กระชาย | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ในวงศ์ Zingiberaceae สูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเป็นหัวกลม ๆ มีรากสะสมอาหาร ซึ่งเรียวยาว อวบนํ้า ออกเป็นกระจุก ใช้เป็นผักและเป็นเครื่องปรุงประกอบอาหาร, พายัพเรียก กะแอน หรือ ละแอน. |
กฤตติกา | (กฺริดติ-) น. ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวง เห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม มีหางเรียวยาว, ดาวธงสามเหลี่ยม ดาวลูกไก่ ดาวกฤติกา หรือ ดาวกัตติกา ก็เรียก. |
กฤติกา | (กฺริดติ-) น. ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวง เห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม มีหางเรียวยาว เช่น หมู่สามสมมุติ์กุกกุฏโบ- ดกกฤติกาขาน (สรรพสิทธิ์), ดาวธงสามเหลี่ยม ดาวลูกไก่ ดาวกฤตติกา หรือ ดาวกัตติกา ก็เรียก. |
กะรัง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางและขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Epinephelus, Cephalopholis และ Plectopomus วงศ์ Serranidae หัวโต รูปร่างป้อม เรียวยาวไปทางหาง แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคลํ้าทึบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด พบอาศัยอยู่ตามบริเวณหมู่ปะการัง โขดหินใกล้ฝั่งหรือเกาะ. |
กัตติกา | (กัด-) น. ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวง เห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม มีหางเรียวยาว, ดาวธงสามเหลี่ยม ดาวลูกไก่ ดาวกฤติกา หรือ ดาวกฤตติกา ก็เรียก. |
การบูรป่า | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Adenosma indiana (Lour.) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ขึ้นตามป่าเต็งรัง ต้นสูงประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ขอบใบจักถี่ ใบมีกลิ่นคล้ายกลิ่นใบกะเพรา โหระพา แต่อ่อนกว่า ดอกเล็กสีม่วง ออกเป็นช่อเรียวยาวตามง่ามใบและที่ปลายยอด, กระต่ายจาม ข้าวคำ หรือ พริกกระต่าย ก็เรียก. |
โกงกาง | น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Rhizophora วงศ์ Rhizophoraceae ขึ้นตามป่าเลนชายทะเล นิยมใช้ทำฟืนและเผาถ่านกันมาก เมล็ดงอกตั้งแต่อยู่บนต้น ลักษณะเรียวยาวคล้ายฝัก มี ๒ ชนิด คือ โกงกางใบใหญ่หรือกงกอน ( R. mucronata Poir.) และโกงกางใบเล็ก ( R. apiculata Blume) ชนิดนี้นิยมใช้ทำฟืนและเผาถ่านกันมาก, พังกา ก็เรียก. |
เข็ม ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Dermogenys pusillus van Hasselt ในวงศ์ Hemiramphidae ปากล่างยื่นยาวแหลม ลำตัวกลมเรียวยาวคล้ายเข็ม ขอบหางกลม ขนาดยาวได้ถึง ๘ เซนติเมตร ออกลูกเป็นตัว พบว่ายตามผิวนํ้าในแหล่งนํ้านิ่งทั่วไป. |
เขียว ๓ | น. ชื่องูสีเขียวหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ เช่น เขียวพระอินทร์ ( Chrysopelea ornata Shaw) ในวงศ์ Colubridae ลำตัวเรียวยาว อาศัยตามต้นไม้และชายคาบ้านเรือน ออกหากินเวลากลางวัน มีพิษอ่อนมาก, เขียวหางไหม้ท้องเหลือง ( Trimeresurus albolabris Gray) ในวงศ์ Viperidae ลำตัวอ้วนสั้น หางแดง ออกหากินเวลากลางคืน มีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย. |
งู | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานอันดับย่อย Serpentes ในอันดับ Squamata หัวไม่มีรูเปิดสำหรับฟังเสียง ลำตัวเรียวยาว มีเกล็ด ไม่มีขา มีทั้งชนิดที่มีพิษและไม่มีพิษ ที่มีพิษ เช่น งูเห่าไทย ( Naja kaouthia Lesson) ที่ไม่มีพิษ เช่น งูเหลือม [ Python reticulatus (Schneider) ]. |
