161 Results for *สรรพนาม*
หรือค้นหา: สรรพนาม, -สรรพนาม-

Longdo TH-NE-N - TH
ข้อย[ข่อย] (pron) ฉัน (สรรพนามบุรุษที่ 1), See also: 16
เจ้า(pron) คุณ (สรรพนามบุรุษที่ 2)

Longdo Unapproved TH-NE-N - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ข้อย(pron) ฉัน (สรรพนามบุรุษที่ 1), See also: S. ข้าน้อย

Longdo Unapproved TH-NORTH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
คิง(pron) มึง (สรรพนามบุรุษที่สอง, หยาบ)
ตั๋ว(pron) เธอ, ตัวเอง (สรรพนามบุรุษที่สอง)
ฮา(pron) ข้า, กู (สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง)
เปิ้น(pron) เค้า, เรา (สรรพนามเรียกแทนตัวผู้พูด)

Longdo Unapproved TH-NE-S - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
สู(adj, pron) (สรรพนาม) เธอทั้งหลาย (คุณศัพท์) มีรสเปรี้ยวเกินไป

NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
สรรพนาม(n) pronoun
สรรพนาม(n) pronoun, Syn. คำสรรพนาม, Example: การใช้สรรพนามเป็นเรื่องสำคัญในภาษาไทย ควรใช้ให้ถูกกาลเทศะ, Count Unit: คำ, Thai Definition: คำแทนชื่อ, Notes: (ไวยากรณ์)
คำสรรพนาม(n) pronoun, Example: การเลือกใช้คำสรรพนามในภาษาไทยนั้นต้องคำนึงถึงปัจจัยทางสังคมด้วย, Thai Definition: คำที่ใช้แทนคำนาม

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ปฤจฉาสรรพนามน. คำแทนชื่อที่เป็นคำถาม เช่นคำ “ใคร” ฯลฯ.
สรรพนามน. คำที่ใช้แทนชื่อ นาม หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวชื่อ นาม หรือข้อความนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เขา เรา ท่าน.
กรรตุสัญญา(กัดตุ-, กันตุ-) คำนำหน้านามหรือสรรพนามเป็นเครื่องหมายแสดงว่าคำนามหรือสรรพนามนั้นเป็นอาลปนะ เช่น ดูก่อนอานนท์ ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย, บางทีอาจเป็นคำร้องเรียกลอย ๆ โดยละเครื่องหมายนั้นไว้ก็ได้ เช่น อานนท์ ท่านผู้ฟังทั้งหลาย.
กระผมส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
กระหม่อมส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย ทูลพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าที่มิได้ทรงกรม และหม่อมเจ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑, สรรพนามบุรุษที่ ๑ ที่หม่อมเจ้ามีรับสั่งระหว่างกัน.
กริยา(กฺริยา, กะริยา) น. คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม.
กรุณาใช้ร่วมกับคำ พระ เป็นสรรพนามสำหรับพระมหากษัตริย์ เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา.
กัน ๑ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้เสมอกันหรือผู้น้อยในทำนองกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑, เช่น กันจะไปรอที่สถานีรถไฟ.
กูส. คำใช้แทนตัวผู้พูด ในปัจจุบันมักถือกันว่าไม่สุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
เกล้ากระผมส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมากหรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
เกล้ากระหม่อมส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
แก ๒ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยซึ่งเป็นผู้ที่สนิทสนม หรือผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒
แก ๒คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
ขยม(ขะหฺยม) ส. ขยุม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ขยุม ๑(ขะหฺยุม) ส. ขยม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ข้อยส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ขา ๔ส. เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนคำว่า เขาสองคน เช่น สองขาพ่อลูก หมายถึง เขาสองคนพ่อลูก.
ข้า ๒ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันอย่างเป็นกันเองหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ข้าเจ้าส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ข้าน้อยส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ข้าพเจ้า(ข้าพะเจ้า) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด มักใช้อย่างเป็นทางการ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ข้าพระพุทธเจ้า(ข้าพฺระพุดทะเจ้า) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ หรือกราบบังคมทูล กราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ขึ้นมึงขึ้นกูก. ด่าทอด้วยอารมณ์โกรธโดยใช้สรรพนามว่า มึงกู.
เขา ๔ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
เขือ ๓ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่ (ลอ).
คุณ ๑, คุณ-(คุน, คุนนะ-) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคำสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (ปาก) คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา.
เจ้าประคุณส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
เจ้าพระคุณส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้ว่า เจ้าประคุณ ก็มี.
เจ้าหล่อนส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, บางทีผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อยในบุรุษที่ ๓.
เจ้า ๒ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สำหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือเอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคำ นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่นจะไปด้วยหรือเปล่า.
ฉัน ๑ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ฉาน ๒ส. ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ดิฉันส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคำสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑, ดีฉัน ก็ว่า.
ดีฉันส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคำสุภาพ, ดิฉัน ก็ว่า, โบราณผู้ชายใช้ว่า ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ดีฉานส. ดิฉัน, ดีฉัน, เป็นคำที่เจ้านายผู้ชายมักใช้กับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ต้น ๔ส. สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้เรียกพระภิกษุสามัญ เช่น ต้นอยู่วัดไหน.
ตัวเองน. สรรพนามบุรุษที่ ๑ และบุรุษที่ ๒.
ตู ๑ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑ พหูพจน์, เช่น อันว่าพวกตูผู้เถ้า ก็จะน่งงเฝ้าแฝงหลัง (ม. คำหลวง ทศพร).
ตูข้าส. ตัวข้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ใต้เท้าส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยอย่างเคารพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ใต้เท้ากรุณาส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับขุนนางที่มีศักดิ์สูงเช่นเจ้าพระยา, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ใต้เท้ากรุณาเจ้าส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับขุนนางชั้นสมเด็จเจ้าพระยา, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ใต้ฝ่าพระบาทส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้แก่เจ้านายชั้นพระองค์เจ้าและเจ้าฟ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้แก่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ใต้ฝ่าละอองพระบาทส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ท่านส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคำกลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่าลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
ธ ๒(ทะ) ส. ท่าน, เธอ, เช่น ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
เธอส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย มักใช้ในระหว่างเพื่อนผู้หญิงด้วยกัน หรือใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่า เช่นครูพูดกับศิษย์ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่าด้วยความยกย่องหรือเอ็นดูเป็นต้น เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คำเติมท้ายคำนำพระนามเจ้านายที่แสดงความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ มาจากคำว่า ธ ซึ่งหมายถึงพระมหากษัตริย์ เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ.
นายส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้สำหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไปด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
บ้างส. คำใช้แทนผู้หรือสิ่งที่พูดถึงในกรณีที่แยกกล่าวโดยเฉพาะ เช่น บ้างก็กิน บ้างก็เล่น, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Personบุรุษสรรพนาม [TU Subject Heading]
Pronounสรรพนาม [TU Subject Heading]
Notes in Diplomatic Correspondenceหมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต]

