องค์กร | น. บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กรของรัฐสภา, ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วย. |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | น. องค์กรของราชการบริหารส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ. (ดู ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ประกอบ) |
กังหันน้ำชัยพัฒนา | น. ชื่อเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยแบบหนึ่ง เป็นอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียชนิดหนึ่ง มีลักษณะการทำงานคล้ายกังหันวิดน้ำขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อเติมอากาศหรือออกซิเจนในแหล่งน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและประดิษฐ์อุปกรณ์เติมอากาศขึ้นแล้วทรงมอบหมายมูลนิธิชัยพัฒนา ศึกษาวิจัยเพื่อทำต้นแบบพร้อมสนับสนุนงบประมาณให้กรมชลประทานสร้าง นำไปใช้งานตามแหล่งน้ำเสียทั่วประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ ๓๑๒๗ และองค์กรนักประดิษฐ์โลกจากประเทศเบลเยียมได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลในฐานะที่ทรงสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม. |
ข้อบัญญัติ | น. กฎที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตราขึ้นเพื่อใช้บังคับในเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา. |
ข้าราชการ | บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง ทบวง กรม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการการเมือง ข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ. |
เครือข่าย | น. ระบบ เส้นทาง หรือการปฏิบัติงานที่ติดต่อประสานกันเป็นโยงใย เช่น เครือข่ายโทรคมนาคม เครือข่ายวิทยุชุมชน, กลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่มีความเห็นใกล้เคียงกัน มีการติดต่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่น เครือข่ายนักวิจัย. |
จดหมายข่าว | น. แผ่นปลิวหรือจุลสารที่ลงข่าวสาร มักใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์หน่วยงาน องค์กร สมาคม หรือชมรม. |
ตรา | (ตฺรา) น. เครื่องหมายทำเป็นรูปต่าง ๆ มีลวดลายประดับ สำหรับประทับเป็นสัญลักษณ์แทนบุคคลหรือองค์กรเป็นต้น เช่น ตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ ตราบัวแก้ว หรือสำหรับเป็นเครื่องประดับในจำพวกราชอิสริยาภรณ์ เช่น ตราช้างเผือก หรือสำหรับเป็นเครื่องหมายการค้า เช่น ผ้าตรานกอินทรี. |
ทรัพยากรบุคคล | น. บุคคลผู้มีคุณค่าที่เป็นทรัพย์ขององค์กร สังคม หรือประเทศ. |
ที่ราชพัสดุ | น. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด แต่ไม่รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจและขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสาธารณสมบัติของแผ่นดินบางชนิด. |
เทศบาล | น. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีและสภาเทศบาล. |
โทษทางวินัย | น. โทษที่ลงแก่บุคลากรขององค์กรซึ่งปฏิบัติฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางวินัยขององค์กรที่กำหนดไว้ เช่น โทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้กำหนดไว้ ๕ สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก และไล่ออก. |
ธรรมนูญ | น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กร เช่น ธรรมนูญศาลทหาร พระธรรมนูญศาลยุติธรรม. |
นายกเทศมนตรี | น. ตำแหน่งผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล. |
นายกเมืองพัทยา | น. ตำแหน่งผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ เมืองพัทยา. |
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด | น. ตำแหน่งผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด. |
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล | น. ตำแหน่งผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบองค์การบริหารส่วนตำบล. |
บริการสาธารณะ | น. กิจการอันจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นส่วนรวมที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำขึ้นเพื่อบริการแก่ประชาชน เช่น กิจการสาธารณูปโภค กิจการขนส่งคนโดยสาร . |
ผู้ตรวจการแผ่นดิน | น. องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่สอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งอำนาจหน้าที่ในการเสนอเรื่องต่อศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญเมื่อเห็นว่ากฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือการกระทำใดของบุคคลใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ. |
ผู้ตรวจสอบภายใน | น. เจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการเป็นการภายในขององค์กร เช่น ตรวจสอบการปฏิบัติงาน การใช้จ่าย การปฏิบัติตามคำสั่ง. |
ผู้บริหารท้องถิ่น | น.ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นให้ทำหน้าที่บริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี. |
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม | น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กรศาลยุติธรรม และกำหนดอำนาจศาล ตลอดจนเขตอำนาจของศาลยุติธรรมต่าง ๆ. |
ภาษีบำรุงท้องที่ | น. ภาษีที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บจากผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดินที่ไม่ใช่ของเอกชน โดยคำนวณตามจำนวนเนื้อที่ดินที่มีหรือครอบครองตามราคาปานกลางที่ทางราชการประกาศกำหนด. |
มิสซา | น. พิธีกรรมในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เพื่อระลึกถึงพระเยซูที่ทรงสั่งเสียสาวกขณะที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย โดยสัญญาว่า เมื่อประกอบพิธีแบ่งขนมปังดังที่พระองค์กระทำ พระองค์จะเสด็จมาประทับร่วมด้วยทุกครั้ง. |
รัฐธรรมนูญ | (รัดถะทำมะนูน, รัดทำมะนูน) น. บทกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ กำหนดรูปแบบและระบอบการปกครองของประเทศ สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชน อำนาจหน้าที่ขององค์กร และความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร. |
รัฐบาล | (รัดถะบาน) น. องค์กรปกครองประเทศ, คณะบุคคลที่ใช้อำนาจบริหารในการปกครองประเทศ. |
รัฐสภา | (รัดถะสะพา, รัดสะพา) น. องค์กรนิติบัญญัติ ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร. |
ราชการบริหารส่วนกลาง, ราชการส่วนกลาง | น. การปกครอง ดูแล และการปฏิบัติภารกิจของรัฐในฐานะเป็นศูนย์กลางของการบริหารราชการแผ่นดิน โดยจัดแบ่งองค์กรในการปฏิบัติหน้าที่เป็นสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม เช่น ราชบัณฑิตยสถาน. |
ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น, ราชการส่วนท้องถิ่น | น. การปกครอง ดูแล จัดการ และการให้บริการของรัฐ ที่รัฐกระจายอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนในการดำเนินการ เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องที่นั้น โดยจัดเป็นองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และรูปแบบอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ เช่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา. |
รุก ๑ | เริ่มดำเนินการโดยวางแผนล่วงหน้า เช่น ทำงานในเชิงรุกเพื่อพัฒนาองค์กร นโยบายเชิงรุก |
ศาล | (สาน) น. องค์กรฝ่ายตุลาการซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี, ผู้พิพากษาหรือตุลาการซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี |
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ | น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสินเท่านั้น. |
สหกรณ์ | น. องค์กรทางเศรษฐกิจและสังคมที่สมาชิกร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยการลงหุ้นร่วมกัน จัดการร่วมกันในการผลิต การจำหน่ายสินค้า หรือบริการตามความต้องการหรือผลประโยชน์อย่างเดียวกันของบรรดาสมาชิก สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิ์ออกเสียงได้หนึ่งเสียงในการบริหารสหกรณ์ โดยไม่ขึ้นกับจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์โคนม, (กฎ) คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตามกฎหมาย. |
สันนิบาตเทศบาล | น. องค์กรของเทศบาลทั่วประเทศรวมทั้งเทศบาลเมืองพัทยาและกรุงเทพมหานคร ซึ่งรวมตัวกันโดยมีจุดมุ่งหมายช่วยเหลือ สนับสนุน และติดต่อประสานงานเทศบาลทั่วประเทศ โดยไม่มีจุดประสงค์ทางการเมือง เรียกว่า สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย. |
องค์การบริหารส่วนจังหวัด | น. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยทับซ้อนกับพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น มีอำนาจหน้าที่ในการประสานและร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น รวมตลอดทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตพื้นที่ของตน. (ดู ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ประกอบ) |
