67 ผลลัพธ์ สำหรับ *กิตติ*
หรือค้นหา: กิตติ, -กิตติ-

NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
กิตติ(n) rumour, See also: fame, renown, report, Syn. คำเล่าลือ, คำกล่าวขวัญ, คำเลื่องลือ, Notes: (บาลี)
กิตติ(n) praise, See also: laudation, exaltation, Syn. คำสรรเสริญ, คำเยินยอ, คำชมเชย, คำยกยอ, Ant. คำตำหนิ, คำด่าว่า, คำสาปแช่ง, Notes: (บาลี)
กิตติคุณ(n) prestige, See also: fame, renown, report, Syn. ชื่อเสียง, เกียรติยศ, คำเล่าลือ, คำกล่าวขวัญ, คำเลื่องลือ, Example: ทางสมาคมประกาศกิตติคุณของเขาให้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป, Thai Definition: คุณที่เลื่องลือ
กิตติศัพท์(n) fame, See also: prestige, rumour, renown, report, Syn. ชื่อเสียง, เกียรติคุณ, เสียงสรรเสริญ, เสียงเล่าลือ, เสียงยกย่อง, Example: กิตติศัพท์ความสำเร็จของโครงการสิ่งแวดล้อมของไทยรู้กันไปทั่วโลก
กิตติมศักดิ์(adj) honorary, See also: glorious, honorable, Example: ในปีนี้ทางมหาวิทยาลัยมอบปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์แก่นายชวน หลีกภัย, Thai Definition: ยกย่องเพื่อเป็นเกียรติยศ
กิตติกรรมประกาศ(n) acknowledgement, See also: repute, recognized virtues, Example: เขาเขียนกิตติกรรมประกาศในวิทยานิพนธ์เป็นอย่างดี, Thai Definition: ข้อความที่กล่าวถึงผลงานและแสดงความขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือที่ให้ความช่วยเหลือต่างๆ มักเขียนไว้ตอนต้นของวิทยานิพนธ์
ปริญญากิตติมศักดิ์(n) honorary degree, Example: ปีนี้ทางมหาวิทยาลัยได้มอบปริญญากิตติมศักดิ์แก่ศิษย์เก่าที่ทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง, Thai Definition: ปริญญาที่ประสาทแก่ผู้ทรงวิทยาคุณ หรือผู้มีเกียรติตามที่เห็นสมควร

