กบทูด | น. ชื่อกบภูเขาขนาดใหญ่ที่สุดชนิด Rana blythii Boulenger ในวงศ์ Ranidae ปากค่อนข้างแหลมเมื่อเทียบกับชนิดอื่น กระดูกขากรรไกรบนยาวแหลมออกมาคล้ายเขี้ยว ขนาดลำตัวอาจยาวถึง ๓๐ เซนติเมตร อาศัยในป่าดงดิบชื้นตามลำธารบนภูเขา, พายัพเรียก เขียดแลว. |
กะลิง | น. ชื่อนกปากขอชนิด Psittacula finschii (Hume) ในวงศ์ Psittacidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับนกแขกเต้าที่พบในประเทศไทย ปากสีแดง โดยปลายขากรรไกรบนสีแดงปลายเหลือง ขากรรไกรล่างสีเหลือง หัวสีเทา ตัวสีเขียว หางยาว กินผลไม้และเมล็ดพืช, กะแล ก็เรียก. |
กาฮัง | น. ชื่อนกเงือกชนิด Buceros bicornis Linn. ในวงศ์ Bucerotidae เป็นนกขนาดใหญ่ที่สุดในหมู่นกเงือก โคนขากรรไกรบนมีโหนกแข็งขนาดใหญ่ คอสีขาว ปีกสีดำพาดเหลือง ปลายปีกขาว หางยาวสีขาวพาดดำ ตัวผู้ตาสีแดง ตัวเมียตาสีขาว กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก, กก หรือ กะวะ ก็เรียก. |
กินเปี้ยว | น. ชื่อนกกระเต็นชนิด Halcyon chloris (Boddaert) ในวงศ์ Alcedinidae ปากแบนข้างสีดำปลายแหลม ขากรรไกรบนสีดำ ขากรรไกรล่างสีเทาอมชมพู ลำตัวด้านบนสีน้ำเงินแกมเขียว คอและท้องสีขาว หากินตามป่าชายเลน แต่อาจพบได้ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป กินปูเปี้ยว ปลา และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด. |
ขานกยาง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides tol (Cuvier) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวแบนข้าง เรียวเล็กกว่าปลาสละและปลาเฉียบ แต่พอ ๆ กับปลาสีเสียด ซึ่งทั้งหมดอยู่ในสกุลเดียวกัน ปากไม่กว้างนัก ท้ายขากรรไกรบนอยู่ในแนวใต้จุดศูนย์กลางของตา เกล็ดเล็กและยาวมากคล้ายเข็มฝังแน่นในหนัง เส้นข้างตัวไม่มีเกล็ดที่เป็นสันแข็ง ครีบหลังตอนแรกเป็นหนามแข็ง ๖-๗ ก้าน เรียงห่างกัน มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน อยู่หน้าครีบก้นและพับซ่อนในร่องเนื้อได้ ลำตัวสีเงินเทา มีจุดสีเทาดำอยู่ในแนวเส้นข้างตัว ๕-๘ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๔๓ เซนติเมตร. |
ข้าหลวง ๓ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กชนิด Scolopsis ciliatus (Lacepéde) ในวงศ์ Nemipteridae ลำตัวป้อม แบนข้างปานกลาง พื้นลำตัวสีเขียวหม่น มีแถบสีขาวเด่นพาดตามยาวใกล้แนวสันหลังข้างละเส้น ระหว่างตาและแผ่นกระดูกใต้ตามีหนามแหลม ๑ อัน ชี้ไปทางด้านหน้า ขอบด้านนอกของขากรรไกรบนจักเป็นฟันเลื่อย พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๑๓ เซนติเมตร. |
เขี้ยวแก้ว | เขี้ยวของงูพิษ อยู่บริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบน มีขนาดใหญ่และยาว เช่น งูจงอาง งูเห่า งูเขียวหางไหม้, ถ้าอยู่บริเวณท้ายขากรรไกรบน เรียกว่า เขี้ยวแก้วใน หรือ เขี้ยวแก้วใต้ตา เช่น งูปล้องทอง งูเขียวหัวจิ้งจก |
งา ๔ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยหรือทะเลขนาดเล็กชนิด Thryssa setirostris (Broussonet) ในวงศ์ Engraulidae กระดูกขากรรไกรบนโค้งยื่นยาวเป็นเส้นจดครีบท้องหรือครีบก้น ลำตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงินอมเหลืองส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร. |