องค์การบริหารส่วนตำบล | น. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่มีพื้นที่ครอบคลุมตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะพื้นฐาน. (ดู ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ประกอบ) |
อัยการ | องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบด้วยคณะกรรมการอัยการ อัยการสูงสุด และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยธุรการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งหรือคดีปกครอง และให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ตรวจร่างสัญญาและเอกสารทางกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า องค์กรอัยการ, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดิน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร. |
Extranet | เครือข่ายภายนอกองค์กร [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
The Most Admired Knowledge Enterprises | องค์กรที่มีการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ที่ดีเลิศทั่วโลก [การจัดการความรู้] |
Learning organization | องค์กรแห่งการเรียนรู้ [การจัดการความรู้] |
Organizational knowledge | ความรู้ขององค์กร [การจัดการความรู้] |
Chief Knowledge Office | ผู้บริหารสูงสุดที่ทำหน้าที่จัดการความรู้ขององค์กร [การจัดการความรู้] |
Organization Development | การพัฒนาองค์กร [การจัดการความรู้] |
Corporate culture | วัฒนธรรมองค์กร [การจัดการความรู้] |
Safety culture | วัฒนธรรมความปลอดภัย, พฤติกรรมขององค์กรและบุคคลในองค์กร ที่สะท้อนการได้รับการปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัย ทั้งจากการอบรม การเรียนรู้และการถ่ายทอด จนเกิดเป็นนิสัยและเจตคติที่ให้ความสำคัญต่อการระวังป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ตัวอย่างเช่น ผู้ปฏิบัติงานทางนิวเคลียร์และรังสี ย่อมรู้ดีว่าจะต้องใช้อุปกรณ์ใดบ้างเพื่อให้เกิดความปลอดภัย เช่น ต้องติดมาตรปริมาณรับรังสี ต้องใช้เครื่องมือหยิบจับสารกัมมันตรังสี มีวัสดุและอุปกรณ์กำบังรังสีที่พอเพียง รวมทั้งการสวมแว่นตาและหน้ากากกันไอระเหย ให้เหมาะสมตามลักษณะของงาน [นิวเคลียร์] |
WIPO | ชื่อย่อขององค์กรทรัพย์สินทางปัญญาในระดับนานาชาติ (World Intellectual Property Organization), ชื่อย่อขององค์กรทรัพย์สินทางปัญญาในระดับนานาชาติ (World Intellectual Property Organization), Example: ทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนการใช้งานอันมีทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้การคุ้มครองตามเจตนาของมนุษยชาติ ขยายขอบเขตถึงสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ ศิลปะ WIPO มีบทบาทสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพ และความสุขในชีวิตของมนุษย์และรวมถึงสร้างความมั่งคั่งให้แก่ประเทศต่าง ๆ สำนักงานใหญ่ WIPO ตั้งอยู่ที่ กรุงเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์และยังเป็น 1 ใน 16 หน่วยงานพิเศษเฉพาะของสหประชาชาติ (UN) ทำหน้าที่บริหารจัดการ สนธิสัญญาระดับนานาชาติ 23 เรื่องที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่าง ๆ ของทรัพย์สินทางปํญญาซึ่งมีประเทศสมาชิก จำนวน 184 ประเทศ [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
The Organisation for Economic Co-operation and Development | องค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ, Example: ประเทศสมาชิกได้แก่ สหรัฐฯ แคนาดา เม็กซิโก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสมาชิกสหภาพยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี และสเปน [ธุรกิจ] |
Risk Rating | การจัดอันดับความเสี่ยงขององค์กรหรือการลงทุน [ธุรกิจ] |
Geo-Informatics | ระบบภูมิสารสนเทศ, ระบบภูมิสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่รู้จักกันมากขึ้น สำหรับ หน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ และติดตามทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เช่น ทรัพยากร ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น ระบบภูมิสารสนเทศได้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต่างๆ ได้แก่ การรับรู้จากระยะไกล (Remote sensing) ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS - Global Positioning System) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS - Geographic information Systems ) [Assistive Technology] |
Geomatics | ระบบภูมิสารสนเทศ, ระบบภูมิสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่รู้จักกันมากขึ้น สำหรับ หน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ และติดตามทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เช่น ทรัพยากร ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น ระบบภูมิสารสนเทศได้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต่างๆ ได้แก่ การรับรู้จากระยะไกล (Remote sensing) ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS - Global Positioning System) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS - Geographic information Systems ) [Assistive Technology] |
Virtual university | มหาวิทยาลัยเสมือนจริง, มหาวิทยาลัยเสมือนจริง คือ การศึกษาแนวใหม่ในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีลักษณะเป็นการสร้างฐานความรู้ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Knowledge-based Learning Organization) ที่ใครก็ได้สามารถเรียนรู้จากแหล่งใดก็ได้ และเวลาใดก็ได้ [Assistive Technology] |
Community organization | องค์กรชุมชน [TU Subject Heading] |
Corporate image | ภาพลักษณ์ขององค์กร [TU Subject Heading] |
Independent regulartory commissions | องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ [TU Subject Heading] |
Legislative bodies | องค์กรนิติบัญญัติ [TU Subject Heading] |
Mission statements | พันธกิจองค์กร [TU Subject Heading] |
Non-governmental organizations | องค์กรพัฒนาเอกชน [TU Subject Heading] |
Organizational learning | องค์กรเรียนรู้ [TU Subject Heading] |
School management and organization | องค์กรและการบริหารโรงเรียน [TU Subject Heading] |
United Nations Convention Against Transnational Organized Crime (2000) | อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร (ค.ศ. 2000) [TU Subject Heading] |
ASEAN Award | รางวัลอาเซียน " แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทบุคคลและประเภทองค์กร เพื่อ ยกย่องและให้การรับรองผลงานที่มีความโดดเด่นในการส่งเสริมและการพัฒนาความ ร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน " [การทูต] |
ASEAN Charter | กฎบัตรอาเซียน เป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะให้สถานะทางกฎหมายหรือนิติฐานะแก่อาเซียน และวางกรอบโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อทำให้อาเซียนเป็นหน่วยงานที่ยึดมั่นมาก ยิ่งขึ้นต่อกติกาและกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้น อันจะนำมาซึ่งการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนยังมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชน เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือมากยิ่งขึ้นด้วยการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆ เพื่อปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนอาเซียน เช่น องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมลงนามกฎบัตรฯ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 [การทูต] |
ASEAN Senior Officials on the Environment | เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม " ประกอบด้วยผู้แทนระดับปลัดกระทรวง มีหน้าที่ดูแลความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และกับประเทศและองค์กรอื่น ๆ มีการประชุมปีละครั้ง แยกเป็น 1 คณะผู้เชี่ยวชาญและ 3 คณะทำงาน ซึ่งได้แก่ (1) คณะทำงานเฉพาะกิจทางเทคนิคด้านปัญหาหมอกควัน (2) คณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมชายฝั่งและทางทะเล (3) คณะทำงานอาเซียนเกี่ยวกับความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม และ (4) คณะทำงานอาเซียนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ " [การทูต] |
Conselho Nacional da Resistencia Timorense (National Council of Timorese Resistance) | " เป็นองค์กรที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชของชาวติมอร์ตะวันออกจาก อินโดนีเซีย โดยมีนายซานานา กุสเมา (Xanana Gusmao) เป็นผู้นำคนสำคัญ " [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
Convention against Transnational Organized Crime | อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ [การทูต] |
ASEAN Committee on Science and Technology | คณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี " มีหน้าที่ดูแลความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศสมาชิกอา เซียนและกับประเทศคู่เจรจาและองค์กรอื่น ๆ ประชุมปีละ 2 ครั้ง โดยแยกเป็นอนุกรรมการ 9 คณะ คือ (1) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร (2) ด้านอุตุนิยมวิทยาและธรณีฟิสิกส์ (3) ด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (4) ด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี (5) ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (6) ด้านการวิจัยพลังงานนอกแบบ (7) ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล (8) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (9) ด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ " [การทูต] |
Committee of Permanent Representatives to ASEAN | คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ประกอบด้วยผู้แทนถาวร (ระดับเอกอัครราชทูต) ประจำอาเซียนของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับสำนัก เลขาธิการอาเซียนสนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียนรวมทั้งองค์กร ระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาต่าง ๆ [การทูต] |
Diplomatic Language | ภาษาการทูต ในสมัยโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 รัฐทั้งหลายในสมัยนั้นได้นิยมใช้ภาษาละตินเป็นภาษาการทูตและก็เป็นภาษาเดียว ที่ใช้กันในยุโรปภาคกลางและภาคตะวันตก ต่อมาในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสแทนภาษาละตินเป็นภาษาการทูต และใช้กันตลอดมาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งแรก หลังจากเสร็จสงครามโลกครั้งแรกจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐต่างๆ เริ่มนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่ก็ยังไม่มีการรับรองเป็นทางการกันว่าให้ใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการทูตใน องค์กรทั้งหมดของสหประชาชาติยกเว้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ใช้ 5 ภาษาเป็นภาษาราชการ คือ ภาษาจีน รัสเซีย สเปน อังกฤษ และฝรั่งเศส ดังนั้น ในการประชุมใด ๆ ณ องค์การสหประชาชาติ หากมีการแถลงเป็นภาษาหนึ่ง ก็จะมีการแปลเป็นอีก 4 ภาษาเกือบพร้อมกันในทันที (Simultaneous Translation) สำหรับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น ภาษาที่ใช้เป็นภาษาราชการคือ ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส เพียงสองภาษา [การทูต] |
Council of Economic and Finance Ministers | คณะมนตรียุโรปด้านเศรษฐกิจและการคลัง " เป็นองค์กรในสหภาพยุโรปประกอบด้วยรัฐมนตรีเศรษฐกิจและ การคลังจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป " [การทูต] |
Economic and Social Council | คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (แห่งสหประชาชาติ) เป็นองค์กรหลักของสหประชาชาติ ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาและรายงานเกี่ยวกับเรื่องระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำคำแนะนำเสนอต่อสมัชชา สมาชิกของสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมการเคารพ และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพของมวลมนุษย์ ทั้งนี้ ประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติ 54 ประเทศ [การทูต] |
European Parliament | สภายุโรป เป็นองค์กรหนึ่งในสหภาพยุโรป สมาชิกสภายุโรปจะเป็นผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งมาจากกลุ่มประเทศสมาชิก สหภาพยุโรป ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2505 [การทูต] |
Friends of Young Ambassador of Virtue | เพื่อนยุวทูตความดี " หมายถึง สถานทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ สถานทูตต่าง ประเทศในประเทศไทย องค์กรหรือภาคเอกชนทั้งของไทยและของต่างประเทศ ที่ตอบรับเป็นผู้สนับสนุนและสนใจที่จะทำกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนในโครงการยุว ทูตความดี " [การทูต] |
International Campaign to Ban Landmines | องค์กรสากลรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด [การทูต] |
International Finance Corporation | บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ มีความเกี่ยวเนื่องกับธนาคารโลก แม้ว่าจะมีสถานะเป็นองค์กรแยก ต่างหาก IFC มีหน้าที่สนับสนุนภาคเอกชนในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ [การทูต] |
