Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman, or Degrading Treatment or Punishment (1984) | อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (ค.ศ. 1984) [TU Subject Heading] |
Humanitarian assistance | ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม [TU Subject Heading] |
Humanitarian intervention | การแทรกแซงด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรม [TU Subject Heading] |
Humanitarian law | กฎหมายมนุษยธรรม [TU Subject Heading] |
Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman and Degrading Treatment or Punishment | อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่น ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี [การทูต] |
Convention on Prohibitions or Restrictions on the Use od Certain Conventional Weapons Which May Be Deemed to Be Excessively Inju | Convention on Prohibitions or Restrictions on the Use od Certain Conventional Weapons Which May Be Deemed to Be Excessively Injurious or to Have Indiscriminate Effects = อนุสัญญาห้ามอาวุธตามแบบบางชนิดที่ก่อให้เกิดการบาด เจ็บร้ายแรงเกินความจำเป็นหรือก่อให้เกิดลโดยไม่จำกัดเป้าหมาย มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการห้ามหรือหารจำกัดการใช้อาวุธตามแบบบางชนิดที่ก่อให้ เกิดผลกระทบร้ายแรงด้านมนุษยธรรม โดยสาระสำคัญของการ คอบคุมอาวุธตามแบบแต่ละชนิดจะถูกกำหนดไว้ในพิธีสารแต่ละฉบับต่างหาก ซึ่งในชั้นนี้ มีพิธีสาร 5 ฉบับ และรัฐต่างๆ สามารถเลือกยอมรับพิธีสารต่อท้ายอนุสัญญาฯ ฉบับใดก็ได้อย่างน้อยจำนวน 2 ฉบับ [การทูต] |
Cobra Gold | การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์ เป็นการฝึกทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทยและกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก (USPACOM) ร่วมกันเป็น เจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี การฝึกคอบร้าโกลด์พัฒนามาจากการฝึกผสมยกพลขึ้นบกระหว่างกองทัพเรือไทยกับกอง ทัพเรือสหรัฐอเมริกาและกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำการฝึกร่วมกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ต่อมาใน พ.ศ. 2525 ได้รวมการฝึกหลายอย่างเข้าด้วยกันแล้วกำหนดชื่อรหัสการฝึกขึ้นใหม่ว่า "การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์" ปัจจุบัน มีประเทศที่ร่วมฝึกรวม ทั้งร่วมสังเกตการณ์หลายประเทศ รวมทั้งได้ขยายการฝึกครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การตอบโต้การก่อการร้ายด้วย [การทูต] |
comprehensive plan of action | แผนปฏิบัติการที่สมบูรณ์แบบ เป็นแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยอย่างสมบูรณ์ โดยความร่วมมือระหว่างประเทศต้นเหตุ ประเทศที่ต้องแบกรับภาระ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และประเทศที่ให้ความช่วยเหลือ แผนปฏิบัติการที่สมบูรณ์แบบนี้เป็นการแก้ไขปัญหาแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการป้องกันปัญหา การให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัย โดยจัดที่พักพิงชั่วคราวตามหลักมนุษยธรรม การส่งตัวกลับเมื่อสถานการณ์ในประเทศต้นเหตุกลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว และการหาที่พักพิงให้แก่ผู้หนีภัยในประทศที่สาม [การทูต] |
Geneva International Centre for Humanitarian Demining | ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการเก็บกู้ทุนระเบิดด้าน มนุษยธรรมแห่งนครเจนีวา [การทูต] |
Hugo Grotius (1583-1645) | บรมครูทางกฎหมายของเนเธอร์แลนด์ เป็นบุคคลแรกที่ได้ประกาศเสรีภาพของทะเล (Freedom of the Seas) ในตำราของท่านชื่อ Mare Liberumนักกฎหมาย รัฐบุรุษ และปรัชญาเมธีด้านมนุษยธรรมของเนเธอร์แลนด์ผู้นี้ ภายหลังเกิดมาได้ไม่กี่ปีก็ส่อให้เห็นว่าเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดอย่างน่า มหัศจรรย์ เขาเริ่มศึกษาวิชากฎหมายตั้งแต่มีอายุได้ 11 ขวบ ณ สถาบันศึกษาชั้นสูงแห่งเลย์เด็นในเนเธอร์แลนด์ และได้รับปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัย ณ เมืองออร์ลีนส์ ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อมีอายุได้เพียง 15 ปี โดยที่เป็นผู้ฝักใฝ่ในการเมือง เขาได้ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1618 ด้วยข้อหาทางการเมือง แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1621 ได้หลบหนีไปยังประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ 1625 เขาได้แต่งตำรากฎหมายซึ่งถือกันว่าเป็นตำราอมตะชื่อว่า Jure Belli ac Pacis (แปลว่า เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติภาพ) เป็นงานเขียนที่เหมาะกับสมัย และเขียนอย่างนักวิชาการอันเยี่ยมยอดที่สุดไม่มีใครเหมือนในสมัยนั้น และด้วยความรู้สึกที่รักความยุติธรรมอย่างแรงกล้าด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกจึงขนานนาม Hugo Grotius ว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายนานาชาติ (Father of the Law of Nations) [การทูต] |