จิ้งเหลนด้วง ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งเหลนที่ไม่มีขาหรืออาจมีร่องรอยของขาคู่หลังเหลืออยู่เล็กน้อย ในวงศ์ Dibamidae และวงศ์ Scincidae ลำตัวเรียวยาว ขนาดยาวตั้งแต่ ๗-๒๕ เซนติเมตร เกล็ดลำตัวเรียบ อาศัยอยู่ใต้ผิวดินที่ร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายซึ่งมีซากผุพังของพืชปกคลุม, ในวงศ์ Dibamidae เฉพาะเพศผู้มีร่องรอยของขาคู่หลังเป็นแผ่นแบนให้เห็นเล็กน้อย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ จิ้งเหลนด้วงสีม่วง ( Dibamus alfrediTaylor) ซึ่งพบทางภาคใต้ และจิ้งเหลนด้วงสมศักดิ์ ( D. somsakiHonda, Nabhitabhata, Ota & Hikida) ซึ่งพบที่เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ส่วนในวงศ์ Scincidae ไม่มีขาทั้งเพศผู้และเพศเมีย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ชนิด Isopachys anguinoides (Boulenger) พบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ชนิด I. roulei (Angel) พบที่จังหวัดชลบุรี, ชนิด I. gydenstolpeiLönnberg และ I. borealisLang & Bohme พบทางภาคตะวันตก ชนิด Davewakeum miriamaeHeyer พบที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. |
ชะลูด ๑ | ว. เรียวยาวสูงขึ้นไป เช่น สูงชะลูด. |
แซงแซว | น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Dicruridae ตาสีแดง ขนสีดำหรือเทาเป็นมัน หางเรียวยาว เว้าตื้นหรือเว้าลึก กินแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น แซงแซวหางปลา[ Dicrurus macrocercus (Vieillot) ] แซงแซวสีเทา ( D. leucophaeus Vieillot), ชนิดที่มีขนหาง ๑ คู่ เป็นก้านยาวออกไป ตรงปลายแผ่ออกเป็นแผงขน มี ๒ ชนิด เรียกกันทั่วไปว่า แซงแซวหางบ่วง คือ แซงแซวหางบ่วงใหญ่ [ D. paradiseus (Linn.) ] และแซงแซวหางบ่วงเล็ก [ D. remifer (Temminck) ], เรียกสิ่งเช่นธงที่มีรูปเป็นแฉกเหมือนหางนกแซงแซว ว่า ธงหางแซงแซว. |
ดาบ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลที่มีลำตัวเรียวยาว แบนข้าง สีเทาเงิน เช่น ดาบเงิน ดาบลาว. |
ตะโขง | น. ชื่อจระเข้ชนิด Tomistoma schlegelii Müller ในวงศ์ Crocodylidae ขนาดใหญ่กว่าจระเข้ทั่วไป ปากเล็กเรียวยาวคล้ายปากปลากระทุงเหวแต่งอนขึ้นด้านบนเล็กน้อย ตัวสีนํ้าตาลแดงมีลายสีนํ้าตาลเข้ม หางแบนใหญ่ใช้ว่ายนํ้า อาศัยตามป่าเลนชายนํ้ากร่อย ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น, จระเข้ปากกระทุงเหว ก็เรียก. |
ตะพาก | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดกลาง รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีหลายชนิด ในสกุล Hypsibarbusวงศ์ Cyprinidae ลำตัวเรียวยาวแบนข้าง แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกัน บางชนิดสีเหลืองทอง บางชนิดสีเงินอมเขียว มีหนวด ๔ เส้น เกล็ดด้านข้างและด้านบนหลังมีฐานเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ครีบอกและครีบท้องมักมีสีเหลืองปลายครีบสีส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด H. malcolmi (H.M. Smith) ลำตัวสีเหลืองทอง, ชนิด H. wetmorei (H.M. Smith) ลำตัวสีเงินอมเขียว, ชนิด H. pierrei (Sauvage) ลำตัวสีเทาเงิน, กระพาก ก็เรียก. |