Intelligence | เรื่องสืบราชการลับ กล่าวอย่างกว้าง ๆ คือ เรื่องลับไม่ว่าชนิดใด โดยเฉพาะที่จะมีประโยชน์แก่ผู้กำหนดนโยบาย หรือฝ่ายทหารที่มีหน้าที่ว่างนโยบายหรือวางแผนยุทธศาสตร์ ถือว่าเป็น Intelligence ทั้งสิ้น เช่น ในสหรัฐอเมริกามีองค์กรสืบราชการลับอยู่หลายแห่ง เช่น CIA (สำนักงานสืบราชการลับกลาง) The NSA (National Security Agency หรือองค์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ) G-2 (ฝ่ายสืบราชการลับของกองทัพบก) FBI (Federal Bureau of Investigation หรือหน่วยสืบสวนของรัฐบาลกลาง) Bureau of Intelligence and Research of the State Department หรือหน่วยสืบราชการลับและวิจัยของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ รวมทั้งฝ่ายสืบราชการลับของกองทัพเรือและกองทัพอากาศ ส่วนในโซเวียตรัสเซีย (ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่ารัสเซีย) แต่เดิมมีองค์การสืบราชการลับอยู่จำนวนหนึ่ง ที่สำคัญๆ ได้แก่ ฝ่ายสืบราชการลับทางทหารของกระทรวงกลาโหม หรือที่เรียกว่า YRU (Ylavnoe Razdevyvatelnoe Uptavlenie) และ KGB (Kommissariat Gosudatstvennoie Bezopastnotsi หรือ Commisariat of State Security) ในประเทศอังกฤษ มีฝ่ายสืบราชการลับเรียกว่า M15 (British Counter Intelligence) M16 เป็นหน่วยสาขาซึ่งทำงานด้านจารกรรมในต่างประเทศ และ M18 เป็นฝ่ายสืบราชการฝ่ายทหาร (Cryptographic Bureau of Military Intelligence) [การทูต] |
International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
International Finance Corporation | คือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1956 และเริ่มมีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 แม้บรรษัทจะดำเนินงานใกล้ชิดกับธนาคารโลก แต่ก็มีฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตนทางกฎหมายแยกต่างหาก และมีกองทุนที่แตกต่างจากกองทุนของธนาคารโลกด้วยวัตถุประสงค์ของบรรษัทคือ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้การผลิตของวิสาหกิจของเอกชนในประเทศสมาชิกเจริญเติบโตยิ่ง ขึ้น การที่จะกระทำตามวัตถุประสงค์นี้ได้ บรรษัทจะนำเงินไปลงทุนในวิสาหกิจด้านการผลิตฝ่ายเอกชน โดยดำเนินงานร่วมกับเอกชนผู้ลงทุน ทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) คล้ายกับเป็นแหล่งรวมโอกาสต่าง ๆ ของการลงทุนฝ่ายเอกชนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์ชำนาญ นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการผลิตของเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศด้วย บรรษัทยังได้รับอนุญาตให้ทำการกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีขายพันธบัตรของตนเอง รวมทั้งตั๋วสัญญาการใช้เงินบรรษัทการเงินระหว่างประเทศดำเนินงานโดยองค์กร ต่าง ๆ ของตน คืออำนาจทั้งหมดของบรรษัทจะขึ้นอยู่กับคณะผู้ว่าการ (Board of Govemors) ประกอบด้วยผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรอง (Altemates) จากธนาคารโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสมาชิกของบรรษัทด้วย คณะผู้ว่าการจะคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบรรษัทให้ถูกต้อง ตัวประธานธนาคารโลก จะทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้ว่าการของบรรษัทโดยตำแหน่งด้วย บรรษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] |
International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
International Organization for Standardization | องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ เป็นองค์กรระหว่างประเทศทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค [การทูต] |
Judicial Settlement | การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยศาลตุลาการ ก่อนที่จะเกิดองค์การสหประชาชาติ รัฐทั้งหลายที่มีกรณีพิพาทระหว่างประเทศจะฟ้องร้องต่อศาลระวห่างประเทศแห่ง หนึ่ง มีชื่อว่าศาลประจำยุติธรรมระหว่าประเทศ (Permanent Court of International Justice) ซึ่งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1920 ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1922 หลังจากนั้นเป็นเวลา 23 ปี ผู้พิพากษาของศาลก็ได้ลาออกในปีค.ศ. 1946 และสันนิบาตชาติได้ยุบศาลนี้ในปีเดียวกันเมื่อมีการสถาปนาองค์การสหประชา ชาติขึ้น ได้มีการจัดตั้งศาลระหว่างประเทศขึ้นใหม่ เรียกว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ตามกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรนี้ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 92 ว่า ?ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจักเป็นองค์กรทางตุลาการอันสำคัญของสหประชาชาติ ศาลจักดำเนินหน้าที่ตามธรรมนูญผนวกท้าย ซึ่งยึดถือธรรมนูญของศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นมูลฐาน และซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับกฎบัตรฉบับปัจจุบัน?ศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศนี้ ประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1946 [การทูต] |
