Mixed Deciduous Forest | ป่าเบญจพรรณ, Example: ป่าผลัดใบประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายชนิด พื้นป่าไม้รกทึบ มีไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก ในฤดูแล้งต้นไม้ทั้งหมดจะพากันผลัดใบ และมีไฟไหม้ป่าอยู่ทุกปี พบในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพันธุ์ไม้หลายชนิดขึ้นคละเคล้าปนกันมาก แต่ก็มีเพียงไม่กี่ชนิดที่เป็นไม้เด่น ป่าประเภทนี้แบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ Teak Bearing Mixed Deciduous Forest และ Non-Teak Bearing Mixed Deciduous Forest [สิ่งแวดล้อม] |
Non-Teak Bearing Mixed Deciduous Forest | ป่าเบญจพรรณที่ไม่มีไม้สักขึ้นอยู่, Example: ป่าผลัดใบประเภทป่าเบญจพรรณชนิดหนึ่ง ที่ไม่มีไม้สักขึ้นอยู่ แต่ไม้ผลัดใบชนิดอื่นๆ ที่ขึ้นปะปนกับไม้สัก เช่น แดง ประดู่ รกฟ้า ชิงชัน ขึ้นอยู่ได้ตามปกติ ป่าชนิดนี้พบมากแถบภาคตะวันออก เช่น กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี [สิ่งแวดล้อม] |
Teak Bearing Mixed Deciduous Forest | ป่าเบญจพรรณที่มีไม้สักขึ้นอยู่, หรือเรียกว่า ป่าไม้สัก, Example: ป่าผลัดใบประเภทป่าเบญจพรรณชนิดหนึ่ง ที่มีไม้สักขึ้นอยู่ ไม้สักเป็นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ และมีความต้องการสิ่งแวดล้อมเฉพาะอย่าง ในการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงพบไม้สัก เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น พันธุ์ไม้ชนิดอื่นที่พบขึ้นปะปนกับไม้สัก ได้แก่ ตะแบก ประดู่ รกฟ้า และแดง ส่วนพืชชั้นล่างที่พบจะเป็นพวกหญ้า กก ไม้ไผ่ชนิดต่างๆ แต่ไม่พบไม้ในวงศ์ยางในป่าชนิดนี้ [สิ่งแวดล้อม] |
Deciduous Forest | ป่าผลัดใบ, Example: ป่าที่มีใบเขียวชอุ่มเฉพาะฤดูฝน และทิ้งใบในฤดูร้อน ป่าบางแห่งใบไม้ร่วงจากลำต้นหมด คล้ายกับต้นไม้ เหล่านั้นจะตาย แต่พอปริมาณไอน้ำในอากาศมีมากขึ้น ต้นไม้เหล่านั้นก็เริ่มแตกใบใหม่ ความอุดมสมบูรณ์ของดินในป่าผลัดใบมีน้อยกว่าดินของป่าดงดิบ เนื่องจากในช่วงฤดูร้อนที่ต้นไม้ผลัดใบลงมาทับถมกันที่พื้นนั้น เมื่อเกิดไฟป่า ไฟจะเผาใบไม้ที่ทับถมนั้นจนหมด โอกาสที่ใบไม้จะกลายเป็นปุ๋ยก้หมดไป ดินในป่าชนิดนี้จึงเสื่อมโทรมลงทุกปี ป่าประเภทนี้พบทั่วไปไม่ว่าจะป็นที่ราบหรือภูเขา แต่มักจะไม่พบในพื้นที่ที่สูงกว่า 1, 000 เมตร แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ Deciduous Dipterocarp Forest, Mixed Dipterocarp Forest, และ Savanna Forest [สิ่งแวดล้อม] |