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กิตติ(กิดติ) น. คำเล่าลือ, คำสรรเสริญ.
กิตติกรรมประกาศน. ข้อความที่กล่าวถึงผลงานและแสดงความขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือที่ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ มักเขียนไว้ตอนต้นของวิทยานิพนธ์.
กิตติคุณน. คุณที่เลื่องลือ.
กิตติมศักดิ์(-ติมะ-) ว. ยกย่องเพื่อเป็นเกียรติยศ เช่น ปริญญากิตติมศักดิ์ สมาชิกกิตติมศักดิ์.
กิตติศัพท์น. เสียงเล่าลือ, เสียงสรรเสริญ, เสียงยกย่อง.
กิตติมศักดิ์ดู กิตติ.
กรมการนอกทำเนียบน. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการพิเศษ ก็ว่า.
กรมการพิเศษน. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการนอกทำเนียบ ก็ว่า.
กระจายนะมณฑลน. ชื่อกลบท วรรคต้นใช้อักษรสูงนำหน้า วรรคที่ ๒ ใช้อักษรกลาง วรรคที่ ๓ ใช้อักษรตํ่า ตัวอย่างว่า สมเด็จพระศิริวิบุลกิตติ์ กำจัดจากโศกวิโยคหา ค่อยตรึกตรองฉลองคุณพระชนมา (ชุมนุมตำรากลอน).
ดุริยางค์จำเรียงน. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้วรรคหนึ่งมี ๙ คำ ในแต่ละวรรคให้มีคำซ้ำ ๓ คู่ ในแต่ละคู่มีคำอื่นมาคั่นตำแหน่งละ ๑ คำ เช่น หวั่นหวั่นจิตรคิดคิดไปใจใจหวล อ่อนอ่อนท้อรอรอรวนนวลนวลสมร ท้าวท้าวแนบแอบแอบน้องย่องย่องจร เหนื่อยเหนื่อยนอนขอนขอนไม้ใต้ใต้ไทร (กลบลศิริวิบุลกิตติ์).
ตรียมก(ตฺรียะมก) น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดบังคับวรรคละ ๙ คำ วรรคหนึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ให้ใช้พยัญชนะที่มีเสียงพ้องกัน ๒ เสียงในแต่ละช่วง เช่น สิ้นอาสัญในอาศรมที่อาศรัย อนาถใจอนาโถโอ้อางขนาง พระองค์เดียวพระอับเปลี่ยวพระองค์นาง ม้วยชีพวางสิ้นชีวาตม์ขาดชีวัง (ศิริวิบุลกิตติ).
ถาวรธิราน. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง บังคับให้มีคำที่ใช้ไม้ม้วนทุกวรรค ไม่ให้มีคำที่ใช้ไม้มลาย เช่น จักกล่าวถึงมเหษีที่อยู่ใน อรัญใหญ่องค์เดียวอนาถา อนาถใจถึงองค์พระภัศดา ให้โศกาถึงบุตรสุดอาวรณ์ (ศิริวิบุลกิตติ์).
นกกางปีกน. กลอักษรแบบหนึ่ง บังคับคำซ้ำ ๑ คู่ โดยมีคำอื่นคั่นกลาง ๑ คำ ทุกวรรค มีลักษณะเหมือนนกกางปีกบิน เวลาอ่านให้อ่านคำซ้ำที่ละไว้นั้นด้วยจึงจะได้ความครบถ้วน เช่น สองกระษัตริย์ศัลย์ให้รันทด แสนกำสดสุดคิดพิไสมย ต่างองค์ทรงโศกาไลย พระภูวไนยนารถให้หวาดทรวง (ศิริวิบุลกิตติ์) อ่านว่า สองกระษัตริย์กระศัลย์ให้รันทด แสนกำสดสุดคิดสุดพิไสมย ต่างองค์ต่างทรงโศกาไลย พระภูวไนยภูวนารถให้หวาดทรวง.
นาคเกี้ยวกระหวัด, นาคบริพันธ์ ๑(นากบอริพัน) น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้ ๒ คำต้นของวรรคต่อไปซ้ำกับ ๒ คำสุดท้ายของวรรคหน้า โดยให้สลับคำกัน เช่น พระปิตุรงค์ฟังบุตรเห็นสุดห้าม ห้ามสุดความคิดบุตรเห็นสุดหาญ หาญสุดไม่หยุดยั้งจะรั้งราญ ราญรั้งนานแน่วเนตรสังเวชบุตร (ศิริวิบุลกิตติ์).
นาคราชแผลงฤทธิ์ ๑น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้วรรคหนึ่งมี ๘ คำ บังคับซ้ำเสียงพยัญชนะ ๓ คำ คือ คำท้ายวรรค (คำที่ ๖, ๗ และ ๘) กับ ๓ คำต้นวรรคถัดไป (คำที่ ๑, ๒ และ ๓) และซ้ำเสียงสระวรรคละ ๓ คู่ ในคำที่ ๓ กับ ๔ คำที่ ๕ กับ ๗ และคำที่ ๘ กับคำที่ ๑ ในวรรคถัดไป เช่น กรุงกระษัตริย์ตรัสฟังแค้นคั่งจิตร คิดแค้นใจไหวหวิดในจิตรฉงน จนฉงายกายไฉงใจร้อนรน จนร้าวราญการกระมลจิตรวนเวียน (ศิริวิบุลกิตติ์).
นารายณ์ทรงเครื่องน. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดบังคับวรรคหนึ่ง ๘ คำ แบ่งเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ โดยให้ ๒ จังหวะแรกใช้พยัญชนะเสียงซ้ำ ๒ ตัว และ ๒ จังหวะหลังใช้พยัญชนะเสียงอื่นซ้ำกัน ๒ ตัวในลักษณะเดียวกัน เช่น ข้าสาวข้าวศรีทรวดมีทรงมิ่ง นางแอบแนบอิงสุดถวิลแสนถวิล นมตั้งนั่งเต้าคลอเคล้าแคลคลิ้น ฬ่อหลาลาลินเลิศลินลาดลอย (ศิริวิบุลกิตติ์).
เบญจวรรณห้าสีน. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง บังคับเสียงพยัญชนะตัวเดียวใน ๕ คำแรกของทุกวรรค เช่น จอมจักรเจ้าแจ้งเจาะฟังเพราะพร้อง จวนจิตรจ่องจนใจสงไสยสนิท (ศิริวิบุลกิตติ์), โบราณเขียนเป็น เบญจวรรณห้าศรี ก็มี.
ปริญญาชั้นความรู้ขั้นมหาวิทยาลัยซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามที่กำหนดไว้, ถ้าประสาทแก่ผู้ทรงวิทยาคุณหรือผู้มีเกียรติตามที่เห็นสมควร เรียกว่า ปริญญากิตติมศักดิ์.
ภาษาแบบแผนน. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก.
ศรุติ(สะรุติ) น. สิ่งที่ได้ยิน, กิตติศัพท์

ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
acknowledgement๑. การตอบรับ๒. กิตติกรรมประกาศ [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
citation๑. หมายเรียกบุคคล (ของศาลหรือเจ้าพนักงาน) (ป. วิ. อาญา)๒. คำประกาศกิตติคุณ (ก. ปกครอง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Acknowledgementกิตติกรรมประกาศ [เทคโนโลยีการศึกษา]
Acknowledgementกิตติกรรมประกาศ, ประกาศคุณูปการ, Example: คำที่ผู้เขียนกล่าวขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการเขียนหนังสือ บางครั้งอาจแห่ง อาจใช้เป็น กิตติกรรมประกาศ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
emeritus professorศาสตราจารย์กิตติคุณ, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ, ตำแหน่งที่แต่งตั้งจากอาจารย์ประจำ ผู้เคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความรู้ ความสามารถและความชำนาญเป็นพิเศษ และพ้นจากตำแหน่งไปโดยไม่มีความผิด สภามหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณหรือศาสตราจารย์เกียรติคุณในสาขาวิชาที่ศาสตราจารย์นั้นมีความเชี่ยวชาญเพื่อเป็นเกียรติยศได้ <p>ศาสตราจารย์ผู้นี้อาจสอนในมหาวิทยาลัยต่อไปก็ได้ แต่ไม่ใช่ศาสตราจารย์ที่ต่ออายุราชการ บางมหาวิทยาลัยจะปรากฏชื่อศาสตราจารย์กิตติคุณหรือศาสตราจารย์เกียรติคุณแยก จากศาสตราจารย์ธรรมดาในคู่มือการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา <p>การเรียกชื่อศาสตาราจารย์กิตติคุณหรือศาสตราจารย์เกียรติคุณนั้นขึ้นอยู่กับ พระราชบัญญัติของแต่ละมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกว่า ศาสตราจารย์กิตติคุณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกว่า ศาสตราจารย์เกียรติคุณ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
Classes of Consulsเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ กงสุลอาชีพ (Consules de Carriere) กับกงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consuls) กงสุลอาชีพเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง และจะประจำทำงานเต็มเวลาในที่ทำการทางกงสุล ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์นั้นไม่มีฐานะเป็นกงสุลอาชีพ โดยมากเป็นนักธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งจะประจำทำงานเพียงส่วนหนึ่งของวัน (ไม่ใช่เต็มวัน) ในสถานที่ทำการทางกงสุลของตน และอาจจะเป็นคนชาติของรัฐที่เขาเป็นตัวแทนอยู่ หรือไม่เป็นคนชาติของรัฐนั้นก็ได้ ความแตกต่างอื่นๆ ระหว่างกงสุลอาชีพกับกงสุลกิตติมศักดิ์ มีดังนี้1. กงสุลอาชีพจะได้รับเงินเดือนประจำ แต่กงสุลกิตติมศักดิ์ไม่มีเงินเดือน2. กงสุลอาชีพมีตำแหน่งหน้าที่ถาวร ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์มีตำแหน่งว่าจ้างเพียงชั่วคราว 3. ส่วนมากกงสุลอาชีพจะต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมหรือมีประสบการณ์มาก่อน ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์ไม่ต้องเป็นเช่นนั้น4. กงสุลอาชีพมีสิทธิได้รับความคุ้มกัน (immunities) และการยกเว้นต่าง ๆ มากกว่ากงสุลกิตติมศักดิ์สำหรับบุคคลที่เป็นหัวหน้าในที่ทำการทางกงสุลนั้น มีตำแหน่งตามลำดับชั้น คือ1) กงสุลใหญ่ (Consuls-general)2) กงสุล (Consuls)3) รองกงสุล (Vice-consuls) [การทูต]
Conference of Honorary Consuls-General of Thailandการประชุมกงสุลกิตติมศักดิ์ไทย [การทูต]
Consular Officeบุคคลรวมทั้งหัวหน้าของที่ทำการทางกงสุล ซี่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในฐานะกงสุลโดยได้รับ ภาระหน้าที่ทางกงสุล เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลมีอยู่ 2 ประเภทคือ 1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลอาชีพ (Career Consular Office)2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consular Office) [การทูต]
Honorary Consulกงสุลกิตติมศักดิ์ " ได้แก่ บุคคลในท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและมอบหมายให้ดูแล ส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศและคนชาติในพื้นที่ในเขตอาณา และดำเนินการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแก่บุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศที่ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นผู้แทน การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ และต้องยื่นสัญญาบัตร และได้รับอนุมัติบัตรเช่นเดียวกับผู้แทนฝ่ายกงสุลอาชีพ (career consular officer) ทั้งนี้ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลเขตอาณาที่ครอบคลุมพื้นที่ กว้างกว่าและสำคัญกว่า ในส่วนของไทย กงสุลกิตติมศักดิ์แตกต่างจากกงสุลอาชีพใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) กงสุลกิตติมศักดิ์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเป็นผู้นำที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับไทย (2) กงสุลกิตติมศักดิ์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสำนักงาน ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ทั้งหมด (3) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุลน้อยกว่ากงสุลอาชีพ ในการปฏิบัติงานของกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยจะมีคู่มือกงสุลกิตติมศักดิ์ เป็นระเบียบกฎเกณฑ์และข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงาน " [การทูต]

