ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*โลหะเจือ*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: โลหะเจือ, -โลหะเจือ-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
โลหะเจือ(n) alloy, Syn. โลหะผสม, Example: โลหะเจือใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง, Count Unit: ชนิด, Thai Definition: โลหะที่เกิดจากการผสมโลหะต่างชนิดกัน

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
โลหะเจือน. โลหะที่เกิดจากการผสมโลหะต่างชนิดกัน เช่น นาก ทองบรอนซ์, โลหะผสม ก็ว่า.
กระจกเงาน. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สำหรับส่องหน้าเป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย
โคบอลต์น. ธาตุลำดับที่ ๒๗ สัญลักษณ์ Co เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๙๕ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือเพื่อให้มีสมบัติพิเศษบางประการ เช่น ผสมกับเหล็กทำให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และเมื่อนำไปทำเป็นแม่เหล็กก็จะได้แม่เหล็กที่มีกำลังมากเป็นพิเศษ ในอุตสาหกรรมเครื่องแก้วและเครื่องดินเผาใช้สารประกอบของโคบอลต์เป็นตัวให้สีนํ้าเงิน.
เงินเยอรมันน. โลหะเจือซึ่งมีองค์ประกอบโดยประมาณเป็นทองแดง ๕ ส่วน สังกะสี ๒ ส่วน และนิกเกิล ๒ ส่วน.
เงินสเตอร์ลิงน. โลหะเจือซึ่งประเทศอังกฤษเคยใช้ทำเงินตรา มีองค์ประกอบเป็นโลหะเงินร้อยละ ๙๒.๕ ทองแดงร้อยละ ๗.๒ ตะกั่วร้อยละ ๐.๒ และทองคำร้อยละ ๐.๑.
เจือผสม เช่น โลหะเจือ.
ชิน ๑น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตะกั่วและดีบุก นิยมใช้ทำพระเครื่อง
ดีบุกน. ธาตุลำดับที่ ๕๐ สัญลักษณ์ Sn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายโลหะเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๒๓๑.๙ °ซ. มี ๓ อัญรูป คือ ดีบุกสีเทา ดีบุกสีขาว และดีบุกรอมบิก ใช้ประโยชน์ฉาบผิวเหล็กเพื่อกันไม่ให้เป็นสนิม ใช้ทำโลหะเจือ แผ่นดีบุกบาง ๆ ใช้สำหรับห่อของเพื่อกันชื้น.
ตะกั่วธาตุลำดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงิน ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔ °ซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่วและสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย.
ถ่านไฟแช็กน. โลหะเจือประเภทไพโรฟอริก เช่น โลหะซีเรียมผสมเหล็ก เป็นสารแข็ง ลักษณะเป็นแท่งกลมสั้น เมื่อครูดกับจักรโลหะจะเกิดประกายไฟ.
ทองขาวชื่อเรียกทางการค้าของโลหะเจือทองคำกับโลหะอื่นที่มีสีขาว เช่น เงิน นิกเกิล สังกะสี แพลเลเดียม โดยทั่วไปประกอบด้วย ทองคำร้อยละ ๗๕ เงินร้อยละ ๕ แพลเลเดียมร้อยละ ๒๐ (อ. white gold)
ทองบรอนซ์น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์ หรือ สัมฤทธิ์ ก็เรียก.
ทองสัมฤทธิ์น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, สัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ก็เรียก.
ทองเหลืองน. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยทองแดงและสังกะสี ลักษณะเป็นโลหะสีเหลือง.
ทอเรียมน. ธาตุลำดับที่ ๙๐ สัญลักษณ์ Th เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาเข้ม หลอมละลายที่ ๑๗๕๐ ° ซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสี ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ.
ทังสเตนน. ธาตุลำดับที่ ๗๔ สัญลักษณ์ W เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทา หลอมละลายที่ ๓๔๑๐ °ซ. ใช้ประโยชน์เป็นไส้หลอดไฟฟ้า ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ, วุลแฟรม ก็เรียก.
เทลลูเรียมน. ธาตุลำดับที่ ๕๒ สัญลักษณ์ Te ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาวคล้ายเงิน มีสมบัติทางเคมีคล้ายธาตุกำมะถัน หลอมละลายที่ ๔๔๙.๕ °ซ. มีหลายอัญรูป ใช้ประโยชน์ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ และใช้ในอุตสาหกรรมทำแก้วสี.
