Electrolytes | อิเล็กทรอลัยท์, อีเล็กโตรลัยต์, อิเล็กโตรไลต์, สาร, สารอีเลคโตรไลท์, สารละลายอิเล็กทรอไลต์, สารอีเลคโตรลัยท์, อีเล็คโตรลัยต, อีเล็คโทรไลท์, อีเลคโตรไลท์, อีเล็คโตรไลท์, สารอีเล็คโตรไลท์, อีเล็คโตรไลท์, เกลือแร่, สารละลาย, อิเล็กโทรไลต์, อีเลคโตรลัยท์, อิเล็คโทรไลท์, เกลืออีเลคโทรไลท์ [การแพทย์] |
ion migration | การเคลื่อนที่ของไอออน, การที่ไอออนในอิเล็กโทรไลต์เคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าซึ่งมีประจุชนิดตรงกันข้ามกับไอออน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electroplating | การชุบด้วยไฟฟ้า, กระบวนการอิเล็กโทรลิซิสซึ่งทำให้โลหะที่ต้องการไปฉาบติดพื้นผิวนอกของโลหะที่จะชุบ โดยให้โลหะที่ใช้ฉาบเป็นแอโนด โลหะที่จะชุบเป็นแคโทด และมีสารละลายซึ่งมีไอออนของโลหะที่ใช้ฉาบเป็นอิเล็กโทรไลต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electrode | ขั้วไฟฟ้า, ตัวนำไฟฟ้าที่จุ่มอยู่ในอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งจะเป็นส่วนที่เกิดปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ไฟฟ้าเคมีหรือเซลล์อิเล็กโทรไลต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
positive electrode | ขั้วบวก, แอโนดของเซลล์อิเล็กโทรไลต์ หรือแคโทดของเซลล์ไฟฟ้าเคมี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
negative electrode | ขั้วลบ, แคโทดของเซลล์อิเล็กโทรไลต์หรือแอโนดของเซลล์ไฟฟ้าเคมี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cathode | แคโทด, 1. ขั้วไฟฟ้าที่มีปฏิกิริยารีดักชันเกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้วไฟฟ้าบวกในเซลล์กัลวานิก หรือเป็นขั้วไฟฟ้าลบในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ 2. ขั้วไฟฟ้าที่อยู่ในหลอดสุญญากาศ เช่น หลอดวิทยุ ไดโอด ทำหน้าที่เป็นตัวให้อิเล็กตรอนไหลผ่านและอิเล็กตรอนเหล่านี้จะเคลื่อนที่ไปยังแอโนด แ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electrochemical cell [ cell ] | เซลล์ไฟฟ้าเคมี, ระบบที่ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วจุ่มอยู่ในอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งเมื่อเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์จะให้พลังงานไฟฟ้าออกมา เซลล์ไฟฟ้าเคมีแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เซลล์ไฟฟ้าปฐมภูมิและเซลล์ไฟฟ้าทุติยภูมิ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
storage cell | เซลล์สะสมไฟฟ้า, เซลล์ไฟฟ้าเคมีแบบทุติยภูมิชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กันแพร่หลายก็คือ เซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่ว ซึ่งมีตะกั่วเป็นขั้วไฟฟ้าและสารละลายกรดซัลฟิวริกเป็นอิเล็กโทรไลต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electrolytic cell | เซลล์อิเล็กโทรไลต์, อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วจุ่มอยู่ในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ จะเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ก็ต่อเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้าจากภายนอกเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คืออุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสนั่นเอง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
salt bridge | สะพานเกลือ, ส่วนประกอบของเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่เชื่อมอิเล็กโทรไลต์ของครึ่งเซลล์ทั้งสองและเป็นทางผ่านของไอออน อาจทำจากสารละลายอิ่มตัวของ KNO3, KCl หรือ NH4NO3 อย่างใดอย่างหนึ่ง ผสมรวมกับวุ้นขณะร้อนแล้วบรรจุไว้ในหลอดแก้วรูปตัวยู เมื่อวุ้นแข็งตัวก็นำมาใช้ได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
non-electrolyte | สารที่ไม่เป็นอิเล็กโทรไลต์, สารที่ไม่แตกตัวเป็นไอออนเมื่อหลอมเหลวหรือเป็นสารละลาย กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไม่ได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electrolyte | อิเล็กโทรไลต์, สารละลายหรือของเหลวที่แตกตัวเป็นไออนได้บางส่วน หรือทั้งหมด และยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
lead storage cell | เซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่ว, เซลล์ไฟฟ้าทุติยภูมิชนิดหนึ่ง ใช้แผ่นตะกั่วไดออกไซด์เป็นขั้วบวก แผ่นตะกั่วเป็นขั้วลบ และสารละลายกรดซัลฟิวริกเป็นอิเล็กโทรไลต์ เมื่อประกอบเข้าเป็นเซลล์ไฟฟ้าแล้ว ต้องนำไปประจุไฟฟ้าก่อนจึงจะมีพลังงานไฟฟ้าจ่ายออกมาจากเซลล์ไฟฟ้า และเมื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าหมดแล้วก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
anode | แอโนด, 1. ขั้วไฟฟ้าที่มีปฏิกิริยาออกซิเดชันเกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้วไฟฟ้าลบในเซลล์กัลวานิก หรือเป็นขั้วไฟฟ้าบวกในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ 2. ขั้วไฟฟ้าซึ่งเป็นตัวรับอิเล็กตรอนที่เกิดขึ้นภายในระบบ เช่น หลอดวิทยุชนิดไดโอดเป็นขั้วซึ่งมีศักย์ไฟฟ้าบวกเมื่อเทียบกับแคโทด เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
half cell | ครึ่งเซลล์, ส่วนหนึ่งของเซลล์ไฟฟ้าเคมี ซึ่งประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าขั้วหนึ่งจุ่มในอิเล็กโทรไลต์ ตัวอย่างเช่น โลหะทองแดงจุ่มอยู่ในสารละลาย CuSO4 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |