กบบัว | น. ชื่อกบขนาดเล็กชนิด Rana erythraea (Schlegel) ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียวมีแถบสีขาวพาดตามยาวลำตัว อาศัยอยู่ตามกอบัว จึงมีผู้เรียกว่า เขียดบัว และร้องเสียง “จิ๊ก ๆ ” บางครั้งจึงเรียกว่า เขียดจิก. |
กระจิบ ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Sylviidae ปากเล็กบาง ปลายแหลมตรง ขายาวเรียวเล็ก ร้องเสียงคล้าย “จิบ ๆ ” กินแมลง มีหลายชนิด เช่น กระจิบธรรมดาหรือกระจิบหางยาว [ Orthotomus sutorius (Pennant) ] กระจิบคอดำ ( O. atrogularis Temminck) กระจิบหัวแดง ( O. sepiumHorsfield). |
กระแตแต้แว้ด ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Vanellus indicus (Boddaert) วงศ์ย่อย Charadriinae ในวงศ์ Charadriidae ปากยาว หัวสีดำ ขนบริเวณหูสีขาว มีติ่งเนื้อสีแดงพาดระหว่างตาผ่านหน้าผาก ขายาวสีเหลือง วางไข่ในแอ่งตื้น ๆ บนพื้นดิน กินแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก ร้องเสียงแตแต้แว้ด, กระต้อยตีวิด ต้อยตีวิด หรือ แต้แว้ด ก็เรียก. |
กรีด ๔ | (กฺรีด) ว. อาการที่ร้องเสียงแหลม. ก. ร้องเสียงแหลม เช่น กรีดร้อง กรีดเสียง. |
กวัก ๑ | (กฺวัก) น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Amaurornis phoenicurus (Pennant) ในวงศ์ Rallidae ลำตัวสั้น รูปร่างป้อม ขาและนิ้วยาว หน้าผากและด้านล่างลำตัวสีขาว อาศัยอยู่ตามหนองนํ้า เดินหากินบนพื้นดินหรือบนใบพืชนํ้า เช่น บัว จอก แหน ขณะเดินหางมักกระดกขึ้นกระดกลง ในตอนเช้าหรือพลบคํ่าร้องเสียงดัง “กวัก ๆ ”. |
กะปูด | น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Cuculidae ปากแหลมสั้นหนา ตาสีแดง ลำตัวเพรียว หัว คอ และลำตัวมีขนสีดำ ปีกสั้นสีน้ำตาลแดง หากินตามพื้นป่าโปร่ง บินได้ในระยะสั้น ๆ ร้องเสียง “ปูด ๆ ” มี ๓ ชนิด คือ กะปูดใหญ่ [ Centropus sinensis (Stephens) ] กะปูดเล็ก [ C. bengalensis (Gmelin) ] และกะปูดนิ้วสั้น ( C. rectunguisStrickland), ปูด หรือ กระปูด ก็เรียก, พายัพเรียก ก้นปูด. |
กา ๑ | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Corvus macrorhynchos Wagler วงศ์ย่อย Corvinae ในวงศ์ Corvidae ปากใหญ่หนาแบนข้าง ตาสีดำ ตัวสีดำ ร้องเสียง “กา ๆ ”, อีกา ก็เรียก |
คราง ๑ | ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่ (นิ. นรินทร์). |
ค้อนทอง | น. ชื่อนกร้องเสียงดังกุ๊ก ๆ. |
คีรีบูน | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Fringillidae เป็นนกที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ปากสั้นหนาแข็งแรง ลำตัวอ้วนป้อม คล้ายนกจาบปีกอ่อน ขนลำตัวมีหลายสี ขาค่อนข้างยาวบอบบาง กินเมล็ดพืช ถิ่นกำเนิดส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น เช่น ทวีปยุโรป ตอนเหนือของทวีปเอเชีย นิยมเลี้ยงในกรง ร้องเสียงไพเราะ เช่น ชนิดสีเหลือง [ Serinus pusillus (Pallas) ]. |
เงือก ๓ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Bucerotidae ปากใหญ่ บนส่วนท้ายของขากรรไกรบนมีโหนกแข็ง ส่วนใหญ่ภายในโหนกแข็งกลวง ยกเว้นบางชนิดมีโหนกแข็งตัน เช่น นกชนหิน ส่วนใหญ่ลำตัวสีดำ นอกฤดูผสมพันธุ์อยู่รวมกันเป็นฝูง ขณะบินมีเสียงดัง ระยะเริ่มตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหาร ดิน และมูลปิดปากโพรงด้านใน ตัวผู้ใช้วัสดุเดียวกันปิดปากโพรงทางด้านนอก เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหาอาหารมาป้อนให้ขณะที่ตัวเมียฟักไข่และเลี้ยงลูกได้ ร้องเสียงดังมาก กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น เงือกกรามช้าง [ Rhyticeros undulatus (Shaw) ] เงือกหัวแรด ( Buceros rhinoceros Linn.) เงือกสีน้ำตาล [ Ptilolaemus tickelli (Blyth) ] เงือกดำ [ Anthracoceros malayanus (Raffles) ]. |