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
บุรุษสรรพนาม[burut sapphanām] (n, exp) EN: personal pronoun  FR: pronom personnel [ m ]
คำสรรพนาม[kham sapphanām] (n) EN: pronoun  FR: pronom [ m ]
นิยมสรรพนาม[niyom sapphanām] (n, exp) EN: demonstrative pronoun  FR: pronom démonstratif [ m ]
ประพันธสรรพนาม[praphanthasapphanām] (n) EN: relative pronoun  FR: pronom relatif [ m ]
ปฤจฉาสรรพนาม[pritchāsapphanām] (n, exp) EN: interrogative pronoun  FR: pronom interrogatif [ m ]
สรรพนาม[sapphanām] (n) EN: pronoun  FR: pronom [ m ]

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
demonstrative(n) คำบ่งชี้, See also: คำสรรพนามที่ระบุว่าคน สัตว์ สิ่งของนั้นๆ แตกต่างจากสิ่งอื่น, Syn. determiner
I(pron) คำสรรพนามเอกพจน์บุรุษที่1, See also: ผม, ดิฉัน, ข้าพเจ้า, หน, กระหม่อม
indefinite pronoun(n) คำสรรพนามที่ไม่ชี้เฉพาะ, See also: เช่น someone, nothing, anything
interrogative(n) สรรพนามที่ใช้เป็นคำถาม (ไวยากรณ์)
nominative(n) รูปคำนาม/สรรพนาม/คุณศัพท์เมื่อเป็นประธานของประโยค
personal pronoun(aux) บุรุษสรรพนาม
pronominal(adj) ซึ่งได้จากคำสรรพนาม
pronoun(n) คำสรรพนาม, See also: คำแทนนาม, Syn. reciprocal
reflexive(adj) ซึ่งเป็นสรรพนามที่ย้อนกลับไปหาประธาน (ทางไวยากรณ์)
reflexive(n) คำกริยาหรือสรรพนามย้อนกลับ
thine(pron) บุรุษสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของของ thou (คำโบราณ)
un(pron) คำสรรพนามใช้แทนคำนาม (ภาษาพูด), Syn. one