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
กิตติคุณ[kittikhun] (n) EN: glory ; good name
กิตติมศักดิ์[kittimasak] (adj) EN: honorary  FR: honoraire
กิตติศัพท์[kittisap] (n) EN: fame ; prestige ; rumour ; renown ; repute ; report  FR: rumeur [ bruit ] ; bruit [ m ]
ปริญญากิตติมศักดิ์[parinyā kittimasak] (n, exp) EN: honorary degree
ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[rātchabandit kittimassak] (n, exp) EN: Honorary Member  FR: membre honoraire de l'Institut Royal (de Thaïlande) [ m ]
ศาสตราจารย์กิตติคุณ[sāttrājān kittikhun] (n, exp) EN: professor emeritus

Longdo Approved EN-TH
honorary(adj) ซึ่งแสดงถึงเกียรติยศ, เป็นเกียรติ, เป็นเกียรติยศ, เกี่ยวกับกิตติมศักดิ์
emeritus(adj, n) กิตติคุณ เป็นตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยมอบให้แก่บุคลากรอาวุโสที่เกษียณอายุแล้ว โดยเป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เช่น president emeritus อธิการบดีกิตติคุณ, professor emeritus ศาสตราจารย์กิตติคุณ

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
fame(n) ชื่อเสียง, See also: กิตติศัพท์, ความเลื่องลือ, Syn. renown, repute, reputation, Ant. lowliness, oblivion, unimportance
honorary(adj) ซึ่งให้เพื่อเป็นเกียรติ, See also: โดยกิตติมศักดิ์, โดยเกียรติยศ
honorary degree(n) ปริญญากิตติมศักดิ์
odour(n) กิตติศัพท์, Syn. repute
renown(n) ชื่อเสียง, See also: กิตติศัพท์, Syn. fame, repute
report(n) ชื่อเสียง, See also: ความเลื่องลือ, ความโด่งดัง, กิตติศัพท์, Syn. repute
reputation(n) ชื่อเสียง, See also: ความเลื่องลือ, กิตติศัพท์, ความนับหน้าถือตา, Syn. credit, prestige

Hope Dictionary
fame(เฟม) n. ชื่อเสียง, กิตติศัพท์, เกียรติยศ, เกียรติคุณ, ศักดิ์ศรี, ข่าวลือ, การเล่าลือ. vt. ทำให้มีชี่อเสียง, เลื่องลือ.
honorary(ออน'นะระรี) adj. เป็นเกียรติ, เป็นเกียรติยศ, เกี่ยวกับกิตติมศักดิ์
honourary(ออน'นะระรี) adj. เป็นเกียรติ, เป็นเกียรติยศ, เกี่ยวกับกิตติมศักดิ์
renown(รีเนานฺ') n. ชื่อเสียง, กิตติศัพท์, เกียรติคุณ, Syn. fame, repute, celebrity
renowned(รีเนาดฺ') adj. มีชื่อเสียง, มีกิตติ-ศัพท์เลื่องลือ, มีเกียรติคุณ
reputation(เรพพิวเท'เชิน) n. ชื่อเสียง, กิตติ-ศัพท์, ความโด่งดัง, ความมีหน้ามีตา, Syn. good name
repute(รีพิวทฺ') n. ชื่อเสียง, กิตติศัพท์, ความโด่งดัง vt. มีชื่อว่า, ขนานนามว่า, ถือว่า

Nontri Dictionary
fame(n) กิตติศัพท์, ชื่อเสียง, เกียรติศักดิ์, ศักดิ์ศรี
honorary(adj) กิตติมศักดิ์, ให้เป็นพิเศษ, เป็นเกียรติ
renown(n) กิตติศัพท์, ชื่อเสียง, เกียรติคุณ
renowned(adj) เป็นที่เลื่องลือ, มีชื่อเสียง, มีกิตติศัพท์
report(n) กิตติศัพท์, รายงาน, ข่าวลือ, บันทึก, ชื่อเสียง, คำประกาศ
reputation(n) ชื่อเสียง, ความดัง, กิตติศัพท์, ความมีหน้ามีตา, ความเลื่องลือ
repute(n) ชื่อเสียง, ความดัง, กิตติศัพท์, ความมีหน้ามีตา, ความเลื่องลือ
rumour(n) ข่าวลือ, ข่าวโคมลอย, กิตติศัพท์, เรื่องโจษจัน

Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Honorary citizenพลเมืองกิตติมศักดิ์

Time: 0.4739 secondsLongdo Dict -- https://dict.longdo.com/