ชะนี ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่ม เดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ ร้องเสียงดัง แสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว [ Hylobates lar (Linn.) ] ขนลำตัวสีดำหรือนํ้าตาล ชะนีหัวมงกุฎหรือชะนีมงกุฎ ( H. pileatusGray) ขนตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีเทา และชะนีมือดำหรือชะนีคิ้วขาว ( H. agilisF. Cuvier) ขนลำตัวสีดำ นํ้าตาล หรือเทา. |
ตี่ ๑ | น. การเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น โดยขีดเส้นแบ่งเขตระหว่างผู้เล่น ๒ ฝ่าย และจำกัดเขตด้านกว้างและด้านหลังด้วย ผู้เล่นแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย จำนวนเท่า ๆ กัน คนตี่จะวิ่งออกจากเส้นแบ่งเขตโดยกลั้นใจร้องเสียง “ตี่” ตลอดเวลาที่เข้าไปอยู่ในเขตตรงข้าม พยายามใช้มือฟันฝ่ายตรงข้ามให้มากที่สุด และพยายามวิ่งกลับเข้าเขตของตนให้ได้ ฝ่ายตรงข้ามก็ต้องพยายามไม่ให้ถูกฟัน และหาโอกาสจับคนตี่ไว้มิให้กลับไปได้, ตี่จับ หรือ ตี่เสียง ก็เรียก. |
ตีทอง | น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Megalaima haemacephala (Müller) ในวงศ์ Megalaimidae เป็นนกโพระดกที่เล็กที่สุด ตัวสีเขียว คอสีเหลือง อกสีแดง หน้าผากสีแดง วงรอบเบ้าตาสีเหลือง ทำรังในโพรงไม้ กินผลไม้ขนาดเล็ก เช่น ลูกไทร ลูกหว้า มักเกาะตามกิ่งไม้แห้งในที่สูง ๆ ร้องเสียง “ต้อง ๆ ” เป็นจังหวะสมํ่าเสมอ. |
ตุ๊กแก ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Gekkonidae หัวโต ลำตัวยาว มีลายเป็นจุดสีต่าง ๆ กระจายอยู่ด้านบนของตัวเปลี่ยนสีได้ หางค่อนข้างยาว ตีนมีลักษณะพิเศษสามารถเกาะตามพื้นเรียบได้ ไข่กลมติดตามผนัง หลายชนิดร้องเสียงดัง ออกหากินในเวลากลางคืน ตุ๊กแกที่พบบ่อยตามบ้านเรือนและในป่า ได้แก่ ตุ๊กแกใหญ่ [ Gekko gecko (Linn.) ] บางชนิดร่อนตัวได้ ได้แก่ ตุ๊กแกบินหางเฟิน ( Ptychozoon lionatum Annandale), พายัพเรียก ต๊กโต, อีสานเรียก กับแก้. |
เป็ดก่า | น. ชื่อนกเป็ดนํ้าขนาดใหญ่ชนิด Cairina scutulata (Müller) วงศ์ย่อย Anatinae ในวงศ์ Anatidae หัวและคอสีขาวประดำ อกสีเขียวเกือบดำ ทำรังในโพรงไม้ริมลำธารในป่า มักเกาะนอนบนต้นไม้สูง ๆ เวลาบินจะเห็นแถบสีขาวที่ปีกได้ชัดเจน ร้องเสียง “ก่า ๆ ” เป็นนกเป็ดนํ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย. |
เปรต, เปรต- | (เปฺรด, เปฺรดตะ-) น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่างสูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหย็อกหย็อย คอยาว ผอมโซ มีปากเท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้องเสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน |
ส่งเสียง | ก. ร้องเสียงดัง, แผดเสียง, เช่น ดีใจอะไรส่งเสียงมาแต่ไกล ส่งเสียงอื้ออึง. |
เสียงทอง | ว. มีเสียงเพราะเป็นพิเศษทำให้มีคนนิยมมาก เช่น เขาเป็นนักร้องเสียงทอง. |
หมาถูกน้ำร้อน | น. คนที่มีความเดือดร้อน กระวนกระวาย วิ่งพล่านไปหาที่พึ่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนหมาที่ถูกน้ำร้อนลวก ร้องเสียงดังวิ่งพล่านไปด้วยความเจ็บปวดทุรนทุราย. |
หอน | ก. ร้องเสียงยาวโหยหวน (ใช้แก่หมา), (ปาก) เสียงวี้ดหรือกรี๊ดจากเครื่องยนต์หรือเครื่องขยายเสียงเป็นต้น. |
หางนาค | น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Megalurus palustris Horsfield วงศ์ย่อย Megalurinac ในวงศ์ Sylviidae ตัวสีนํ้าตาล มีลายตลอดทั่วตัว หางยาว ขณะบินหางกระดกขึ้นลง ร้องเสียงไพเราะ อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า หนองนํ้า ทุ่งนา ทำรังแบบง่าย ๆ ตามพุ่มหญ้า กินแมลง. |
อึ่งอ่าง | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Kaloula วงศ์ Microhylidae สีนํ้าตาลลายขาว โตเต็มวัยยาวประมาณ ๗ เซนติเมตร มักทำตัวพองเมื่อถูกรบกวน ตัวผู้ร้องเสียงดังเมื่อนํ้านองหลังฝนตก ที่พบทั่วไปมี ๒ ชนิด คือ อึ่งอ่างหรืออึ่งอ่างบ้าน ( K. pulchra Gray) และอึ่งอ่างหลังขีดหรืออึ่งอ่างก้นขีด [ K. mediolineata (Smith) ]. |
อุก ๑ | น. ชื่อเรียกปลากดหลายชนิดในวงศ์ Ariidae ซึ่งเมื่อถูกจับขึ้นมาพ้นนํ้าจะร้องเสียงอุก ๆ. |