Muslim World League (Rabita) | สันนิบาตมุสลิมโลก " ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2505 เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนอิสลามที่มีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือและเผยแพร่ศาสนา อิสลาม และปกป้อง สิทธิประโยชน์ของชาวมุสลิมทั่วโลก " [การทูต] |
North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
The Netherlands Organization for International Cooperation in Higher Education | องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการอุดมศึกษา แห่งเนเธอร์แลนด์ เป็นองค์กรผู้บริหารการจัดการแผนการดำเนินงานด้านทุน ของเนเธอร์แลนด์ (NFP) [การทูต] |
Organization of American States | องค์กรรัฐอเมริกัน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2491 เป็นองค์กรความร่วมมือในทวีปอเมริกาและ แคริบเบียน ซึ่งเป็นองค์กรหลักด้านการเมืองในทวีปอเมริกา และในปัจจุบันได้ขยายบทบาทเน้นหนักความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการร่วมมือป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและคอรัปชั่น ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 35 ประเทศ ประเทศผู้สังเกตการณ์ 45 ประเทศ โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ถาวรของ OAS เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2541 (ประเทศสมาชิกดูที่ FTAA) [การทูต] |
affiliate | (vi) รวม (องค์กร) เข้าด้วยกัน, See also: รวมกัน |
affiliate | (vt) รวม (องค์กร) เข้าด้วยกัน, See also: รวมกัน |
alliance | (n) สหพันธ์, See also: สมาพันธ์, องค์กร, พันธมิตร, Syn. union, league, federation |
basket case | (n) องค์กรหรือประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจตกต่ำมาก |
card-carrying | (adj) ที่เป็นสมาชิกขององค์กร (โดยเฉพาะทางการเมือง) |
chapter | (n) สาขา (ขององค์กร สโมสรหรือสมาคม), Syn. branch |
clergyman | (n) ผู้ที่เป็นสมาชิกองค์กรทางศาสนา |
conservancy | (n) องค์กรที่ทำหน้าที่อนุรักษ์ธรรมชาติ |
departmental | (adj) เกี่ยวกับแผนก, See also: เกี่ยวกับกรม, เกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐบาลหรือองค์กร |
foundation | (n) สถาบัน (ที่ก่อตั้งขึ้นมาจากกองทุน), See also: มูลนิธิ, องค์กร, องค์การ, สมาคม |
freemasonary | (n) องค์กรของพวก Freemason, See also: แนวปฏิบัติหรือความเชื่อของพวก Freemason |
fund | (n) กองทุน (องค์กร, หน่วยงาน) |
ginger group | (n) กลุ่มคนในพรรคการเมืองหรือองค์กรที่ชักจูงคนอื่นให้คล้อยตาม |
Girl Guide | (n) สมาชิกของ Guides Association ในอังกฤษ, See also: องค์กรเพื่อหญิงสาวและเด็กหญิงในอังกฤษ |
higher-up | (n) บุคคลที่มีตำแหน่งสูงในหน่วยงานหรือองค์กร (คำไม่เป็นทางการ), See also: หัวหน้า, ผู้บังคับบัญชา, Syn. chief, senior, superior, Ant. inferior, subordinate, underling |
have one's hand in the till | (idm) กำลังยักยอกเงินจากองค์กรหรือบริษัท |
run a tight ship | (idm) บริหารองค์กรอย่างดี, See also: ออกเรือไปได้อย่างดี |
in-house | (adj) ซึ่งเกิดภายในองค์กร, Syn. internal, interior, domestic, Ant. external, outer |
in-house | (adv) ภายในองค์กร, Syn. within an organization |
institution | (n) สถาบัน, See also: องค์กรสำคัญๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล ธนาคาร, Syn. academy, foundation, institute |
institutional | (adj) เกี่ยวกับสถาบัน, See also: เกี่ยวกับระบบ, เกี่ยวกับองค์กรสำคัญๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล ธนาคาร, Syn. convention, custom, practice |
international | (n) องค์กรระหว่างประเทศ |
internecine | (adj) ซึ่งเกิดขึ้นภายในกลุ่ม ประเทศหรือองค์กร, Syn. inside, internal |
Internet | (n) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระหว่างองค์กรต่างๆ, See also: อินเทอร์เนต |
joiner | (n) ผู้ที่เป็นสมาชิกของหลายองค์กรหรือสมาคมเพื่อผลทางสังคม |
kingpin | (n) คนที่สำคัญที่สุดในองค์กร (คำไม่เป็นทางการ), Syn. bigwig, linchpin, leader |