humanitarian assistance | ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม [การทูต] |
Humanitarian Intervention | การแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม " เป็นแนวคิดที่นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติเสนออย่างเป็น ทางการครั้งแรกต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมุ่งจะให้สหประชาชาติสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภาย ในประเทศต่าง ๆ ได้โดย คำนึงถึงประเด็นเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ขณะนี้ แนวคิดนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่ยุติ โดยบางประเทศเห็นว่า เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการละเมิดอธิปไตยของรัฐ บางประเทศเห็นว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาของมนุษยชาติ ส่วนบางประเทศเห็นว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะต้องอยู่ใต้กรอบหลักเกณฑ์ หรือกรอบกฎหมายบางประการ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ " [การทูต] |
International Force in East Timor | กองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก จัดตั้งขึ้นตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1264 (1999) เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2542 มีภารกิจหลัก 3 ประการ คือ ฟื้นฟูสันติภาพและเสถียรภาพในติมอร์ตะวันออก ป้องกันและสนับสนุนงานของเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ และอำนวยความสะดวกในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม กองกำลังนานาชาติปฏิบัติหน้าที่ในติมอร์ตะวันออกจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 [การทูต] |
Oil - for - Food | โครงการน้ำมันเพื่ออาหาร " เป็นโครงการภายใต้ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 986 (พ.ศ. 2538) ซึ่งอนุญาตให้อิรักนำรายได้จากการขายน้ำมันดิบไปซื้อสินค้าทางด้านมนุษยธรรม เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนอิรัก " [การทูต] |
Responsibility to protect | หลักการความรับผิดชอบในการคุ้มครอง เป็นหลักการที่ได้รับการรับรองในการประชุมระดับผู้นำ เพื่อทบทวนผลของปฏิญญาสหัสวรรษ(High Level Panel Meeting - HLPM) เมื่อวันที่ 14-16 กันยายน พ.ศ. 2548 ณ นครนิวยอร์ก ที่เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงทางมนุษยธรรม ( humanitarian interference/intervention of humanity)เพื่อคุ้มครองประชาชนจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การฆ่าล้างชนชาติ โดยจะถือเป็นความรับผิดชอบและที่จะต้องดำเนินการร่วมกันโดยประชาคมระหว่าง ประเทศ อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่องนี้มีนัยเกี่ยวข้องกับกฏหมายระหว่างประเทศ อธิปไตย ของรัฐ ความอ่อนไหวทางการเมือง และความชอบธรรมในการปฏิบัติ จึงยังไม่มีการนิยามแนวความคิด R2P รวมถึงขอบเขตของ R2P ที่ชัดเจน [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
human | (ฮิว'เมิน) adj. เกี่ยวกับมนุษย์, เห็นอกเห็นใจคน, มีมนุษยธรรม. -n. มนุษย์, Syn. manlike, mortal, person, man |
humane | (ฮิว เมน') adj. มีมนุษยธรรม, เห็นอกเห็นใจ, มีเมตตากรุณา, เกี่ยวกับมนุษยวิทยา., See also: humanely adj. humaneness n., Syn. compassionate, kind |
humanism | (ฮิว'เมินนิสซึม) n. ลัทธิมนุษยธรรม, มานุษยวิทยา, นิสัยมนุษย์, ความรักเพื่อนมนุษย์ |
humanitarian | (ฮิวแมนนิแท'เรียน) adj. มีมนุษยธรรม. -n. ผู้มีมนุษยธรรม, ผู้ใจบุญ |
inhumane | (อินฮิวเมน') adj. ขาดมนุษยธรรม, ขาดความกรุณาปรานี, ผิดมนุษย์, ทารุณ, โหดร้าย., See also: inhumanely adv., Syn. inhuman |
inhumanity | (อินฮิวแมน'นิที) n. การขาดมนุษยธรรม, การขาดความกรุณาปรานี, การกระทำที่ผิดมนุษย์, Syn. cruelty |