Hope Dictionary
apposition(แอพพะซิท'เชิน) n. การวางเข้าด้วยกัน, การวางเคียงข้างกัน, นามสรรพนามหรืออนุประโยคที่ขยายความหมายของนามสรรพนาม, อนุประโยคอื่น, Syn. juxtaposition
impersonal(อิมเพอ' ซะเนิล) adj. ไม่ใช่ส่วนตัว, ไม่มีลักษณะของมนุษย์, ไม่ใช่บุรุษสรรพนาม. -n. คำกริยาหรือคำนามที่ไม่ใช่บุรุษสรรพนาม.
indefinite pronounสรรพนามที่ไม่กำหนดแน่ชัดเช่น any, some, somebody
personal pronounn. บุรุณสรรพนาม (I, we, you, he, she, it, they)
pronoun(โพร'เนานฺ) n. สรรพนาม
she(ชี) pron. หล่อน, เธอ, ตัวเมีย (ใช้นำชื่อสัตว์) , มัน (ใช้เป็นสรรพนามของเรือ, รัฐ, โลก, ดวงดาวเป็นต้น) .n. ผู้หญิง, สตรี, ตัวเมีย, เพศหญิง, สิ่งที่ถือเป็นเพศหญิง
substantive(ซับสแทน'ทิฟว) n., adj. (เกี่ยวกับ) คำนาม, สรรพนาม, ถ้อยคำที่ใช้แทนคำนาม, อิสระ, มีการอยู่อย่างอิสระ, สำคัญ, แท้จริง, ธาตุแท้, มีแก่นสาร, มากมาย, ยิ่งใหญ่, (สีย้อม) ย้อมสีได้โดยไม่ต้องมีตัวเสริม., See also: substantival adj. substantiveness n.
their's(แธร์ซ) pron. ของเขาเหล่านั้น (เป็นสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ they)
thine(ไธนฺ) pron. บุรุษสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของของ thou, สิ่งที่เป็นของคุณ
thyself(ไธ'เซลฟฺ) pron. ตัวของคุณเอง, ตัวของท่านเอง, เป็นสรรพนามย้ำที่ใช้แทนthouหรือthee

Nontri Dictionary
does(vt กระทำ(ใช้กับสรรพนามบุรุษที่) 3)
pronoun(n) คำสรรพนาม

Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
His Eminence(pron) พระคุณเจ้า เป็นคำสรรพนามสำหรับเรียกพระสงฆ์มีสมณศักดิ์ในศาสนาคริสต์
His Grand Eminence(jargon) พระคุณเจ้าสูงสุด เป็นคำสรรพนามสำหรับเรียกพระสงฆ์มีสมณศักดิ์ชั้นพิเศษในศาสนาคริสต์

Longdo Approved JP-TH
[おれ, ore] (n, vulgar) สรรพนามใช้เรียกตัวเองของผู้ชาย ไม่สุภาพ
[ぼく, boku] (n) สรรพนามบุรุษที่ 1 สำหรับผู้ชาย, สุภาพน้อยกว่า わたし
[きみ, kimi] (pron) สรรพนามบุรุษที่ 2
[かれ, kare] (pron) สรรพนามบุรุษที่สามที่เป็นเพศชาย, เขา (ผู้ชาย)

Saikam JP-TH-EN Dictionary
お前[おまえ, omae] TH: คำสรรพนามเรียกฝ่ายตรงข้าม ไม่สุภาพ  EN: you (sing, fam)
ご主人[ごしゅじん, goshujin] TH: คำสรรพนามใช้เรียกสามีของผู้อื่น  EN: husband (hon)

