคำสั่ง (execute) นั้น ๆ ได้ |