ตะเพียน | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวแบนข้าง มีทั้งลำตัวสั้นกว้าง และลำตัวเรียวยาว เกล็ดมีสีขาวเงินหรือเหลืองทอง ขอบเรียบ มักมีหนวดสั้น ๒-๔ เส้น ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร ชนิดที่มีลำตัวสั้นกว้าง เช่น ตะเพียนขาว [ Barbonymus gonionotus (Bleeker) ] ตะเพียนทอง [ B. altus (Günther) ] ตะเพียนหางแดงหรือกระแห [ B. schwanenfeldi (Bleeker) ] ส่วนชนิดที่มีลำตัวเรียวยาว เช่น ตะเพียนทราย [ Puntius leiacanthus (Bleeker) ]. |
ตาเหลือก ๒ | ชื่อปลาทะเล ๒ ชนิด ตาโตเหลือกขึ้น ปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกขากรรไกรล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง ๑ ชิ้น ลำตัวค่อนข้างเรียว แบนข้าง ได้แก่ ตาเหลือกสั้น [ Megalops cyprinoides (Broussonet) ] ในวงศ์ Megalopidae ขนาดยาวได้ถึง ๕๘ เซนติเมตร เกล็ดใหญ่ มีก้านครีบหลังอันสุดท้ายยื่นยาวเป็นเส้น และตาเหลือกยาว [ Elops hawaiensis (Regan) ] ในวงศ์ Elopidae ลำตัวเรียวยาวกว่าชนิดแรก ขนาดยาวได้ถึง ๖๐ เซนติเมตร. |
บุหรี่พระราม | น. ชื่อไม้เถาชนิด Neoalsomitra sarcophylla (Wall.) Hutch. ในวงศ์ Cucurbitaceae มีมือเกาะ ดอกเป็นช่อ ออกตามง่ามใบ กลีบดอกติดกันเป็นรูปปากแตรบาน ๆ ผลเรียวยาวคล้ายกระบองกลมหรือเป็นสามเหลี่ยม เวลาแก่ผลจะแตกที่ปลายเป็น ๓ ช่อง เมล็ดสีดำ แบน มีปีกบาง ๆ ที่ปลาย. |
ปากจิ้งจก ๒ | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด Ahaetulla prasina (Boie) ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๓ เมตร หัวและลำตัวเรียวยาว มีหลายสี ส่วนมากสีเขียวปลายหางสีนํ้าตาลแดง มักพบอาศัยบนต้นไม้ หากินเวลากลางวัน ส่วนใหญ่กินกิ้งก่า พบทั่วประเทศไทย มีพิษอ่อนมาก, บางครั้งเรียกชื่อตามสี เช่น ตัวสีส้มเรียก งูง่วงกลางดง ตัวสีเทาเรียก งูกล่อมนางนอน, เขียวหัวจิ้งจก เชือกกล้วย รากกล้วย หรือ แห้ว ก็เรียก. |
พริก ๓ | (พฺริก) น. ชื่องูพิษขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในสกุล Maticora วงศ์ Elapidae ลำตัวเรียวยาว ตากลมเล็กสีดำ มีเส้นสีขาวพาดตามความยาวลำตัว มักพบซ่อนตัวอยู่ใต้ก้อนหินหรือขอนไม้ กินงู กิ้งก่า กบ เขียด ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิด คือ พริกท้องแดง [ M. bivirgata (Boie) ] ตัวสีน้ำเงินเข้ม หัว ท้อง และหางสีแดงสด ยาวประมาณ ๑.๔ เมตร และพริกสีนํ้าตาล [ M. intestinalis (Laurenti) ] ตัวสีน้ำตาล หัวสีน้ำตาลส้ม ท้องมีลายเป็นปล้องสีดำสลับขาว ใต้หางมีสีแดงเรื่อ ๆ ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ทั้ง ๒ ชนิดพบทางภาคใต้ของประเทศไทย. |
พะยูน | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Dugong dugon (Müller) ในวงศ์ Dugongidae ลำตัวอ้วนกลม เรียวยาวไปทางหาง มีขนเฉพาะที่บริเวณใกล้ปาก รยางค์คู่หน้าเป็นแผ่นคล้ายใบพายไม่เห็นเป็นนิ้ว รยางค์คู่หลังไม่โผล่ให้เห็น หางเป็นแฉกแผ่กว้างแบนลง ตัวอาจยาวได้ถึง ๓ เมตร สีเทาดำแกมฟ้า อาศัยอยู่ในทะเลชายฝั่ง กินพืชนํ้าพวกหญ้าทะเล เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง, เงือก วัวทะเล หมูนํ้า หรือ ดูกอง ก็เรียก. |
ม้าน้ำ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Hippocampus วงศ์ Syngnathidae ลำตัวหนา หัวพับเข้าหาลำตัว ปากเป็นท่อยาว ทำให้ส่วนหัวดูคล้ายม้า ส่วนหางเรียวยาว ม้วนได้ ไม่มีครีบหาง ครีบหลังอยู่ตรงข้ามครีบก้นที่มีขนาดเล็กมาก มีครีบอกแต่ไม่มีครีบท้อง ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นปล้องตลอดทั้งตัวสีนํ้าตาล บางชนิดคาดด้วยแถบสีเข้มกว่าหรือมีจุดสีดำที่บางส่วนของลำตัว พบอาศัยตามแนวหินปะการังและสาหร่ายทะเล โดยทรงตัวในแนวตั้งและอาจใช้ส่วนหางพันยึดวัตถุใต้นํ้า หลังผสมพันธุ์ ตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่ซึ่งเก็บไว้ในถุงหน้าท้อง ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร. |