Longdo Approved DE-TH
alle(ind-pron) ทั้งหมด (มาจาก all ที่ถูกผันเมื่อตามด้วยคำนามพหูพจน์) เช่น alle Leute ทุกคน; all ไม่ถูกผันเมื่อตามด้วยคำนำหน้านามที่เฉพาะหรือคำสรรพนามที่แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น all die/meine Sache สิ่งของของฉันทั้งหมด, See also: ganz, gesamt
allen(ind-pron) ทั้งหมด (สรรพนามในรูปของ Dativ) เช่น in allen Fällen ในทุกกรณี
aller(ind-pron) ทั้งหมด (สรรพนามในรูปของ Genetiv) เช่น in aller Form, หรือใช้เน้นคำคุณศัพท์ในการเปรียบเทียบขั้นสูงสุด เช่น das Beste aller Zeiten สิ่งที่เยี่ยมที่สุดในทุกสมัย
denen(rel, pron) สรรพนามสำหรับนามพหูพจน์รูป Dativ ที่ใช้ในวลีที่เชื่อมกับประโยคหลัก เช่น Wir kümmern uns um die Personen, von denen ihr Geschäft abhängt. เราดูแลผู้คนที่มีความสำคัญต่อธุรกิจของเขาเอง
deren(relpron) ของเธอ (เป็นสรรพนามสำหรับนามเอกพจห์เพศหญิงรูป Genetiv ที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของในวลีที่เชื่อมกับประโยคหลัก) เ เช่น Das ist Frau Schwarzkopf, deren Namen auf dem Schwarzbrett steht. นี่คือคุณชวาสคอร์ฟที่ชื่อของเธออยู่บนบอร์ด
dessen(relpron) ของเขา เป็นสรรพนามสำหรับนามเอกพจห์เพศชายและเพศกลางรูป Genetiv, See also: deren
dies(dempron) สิ่งนี้ (คำสรรพนามหรืออาจเป็นคำนำหน้านามเพศกลาง ที่ใช้บ่งชี้เฉพาะสิ่งนั้นๆ) เช่น Wir haben eine Wanderung 7 Tage im Wald gemacht. Dies war für uns ein kleines Abendteuer. พวกเราไปเดินป่ามาเจ็ดวัน นี่เป็นการผจญภัยเล็กๆ เชียวนะ, See also: dieser, diese, Syn. dieses
diese(dempron) สิ่งนี้ (คำสรรพนามหรืออาจเป็นคำนำหน้านามเพศหญิง ที่ใช้บ่งชี้เฉพาะสิ่งนั้นๆ) เช่น diese Woche สัปดาห์นี้
diesem(dempron) สิ่งนี้ (คำสรรพนามหรืออาจเป็นคำนำหน้านามเพศชายและเพศกลาง ที่ใช้บ่งชี้เฉพาะสิ่งนั้นๆ รูป Dativ) เช่น das Bild von diesem Mann รูปของผู้ชายคนนี้, See also: dies
diesen(dempron) สิ่งนี้ (คำสรรพนามหรืออาจเป็นคำนำหน้านามเพศชายรูป Akkusativ และนามพหูพจน์รูป Dativ ที่ใช้บ่งชี้เฉพาะสิ่งนั้นๆ) เช่น 1. Wer hat in diesen Apfel gebissen? ใครกัดแอปเปิ้ลลูกนี้เนี่ย 2. Ich habe dir ein Geschenk mit diesen Früchten mitgebracht. ฉันเอาของขวัญพร้อมด้วยผลไม้เหล่านี้มาฝากเธอ
dieser(dempron) สิ่งนี้ (คำสรรพนามหรืออาจเป็นคำนำหน้านามเพศชายรูป Nominativ และนามเพศหญิงรูป Dativ และ Genetiv ที่ใช้บ่งชี้เฉพาะสิ่งนั้นๆ) เช่น dieser alte Mann, dieser alten Frau
dieses(dempron) สิ่งนี้ (คำสรรพนามหรืออาจเป็นคำนำหน้านามเพศกลางรูป Nominativ, Genetiv และ Akkusativ และนามเพศชายรูป Genetiv ที่ใช้บ่งชี้เฉพาะสิ่งนั้นๆ) เช่น dieses Jahr ปีนี้, die Haare dieses Mädchen เส้นผมของหญิงสาวคนนี้
du(pron) คุณหรือเธอ, สรรพนามบุรุษที่ 2 (สุภาพน้อยกว่า Sie, ใช้เวลาคุยกับคนที่สนิท หรือ ไม่เป็นทางการ)
er(pron) เขา หรือ สรรพนามสำหรับคำนามเพศชายในรูปประธาน, See also: sie, es
esมัน เป็นสรรพนามสำหรับคำนามเพศกลางทั้งรูปประธาน(Nominativ) และกรรมตรง (Akkusativ)
man(n) |Singl.| ผู้คนหรือเรา เป็นคำสรรพนามที่ใช้บ่งถึงเหตุการณ์ทั่วไป เช่น Man spricht nicht mit vollem Mund. เราไม่ควรพูดขณะทานข้าวหรือมีข้าวเต็มปาก
deren(relpron) เป็นสรรพนามสำหรับนามพหูพจห์เพศใดๆ รูป Genetiv (แสดงความเป็นเจ้าของ), Syn. derer ภาษาพูด
ich(pron) ฉัน, ดิฉัน, ผม (คำสรรพนามบุรุษที่ 1รูปประธาน) เช่น Ich bin groß.
du(pron) เธอ, นาย (คำสรรพนามบุรุษที่ 2 รูปประธาน) เช่น Du bist groß.
sie(pron) หล่อน, เธอ (คำสรรพนามบุรุษที่ 3 รูปประธานเพศหญิง) เช่น Sie ist groß.
es(pron) มัน (คำสรรพนามบุรุษที่ 3 รูปประธานเพศกลาง) เช่น Es ist groß.
er(pron) เขา (คำสรรพนามบุรุษที่ 3 รูปประธานเพศชาย) เช่น Er ist groß.
wir(pron) พวกเรา (คำสรรพนามบุรุษที่ 1 รูปประธานพหูพจน์) เช่น Wir sind groß.
sie(pron) พวกเขา (คำสรรพนามบุรุษที่ 3 รูปประธานพหูพจน์) เช่น Sie sind groß.
Sie(pron) คุณ (คำสรรพนามบุรุษที่ 2 รูปประธาน ใช้แสดงความสุภาพ เขียนขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่เสมอไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของประโยค)เช่น Sie sind groß.
Sie(pron) พวกคุณ (คำสรรพนามบุรุษที่ 2 รูปประธานพหูพจน์ ใช้แสดงความสุภาพ เขียนขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่เสมอไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของประโยค) เช่น Sie sind groß.
ihr(pron) พวกเธอ (คำสรรพนามบุรุษที่ 2 รูปประธานพหูพจน์ ) เช่น Ihr seid groß.
dich(pron) เธอ, นาย (คำสรรพนามบุรุษที่ 2 รูปกรรมตรง Akk.) เช่น Wer liebt dich?
Sie(pron) คุณ (คำสรรพนามบุรุษที่ 2 รูปกรรมตรง Akk. ใช้แสดงความสุภาพ เขียนขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่เสมอไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของประโยค) เช่น Wer liebt Sie?
ihn(pron) เขา (คำสรรพนามบุรุษที่ 3 รูปกรรมตรง Akk. เพศชาย) เช่น Wer liebt ihn?
sie(pron) หล่อน, เธอ (คำสรรพนามบุรุษที่ 3 รูปกรรมตรง Akk. เพศหญิง) เช่น Wer liebt sie?
es(pron) มัน (คำสรรพนามบุรุษที่ 3 รูปกรรมตรง Akk. เพศกลาง) เช่น Wer liebt es?
uns(pron) พวกเรา (คำสรรพนามบุรุษที่ 1 รูปกรรมตรง Akk. พหูพจน์) เช่น Wer liebt uns?
euch(pron) พวกเธอ (คำสรรพนามบุรุษที่ 2 รูปกรรมตรง Akk. พหูพจน์ ) เช่น Wer liebt euch?
Sie(pron) พวกคุณ (คำสรรพนามบุรุษที่ 2 รูปกรรมตรง Akk. พหูพจน์ ใช้แสดงความสุภาพ เขียนขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่เสมอไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของประโยค) เช่น Wer liebt Sie?
mir(pron) ฉัน, ดิฉัน, ผม (คำสรรพนามบุรุษที่ 1รูปกรรมรอง Dat.) เช่น Die Farbe gefällt mir.
Ihnen(pron) คุณ (คำสรรพนามบุรุษที่ 2 รูปกรรมรอง Dat. ใช้แสดงความสุภาพ เขียนขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่เสมอไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของประโยค) เช่น Die Farbe gefällt Ihnen.
ihm(pron) เขา (คำสรรพนามบุรุษที่ 3 รูปกรรมรอง Dat. เพศชาย) เช่น Die Farbe gefällt ihm.
ihr(pron) หล่อน, เธอ (คำสรรพนามบุรุษที่ 3 รูปกรรมรอง Dat. เพศหญิง) เช่น Die Farbe gefällt ihr.
ihm(pron) มัน (คำสรรพนามบุรุษที่ 3 รูปกรรมรอง Dat. เพศกลาง) เช่น Die Farbe gefällt ihm (einem Kind).
uns(pron) พวกเรา (คำสรรพนามบุรุษที่ 1 รูปกรรมรอง Dat. พหูพจน์) เช่น Die Farbe gefällt uns.
euch(pron) พวกเธอ (คำสรรพนามบุรุษที่ 2 รูปกรรมรอง Dat. พหูพจน์ ) เช่น Die Farbe gefällt euch.
Ihnen(pron) พวกคุณ (คำสรรพนามบุรุษที่ 2 รูปกรรมรอง Dat. พหูพจน์ ใช้แสดงความสุภาพ เขียนขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่เสมอไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของประโยค) เช่น Die Farbe gefällt Ihnen.
ihnen(pron) พวกเขา (คำสรรพนามบุรุษที่ 3 รูปกรรมรอง Dat. พหูพจน์) เช่น Die Farbe gefällt ihnen.
sie(pron) พวกเขา (คำสรรพนามบุรุษที่ 3 รูปกรรมตรง Akk. พหูพจน์) เช่น Wer liebt sie?
mich(pron) ฉัน, ดิฉัน, ผม (คำสรรพนามบุรุษที่ 1 รูปกรรมตรง Akk.) เช่น Wer liebt mich?
dirเธอ, นาย (คำสรรพนามบุรุษที่ 2 รูปกรรมรอง Dat.) เช่น Die Farbe gefällt dir.
mein1) ของฉัน |คำสรรพนามของประธานบุรุษที่หนึ่งรูป Nominativ ที่แสดงความเป็นเจ้าของของคำนามเพศชายและกลางเอกพจน์| เช่น mein alter Tisch, mein altes Haus
meine1) ของฉัน |คำสรรพนามของประธานบุรุษที่หนึ่งรูป Nominativ และ Akkusativ ที่แสดงความเป็นเจ้าของของคำนามเพศหญิงเอกพจน์| เช่น meine alte Hose
mein2) ของฉัน |คำสรรพนามของประธานบุรุษที่หนึ่งรูป Akkusativ ที่แสดงความเป็นเจ้าของของคำนามเพศกลางเอกพจน์| เช่น mein altes Haus

