เข้าปากไม้ | ก. นำไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นมาบากหรือเจาะตรงปลายแล้วประกอบเข้าด้วยกัน ใช้ลูกสลักไม้หรือปลิงเหล็กยึดปลายนั้นให้แน่น. |
ปากไม้ | น. รอยบากหรือรอยเจาะที่ตัวไม้สำหรับเอาตัวไม้นั้นประกบกัน. |
ปากไม่มีหูรูด | ว. ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด. |
ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม | ว. ยังเป็นเด็ก. |
พร้างัดปากไม่ออก | ว. นิ่ง, ไม่ค่อยพูด, พร้าคัดปากไม่ออก ก็ว่า. |
กะชะ | น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง ตั้งได้คล้ายตะกร้า รูปร่างสูงตรงขึ้นไป สำหรับบรรจุเครื่องเดินทาง เช่น ผ้าและอาหาร ปากไม่มีขอบ เพื่อบีบให้ติดกันแล้วร้อยเชือกแขวนไปบนหลังสัตว์บรรทุก เป็นต้น |
ขานกยาง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides tol (Cuvier) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวแบนข้าง เรียวเล็กกว่าปลาสละและปลาเฉียบ แต่พอ ๆ กับปลาสีเสียด ซึ่งทั้งหมดอยู่ในสกุลเดียวกัน ปากไม่กว้างนัก ท้ายขากรรไกรบนอยู่ในแนวใต้จุดศูนย์กลางของตา เกล็ดเล็กและยาวมากคล้ายเข็มฝังแน่นในหนัง เส้นข้างตัวไม่มีเกล็ดที่เป็นสันแข็ง ครีบหลังตอนแรกเป็นหนามแข็ง ๖-๗ ก้าน เรียงห่างกัน มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน อยู่หน้าครีบก้นและพับซ่อนในร่องเนื้อได้ ลำตัวสีเงินเทา มีจุดสีเทาดำอยู่ในแนวเส้นข้างตัว ๕-๘ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๔๓ เซนติเมตร. |
เครื่องสับ | น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้ว่า เรือนเครื่องสับ, คู่กับ เรือนเครื่องผูก, เรือนฝากระดาน ก็เรียก. |
ปากกริว | น. รอยปากไม้คล้ายปากกบ แต่มีรอยผ่ามุมฉากไม่ตลอดเหมือนปากกบ ผ่าแค่หมดลวดเท่านั้น. |
ไม่ใช่เล่น | ว. เก่ง, พิเศษกว่าธรรมดา, เช่น ฝีปากไม่ใช่เล่น เด็กคนนี้ซนไม่ใช่เล่น. |
เรือนเครื่องสับ | น. เรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้, คู่กับ เรือนเครื่องผูก, เรือนฝากระดาน ก็เรียก. |
สนิท | (สะหฺนิด) ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขาสนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท |
สลักเพชร | วิธีเข้าปากไม้แบบหนึ่ง บากปากไม้และเดือยเป็นรูปหางเหยี่ยว ใช้ลิ่มสอดเข้าไปที่หัวเดือยซึ่งบากไว้ เมื่อสอดเดือยเข้าไปในปากไม้แล้วตอกอัด ลิ่มจะดันให้ปลายเดือยขยายออกอัดแน่นกับปากไม้ |
หูรูด | ปากช่องทวารหนักที่กล้ามเนื้อรัดตัวเข้ามาคล้ายปากถุงที่รูด, โดยปริยายเรียกผู้ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด ว่า ปากไม่มีหูรูด. |