แทนทาลัมน. ธาตุลำดับที่ ๗๓ สัญลักษณ์ Ta เป็นโลหะสีขาวแกมเทา ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๙๙๖ °ซ. ใช้ประโยชน์เป็นไส้หลอดไฟฟ้า ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ.
แทลเลียมน. ธาตุลำดับที่ ๘๑ สัญลักษณ์ Tl เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว หลอมละลายที่ ๓๐๓ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ.
ไทเทเนียมน. ธาตุลำดับที่ ๒๒ สัญลักษณ์ Ti เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๖๖๘ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ.
นิกเกิลน. ธาตุลำดับที่ ๒๘ สัญลักษณ์ Ni เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๕๓ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ชุบฉาบผิวโลหะอื่นเป็นต้น, ทางการค้าเรียกว่า ทองขาว. (ดู ทองขาว) (อ. nickel).
นิโครม(-โคฺรม) น. โลหะเจือชนิดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยโครเมียมและนิกเกิล ใช้ประโยชน์นำไปทำเป็นเส้นลวดในอุปกรณ์ไฟฟ้าเพราะมีความต้านทานสูง และทนทานต่อความร้อนได้ดีมาก.
บิสมัทน. ธาตุลำดับที่ ๘๓ สัญลักษณ์ Bi เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวอมแดง เปราะ หลอมละลายที่ ๒๗๑.๓ °ซ. เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าที่เลว มีสมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ซึ่งหลอมละลายที่อุณหภูมิตํ่า.
เบริลเลียมน. ธาตุลำดับที่ ๔ สัญลักษณ์ Be เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๒๗๗ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ซึ่งทนทานต่อการผุกร่อน.
ปรอท(ปะหฺรอด) น. ธาตุลำดับที่ ๘๐ สัญลักษณ์ Hg เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของเหลว สีเงิน แข็งตัวที่ -๓๘.๓๖ °ซ. เดือดที่ ๓๕๗ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปทำเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ โลหะเจือซึ่งเรียกว่า อะมัลกัม (amalgam) ใช้ในงานทันตกรรมและทำเครื่องมือวิทยาศาสตร์อื่น ๆ สารประกอบของปรอทเป็นพิษ แต่บางอย่างใช้เป็นยาได้. (อ. mercury)
พลวง ๑(พฺลวง) น. ธาตุลำดับที่ ๕๑ สัญลักษณ์ Sb เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายโลหะเงิน เปราะ หลอมละลายที่ ๖๓๐.๕ °ซ. มีสมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ.
แพลทินัม(แพฺล-) น. ธาตุลำดับที่ ๗๘ สัญลักษณ์ Pt เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงินเป็นเงางาม หลอมละลายที่ ๑๗๖๙ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอุปกรณ์ในเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และใช้เป็นเครื่องประดับที่มีค่าสูง, ทางการค้าเรียกว่า ทองคำขาว.
แพลเลเดียม(แพน-) น. ธาตุลำดับที่ ๔๖ สัญลักษณ์ Pd เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงินคล้ายแพลทินัม หลอมละลายที่ ๑๕๕๒ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ.
ฟิวส์น. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นโลหะเจือที่มีขีดหลอมตัวตํ่า เช่น โลหะดีบุกเจือตะกั่ว ใช้ต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าเพื่อป้องกันมิให้กระแสไฟฟ้าที่มีขนาดเกินกำหนดเคลื่อนที่เข้าวงจรไฟฟ้าได้.
แมกนีเซียมน. ธาตุลำดับที่ ๑๒ สัญลักษณ์ Mg เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๖๕๐ °ซ. เมื่อจุดให้ติดไฟในอากาศจะได้เปลวสีขาว สว่างจัด ใช้ประโยชน์ในการถ่ายรูป ทำระเบิดเพลิง นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือชนิดนํ้าหนักเบา เป็นต้น.
แมงกานินน. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยทองแดงร้อยละ ๘๓ แมงกานีสร้อยละ ๑๓ นิกเกิลร้อยละ ๔ ใช้ประโยชน์นำไปทำอุปกรณ์ไฟฟ้า.