Longdo Approved FR-TH
meสรรพนามบุรุษที่หนึ่งในรูปกรรมตรง เช่น Tu me comprends? เธอเข้าใจฉันไหม, Tu m'écoutes? เธอฟังฉันอยู่หรือเปล่า
teสรรพนามบุรุษที่สองในรูปกรรมตรง เช่น Je te comprends. ฉันเข้าใจเธอนะ, Je t'invite. ฉันขอเชิญเธอ
nousสรรพนามบุรุษที่หนึ่งพหูพจน์ในรูปกรรมตรง เช่น Tu nous accompagnes? เธอติดตามพวกเราไปไหม
vousสรรพนามบุรุษที่สองในรูปกรรมตรง เช่น Je vous rejoins. ฉันตามพวกเธอไปละกัน
meสรรพนามบุรุษที่หนึ่งในรูปกรรมรอง เช่น Tu me rends visite? เธอมาเยี่ยมฉันไหม, Tu m'apportes des disques? เธอนำ(เอา)แผ่นเสียงมาให้ฉันทีได้ไหม
teสรรพนามบุรุษที่สองในรูปกรรมรอง เช่น Je te montre mes disques. ฉันโชว์(แสดง)เธอแผ่นเสียงของฉัน, Je t'offre un verre. ฉันเอาแก้วให้เธอนะ
nousสรรพนามบุรุษที่หนึ่งพหูพจน์ในรูปกรรมรอง เช่น Tu nous offres l'entrée? เธออนุญาตให้พวกเราเข้าไปไหม
vousสรรพนามบุรุษที่สองในรูปกรรมรอง เช่น Je vous réserve des places? ฉันจองที่ให้คุณ(พวกเธอ)ดีไหม
pronominalisation(n) |f| การทำให้เป็นสรรพนาม, การเปลี่ยนรูปเป็นสรรพนาม, See also: transformation en pronom

Time: 0.8836 secondsLongdo Dict -- https://dict.longdo.com/