แวววิเชียร | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Angelonia goyazensis Benth. ในวงศ์ Scrophulariaceae ใบเรียวยาว ดอกออกตามง่ามใบ มีสีต่าง ๆ เช่น ม่วงแก่ ม่วงสลับขาว ชมพู ขาว ใบและดอกมีกลิ่น. |
สลิด ๑ | (สะหฺลิด) น. ชื่อไม้เถาชนิด Telosma minor Craib Regan ในวงศ์ Belontiidae ใบมนป้อม ผลเรียวยาว ดอกสีเขียวอมเหลือง กลิ่นหอม กินได้, ขจร ก็เรียก. |
สายยู ๒ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Platytropius siamensis (Sauvage) ในวงศ์ Schilbeidae ลำตัวเรียวยาว ไม่มีเกล็ด มีหนวดลักษณะแบนบิดและยาวมาก ๔ คู่ อยู่ที่จมูก ขากรรไกรบน ขากรรไกรล่างและคาง, เกด ก็เรียก. |
เส้ง | น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Sterculiaceae คือ ชนิด Pentapetes phoenicea L. ใบเรียวยาว ดอกสีแดงคลํ้า, บานเที่ยง ก็เรียก และชนิด Melochia corchorifolia L. ดอกสีชมพูอ่อน, เส้งเล็ก ก็เรียก. |
เส้นด้าย | น. ชื่อพยาธิชนิด Enterobius vermicularis (Linn.) ในวงศ์ Oxyuridae ลำตัวเรียวยาว สีขาวหม่น ตัวผู้ยาว ๒-๕ มิลลิเมตร ตัวเมียยาว ๘-๑๓ มิลลิเมตร หางแหลม ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์และลิงชิมแปนซี พบมากในเด็ก, เข็มหมุด ก็เรียก. |
แส้ม้า ๒ | น. ชื่อพยาธิตัวกลม ในวงศ์ Trichuridae ส่วนหัวและลำตัวบางเรียวยาวคล้ายเส้นผม ส่วนท้ายหนา ลักษณะคล้ายแส้ตีม้า ตัวสีขาว ยาวประมาณ ๕ เซนติเมตร อาศัยดูดกินเลือดในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์และสัตว์ เช่น ชนิด Trichuris trichiura (Linn.). |
เหลือม | (เหฺลือม) น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด Python reticulates (Schneider) ในวงศ์ Pythonidae ตัวโตเรียวยาว ลายสีนํ้าตาลเหลือง ยาวได้ถึง ๑๐ เมตร ที่กลางหัวมีเส้นสีดำซึ่งมักเรียกว่า ศรดำ ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ เป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก. |
อินทรี ๒ | (-ซี) น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่ทุกชนิดในสกุล Scomberomorus วงศ์ Scombridae ลำตัวแบนข้างเรียวยาว คอดหางเล็กมีสันเนื้อ ๓ แนวอยู่ที่โคนหาง หัวแหลม ปากกว้าง ปลายขากรรไกรบนและล่างยาวเสมอกัน เกล็ดเป็นแบบเกล็ดเรียบมีขนาดเล็กมาก ด้านหลังมีสีเทาดำอมฟ้าหรือน้ำเงิน ด้านท้องมีสีเงิน ข้างลำตัวมีลวดลายเป็นสีดำคล้ำแตกต่างกันชัดเจนระหว่างชนิดและเป็นที่มาของชื่อ คือ อินทรีบั้ง [ S. commerson (Lacepède) ] อินทรีจุด [ S. guttatus (Bloch & Schneider) ] อินทรีแท่งหรืออินทรีแท่งดินสอ [ S. lineolatus Cuvier ]. |
อีเห็น | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ลำตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ออกหากินในเวลากลางคืน มีต่อมกลิ่นที่ก้นทำให้ตัวมีกลิ่นแรง กินสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น อีเห็นลายจุด [ Paradoxurus hermaphroditus (Pallas) ] อีเห็นหน้าขาว [ Paguma larvata (Hamitton-Smith) ] อีเห็นหูขาว [ Arctogalidia trivirgata (Gray) ], ปักษ์ใต้เรียก มดสัง มุดสัง หรือ มูสัง. |