ขันสาคร | น. ขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปากคาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ หรือสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ. |
มัจฉาชมสาคร | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง มี ๒ แบบ คือ มือข้างหนึ่งจีบหงาย งอข้อศอก หักข้อมือเข้าหาแง่ศีรษะ มืออีกข้างหนึ่งจีบหงาย แขนตึง ระดับไหล่ เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือที่แขนตึง หรือมือขวาตั้งวงสูงทำมือล่อแก้ว มือซ้ายตั้งวงต่ำ เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือที่ทำล่อแก้ว. |
สาคร ๑ | (-คอน) น. แม่นํ้า, ทะเล. |
สาคร ๒ | (-คอน) น. ชื่อขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปากคาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ หรือสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ เรียกว่า ขันสาคร. |
กระษิร | (-สิน, -สิระ) น. กษีร, นํ้านม, เช่น มาจากวารินกระษิรสมุทร (รามเกียรติ์ ร. ๒), กระษิรสินธุสาคร (สรรพสิทธิ์). |
กะทุน | น. ชื่อแมลงพวกแมลงปอ แมลงปอเข็ม และแมลงช้างตัวเต็มวัยซึ่งมีลักษณะคล้ายแมลงปอ แต่มีหนวดยาว, ในบางจังหวัด เช่น นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ เรียก กระทุน กระชุน หรือ ปะทุน. |
ควิวควัง, ควิวควั่ง, ควิวคว่าง, ควิวคว้าง | ใช้โดยปริยายว่า เวิ้งว้าง, กว้างใหญ่, น่ากลัว, เช่น สาครควิวคว่าง, โบราณเขียนเป็น ควิวคว่งง ก็มี เช่น สมุทรพิศารลิว ควิวคว่งง แลนา (กำสรวล). |
นาง ๑ | คำนำหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราชทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา เช่น นางมหาเทพกษัตรสมุห (บรรเลง สาคริก) |
ปริมณฑล | (ปะริมนทน) น. วงรอบ, จังหวัดรอบกรุงเทพมหานคร ได้แก่ นครปฐม นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และปทุมธานี |
สาคเรศ | ดู สาคร ๑. |