เงือก ๓ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Bucerotidae ปากใหญ่ บนส่วนท้ายของขากรรไกรบนมีโหนกแข็ง ส่วนใหญ่ภายในโหนกแข็งกลวง ยกเว้นบางชนิดมีโหนกแข็งตัน เช่น นกชนหิน ส่วนใหญ่ลำตัวสีดำ นอกฤดูผสมพันธุ์อยู่รวมกันเป็นฝูง ขณะบินมีเสียงดัง ระยะเริ่มตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหาร ดิน และมูลปิดปากโพรงด้านใน ตัวผู้ใช้วัสดุเดียวกันปิดปากโพรงทางด้านนอก เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหาอาหารมาป้อนให้ขณะที่ตัวเมียฟักไข่และเลี้ยงลูกได้ ร้องเสียงดังมาก กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น เงือกกรามช้าง [ Rhyticeros undulatus (Shaw) ] เงือกหัวแรด ( Buceros rhinoceros Linn.) เงือกสีน้ำตาล [ Ptilolaemus tickelli (Blyth) ] เงือกดำ [ Anthracoceros malayanus (Raffles) ]. |
เฉลียบ ๑ | (ฉะเหฺลียบ) น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides tala (Cuvier) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวแบนข้างและกว้างใกล้เคียงกับปลาสละ แต่มากกว่าปลาสีเสียดและปลาขานกยางซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ปากกว้าง ท้ายขากรรไกรบนยาวเลยแนวขอบหลังของตาเพียงเล็กน้อย เกล็ดเล็กยาวคล้ายเสี้ยนฝังแน่นในหนัง เส้นข้างตัวไม่มีเกล็ดที่เป็นสันแข็ง ครีบหลังตอนแรกมีก้านครีบแข็ง ๖-๗ ก้าน เรียงห่างกัน มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน อยู่หน้าครีบก้นและพับซ่อนในร่องเนื้อได้ ลำตัวด้านบนสีเงินเทา ด้านข้างสีเงิน มีแต้มรูปไข่ยาวรีเรียงขวางอยู่ในแนวเส้นข้างตัว ๔-๘ แต้ม ขนาดยาวได้ถึง ๖๐ เซนติเมตร, เสลียบ ก็เรียก. |
ชนหิน | น. ชื่อนกเงือกขนาดใหญ่ชนิด Rhinoplax vigil (Forster) ในวงศ์ Bucerotidae ปากใหญ่สีเหลือง บนส่วนท้ายของขากรรไกรบนมีโหนกแข็งสีแดง ส่วนด้านหน้าตัน คอสีน้ำตาลแดง ลำตัวและปีกสีดำ ขอบปีกสีขาว หางสีขาวมีคาดสีดำ ขนหางตอนกลางยื่นยาวเป็นคู่ออกไปมีสีขาวตอนปลายคาดดำ พบทางภาคใต้. |
น้ำเงิน ๓ | น. ชื่อปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดพวกปลาเนื้ออ่อน ชนิด Phalacronotus apogon (Bleeker) หรือ Micronema apogon (Bleeker) ในวงศ์ Siluridae ปากเชิดขึ้น หนวดที่ขากรรไกรบนยาวไม่ถึงขอบแผ่นปิดเหงือกคล้ายปลาแดง แต่ไม่มีหนวดที่ขากรรไกรล่าง หรือมีเป็นเพียงตุ่มขนาดเล็กมาก และมีกลุ่มฟันที่กระดูกฐานจมูกเรียงเป็นแถบรูปโค้ง ลำตัวมีสีเงินคล้ายตะกั่ว ไม่มีครีบหลัง ครีบก้นมักมีขอบสีดำคล้ำ อาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ที่มีความเป็นธรรมชาติ กินสัตว์อื่น ขนาดยาวได้ถึง ๗๗ เซนติเมตร, เนื้ออ่อน นาง หรือ ชะโอน ก็เรียก. |
ปลาแดง | น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ด พวกปลาเนื้ออ่อน ชนิด Phalacronotus bleekeri (Günther)หรือ Micronema bleekeri (Günther) ปากเชิดขึ้น มีหนวด ๒ คู่ หนวดที่ขากรรไกรบนยาวไม่ถึงขอบแผ่นปิดเหงือก หนวดที่ขากรรไกรล่างสั้นมากคล้ายปลาน้ำเงิน แต่มีกลุ่มฟันที่กระดูกฐานจมูกเรียงเป็นแถบมีมุมแหลมคล้ายหัวลูกศร ลำตัวมีสีเงินอมแดงหรือชมพู ไม่มีครีบหลัง ครีบก้นใสไม่มีสี อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองหรือแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ที่มีความเป็นธรรมชาติ กินสัตว์อื่น, เนื้ออ่อน นาง ชะโอน หรือ เกด ก็เรียก. |