แมงกานีสน. ธาตุลำดับที่ ๒๕ สัญลักษณ์ Mn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน แข็งแต่เปราะ หลอมละลายที่ ๑๒๔๕ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ.
โมลิบดีนัมน. ธาตุลำดับที่ ๔๒ สัญลักษณ์ Mo เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๒๖๑๐ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ และใช้ทำเหล็กกล้า.
รีเนียมน. ธาตุลำดับที่ ๗๕ สัญลักษณ์ Re เป็นโลหะลักษณะเป็นของแข็งสีเทา หลอมละลายที่ ๓๑๘๐ ºซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า ใช้เป็นองค์ประกอบของโลหะทนไฟในจรวด.
รูทีเนียมน. ธาตุลำดับที่ ๔๔ สัญลักษณ์ Ru เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เปราะ หลอมละลายที่ ๒๓๑๐ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ.
โรเดียมน. ธาตุลำดับที่ ๔๕ สัญลักษณ์ Rh เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน หลอมละลายที่ ๑๙๖๖ ºซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ.
โลหะผสมน. โลหะเจือ.
โลหัชน. โลหะเจือ เช่น ทองเหลือง ทองบรอนซ์.
วาเนเดียมน. ธาตุลำดับที่ ๒๓ สัญลักษณ์ V เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๙๐๐ ºซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ.(อ. vanadium).
สังกะสีน. ธาตุลำดับที่ ๓๐ สัญลักษณ์ Zn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวแกมนํ้าเงิน หลอมละลายที่ ๔๑๙ °ซ. ใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ฉาบผิวเหล็กเพื่อกันสนิม. (อ. zinc)
สัมฤทธิ-, สัมฤทธิ์โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ก็เรียก, โบราณเขียนว่า สำริด.
ออสเมียมน. ธาตุลำดับที่ ๗๖ สัญลักษณ์ Os เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๓๐๐๐ °ซ. เนื้อแข็งมาก ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ.
อะลูมิเนียมน. ธาตุลำดับที่ ๑๓ สัญลักษณ์ Al เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายเงิน หลอมละลายที่ ๖๖๐ °ซ. ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น นำไปผสมกับโลหะอื่นเป็นโลหะเจือ ใช้ทำเครื่องครัว.
อิตเทรียม(อิดเทฺรียม) น. ธาตุลำดับที่ ๓๙ สัญลักษณ์ Y เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเทาเข้ม หลอมละลายที่ ๑๕๐๐ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ในเทคโนโลยีนิวเคลียร์.
อินเดียมน. ธาตุลำดับที่ ๔๙ สัญลักษณ์ In เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีขาวเงิน หลอมละลายที่ ๑๕๖.๒ °ซ. ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่นทำอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือที่ใช้ในงานทันตกรรม ชุบฉาบผิวเหล็กซึ่งเคลือบด้วยเงินแล้ว.
อิริเดียมน. ธาตุลำดับที่ ๗๗ สัญลักษณ์ Ir เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายเงิน เนื้อแข็งมาก เป็นธาตุที่หนักที่สุดเท่าที่รู้จักกัน หลอมละลายที่ ๒๔๕๔ ํซ. เป็นโลหะที่ทนทานต่อการสึกกร่อนที่สุด ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ.
เออร์เบียมน. ธาตุลำดับที่ ๖๘ สัญลักษณ์ Er เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งเป็นเงาวาว เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๑๔๙๗ ํซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
alloyโลหะเจือ [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
brazing alloyโลหะเจือแล่นประสาน [การเชื่อม ๒๐ ก.ย. ๒๕๔๔]
triturationการผสมปรอทกับโลหะเจือ [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Alloysโลหะผสม, โลหะเจือ [การแพทย์]
Alloys, Aluminumโลหะเจือของอะลูมิเนียม [การแพทย์]
Amalgamของเหลวอะมัลกัม, อะมาลแกม, โลหะเจือปรอท, อะมัลกัม [การแพทย์]
alloyโลหะเจือ, โลหะผสม, สารเนื้อเดียวที่ได้จากการผสมโลหะสองชนิดขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สมบัติตามต้องการ เช่น ทองเหลืองเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
โลหะเจือ[lōhajeūa] (n) EN: alloy  FR: alliage [ m ]

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top