machine | (n) คณะหรือกลุ่มที่ทำหน้าที่ควบคุมโดยตรง (โดยเฉพาะทางการเมือง), See also: องค์กรที่เป็นกลไกสำคัญ, Syn. party, gang, system |
Masonic | (adj) เกี่ยวกับองค์กรลับระหว่างประเทศที่ช่วยเหลือกัน, Syn. Mason |
meltdown | (n) การล่มสลายขององค์กร, Syn. breakdown, failure |
middle management | (n) กลุ่มจัดการระดับกลาง (ไม่เกี่ยวกับการตัดสินใจที่มีผลต่อองค์กร) |
mission statement | (n) เอกสารบอกวัตถุประสงค์ขององค์กร |
money market | (n) ธนาคารและองค์กรการเงินที่ให้กู้ยืมเงินและซื้อขายเงินตราต่างประเทศ |
motor pool | (n) รถบริษัทหรือองค์กร |
news agency | (n) องค์กรรวบรวมข่าวให้สื่อมวลชน, Syn. news service |
NGO | (abbr) องค์กรเอกชน (คำย่อ non-governmental organization) |
nihilism | (n) การยกเลิกกฎหมายและองค์กรบริหาร, See also: ความเชื่อว่าไม่มีสิ่งใดมีคุณค่า โดยเฉพาะทางศาสนาหรือหลักศีลธรรม |
old guard | (n) ผู้ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงองค์กร |
organization | (n) องค์กร, See also: องค์การ, คณะ, สมาคม, Syn. association, institution |
organizational | (adj) เกี่ยวกับองค์กร, See also: เกี่ยวกับระบบ |
organisational | (adj) เกี่ยวกับองค์กร, See also: เกี่ยวกับระบบ |
organize | (vt) จัดตั้ง, See also: จัดตั้งเป็นองค์กร, รวบรวมขึ้น, Syn. set up, form, Ant. destroy |
organize | (vi) จัดตั้ง, See also: จัดตั้งเป็นองค์กร, รวบรวมขึ้น, Syn. form |
organization | (n) องค์กร, See also: องค์การ, คณะ, สมาคม, Syn. association, institution |
organizational | (adj) เกี่ยวกับองค์กร, See also: เกี่ยวกับระบบ |
organize | (vt) จัดตั้ง, See also: จัดตั้งเป็นองค์กร, รวบรวมขึ้น, Syn. set up, form, Ant. destroy |
organize | (vi) จัดตั้ง, See also: จัดตั้งเป็นองค์กร, รวบรวมขึ้น, Syn. form |
president | (n) ประธาน, See also: อธิการบดี, ผู้มีอำนาจในการบริหาร, บุคคลสำคัญขององค์กร, Syn. director, chairman, VIP, Ant. laborer |
press office | (n) สำนักงานข่าวของรัฐบาลหรือองค์กรใหญ่ๆ |
press officer | (n) ผู้ทำงานในสำนักข่าวรัฐบาล องค์กรใหญ่ๆ หรือพรรคการเมือง |
quango | (n) องค์กรรัฐบาลที่ปฏิบัติงานอย่างอิสระ, See also: องค์กรอิสระ |
*??งค์การบริหารส่วน* | (n) เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารงานส่วนท้องถิ่น |
*benchmarking* | (n, adv, abbrev) การพัฒนาองค์กรโดยเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น |
cern | [Organisation Européenne pour la Recherche Nucléaire] (n) เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์, Syn. European Organization for Nuclear Research |
entity | [เอ๊นถิที่] (n) บุคคล คณะบุคคล บริษัท องค์กร |
entity | [เอ๊นถิที่] (n) บุคคล คณะบุคคล บริษัท องค์กร |
entity | [เอ๊นถิที่] (n) บุคคล คณะบุคคล บริษัท องค์กร |
entity | [เอ๊นถิที่] (n) บุคคล คณะบุคคล บริษัท องค์กร |
entity | [เอ๊นถิที่] (n) บุคคล คณะบุคคล บริษัท องค์กร |
intrabusiness | [ไทย] (n, vt) Intrabusiness ก็คือ การติดต่อ ระหว่างคนในองค์กรกันเอง หรือ ระหว่างบริษัทที่เป็นคู่ค้ากันอยู่ เช่น เว็บของมหาวิทยาลัยบ คนอื่น ก็จะเข้ามาได้ แต่ไม่สามารถเข้ามาดูข้อมูลส่วนตัวได้ หรือ อย่างธนาคารที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสาขากัน |
knowledge management | (n) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดการความรู้ มีตัวอักษรย่อ (KM) คือ การจัดการความรู้ในองค์กรไม่ให้หายไป (สมองไหล) - เมื่อมีสมาชิกในองค์กรคนหนึ่งคนใดหายไปเพื่อไม่ให้ความรู้หายไปด้วย |
organization | (n, vi, vt, adj, adv, conj, pron, phrase, jargon, vulgar, abbrev, name, org, uniq) องค์กร |
organizational commitment | (n) ความผูกพันต่อองค์กร |
Organogram | (n) โครงสร้างองค์กร |
thqn | [ที-เอช-คิว-เอ็น] (abbrev, name, org, u) เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ, Thailand Queer Network, เป็นเครือข่ายความร่วมมือกันขององค์กรอิสระต่างๆ ในประเทศไทย ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำงานด้านสาธารณะประโยชน์ สิทธิและเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย ให้แก่คนไทยที่รักเพศเดียวกัน และคนไทยในชุมชนอื่นที่ไม่อยู่ในการดูแลจากสังคมไทย ดูเวปไซต์ทางการที่ http://www.thqn.net/, Syn. เครือข่ายคนรักเพศเดียวกัน |