เป็ดเทศ | น. ชื่อเป็ดขนาดใหญ่ชนิด Cairina moschata (Linn.) วงศ์ย่อย Anatinae ในวงศ์ Anatidae เหนือขากรรไกรบนมีติ่งเนื้อสีแดงคล้ายเนื้องอกติดอยู่ ตัวมีหลายสี มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลาง. |
เป็ดหงส์ | น. ชื่อนกเป็ดนํ้าขนาดใหญ่ชนิด Sarkidiornis melanotos (Pennant) วงศ์ย่อย Anatinae ในวงศ์ Anatidae หัว คอ อก และท้องสีขาวประดำ ปีกสีเขียวเป็นมัน ตัวผู้ในช่วงฤดูผสมพันธุ์มีหงอนอยู่เหนือขากรรไกรบน ตัวเมียขนาดเล็กกว่าตัวผู้และสีหม่นกว่า อาศัยอยู่ทั้งในแหล่งน้ำทั่วไป และลำธารในป่า ทำรังตามโพรงไม้. |
สละ ๓ | (สะหฺละ) น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides commersonnianus Lacepède ในวงศ์ Carangidae ลำตัวแบนข้างและกว้างมาก ปากกว้าง ท้ายขากรรไกรบนยาวเลยแนวขอบหลังของตามาก เกล็ดเล็กยาวคล้ายเข็มหรือเสี้ยนฝังแน่นในหนัง บนเส้นข้างตัวไม่มีเกล็ดที่เป็นสันแข็ง ลำตัวสีเทา มีจุดดำใหญ่อยู่บนเส้นข้างตัว ๕-๘ จุด ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านสันหัว ขนาดยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร, ฉละ ก็เรียก. |
สายยู ๒ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Platytropius siamensis (Sauvage) ในวงศ์ Schilbeidae ลำตัวเรียวยาว ไม่มีเกล็ด มีหนวดลักษณะแบนบิดและยาวมาก ๔ คู่ อยู่ที่จมูก ขากรรไกรบน ขากรรไกรล่างและคาง, เกด ก็เรียก. |
เสือสุมาตรา | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด Systomus partipentazona (Fowler) ในวงศ์ Cyprinidae มีรูปทรงคล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังมีก้านครีบแข็งก้านสุดท้ายมีขอบจักเป็นฟันเลื่อยละเอียด มีหนวดเพียงที่ขากรรไกรบน เกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวไปสุดที่แนวใต้ครีบหลังเท่านั้น พื้นลำตัวทั่วไปสีเหลืองเทา โดยเฉพาะใกล้แนวสันหลัง ที่สำคัญคือมีแถบสีดำเด่นพาดขวางจากสันหลังถึงหรือเกือบถึงสันท้อง ๔ แถบ คือ ที่บนหัว ที่แนวหน้า หลังครีบหลัง และที่คอดหาง ฐานครีบหลังและครีบก้นมีสีดำ ที่จะงอยปาก ขอบปลายครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางมีสีแดง ขนาดยาวไม่เกิน ๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก เสือ หรือ ข้างลาย. |
อินทรี ๒ | (-ซี) น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่ทุกชนิดในสกุล Scomberomorus วงศ์ Scombridae ลำตัวแบนข้างเรียวยาว คอดหางเล็กมีสันเนื้อ ๓ แนวอยู่ที่โคนหาง หัวแหลม ปากกว้าง ปลายขากรรไกรบนและล่างยาวเสมอกัน เกล็ดเป็นแบบเกล็ดเรียบมีขนาดเล็กมาก ด้านหลังมีสีเทาดำอมฟ้าหรือน้ำเงิน ด้านท้องมีสีเงิน ข้างลำตัวมีลวดลายเป็นสีดำคล้ำแตกต่างกันชัดเจนระหว่างชนิดและเป็นที่มาของชื่อ คือ อินทรีบั้ง [ S. commerson (Lacepède) ] อินทรีจุด [ S. guttatus (Bloch & Schneider) ] อินทรีแท่งหรืออินทรีแท่งดินสอ [ S. lineolatus Cuvier ]. |