โกฐ | (โกด) น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจำพวกหนึ่ง ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช มีหลายชนิด คือ โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา, โกฐทั้ง ๗ เพิ่ม โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว, โกฐทั้ง ๙ เพิ่ม โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี, และมีโกฐพิเศษอีก ๓ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง และโกฐนํ้าเต้า, ตำรายาแผนโบราณเขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี. |
โกฐกระดูก | น. ชื่อเรียกเหง้าแห้งของไม้ล้มลุกชนิด Saussurea lappa C. B. Clarke ในวงศ์ Compositae. |
โกฐกะกลิ้ง | น. ชื่อเรียกเมล็ดแก่แห้งของต้นแสลงใจ ( Strychnos nux-vomica L.) ในวงศ์ Strychnaceae. |
โกฐกักกรา | น. ชื่อเรียกรากแห้งของไม้ล้มลุกชนิด Anacyclus pyrethrum (L.) DC. ในวงศ์ Compositae. |
โกฐก้านพร้าว | น. ชื่อเรียกรากแห้งของไม้ล้มลุกชนิด Picrorhiza kurroa Royle ex Benth. ในวงศ์ Scrophulariaceae, โกฐก้านมะพร้าว ก็เรียก. |
โกฐเขมา | (-ขะเหฺมา) น. ชื่อเรียกเหง้าและรากแห้งของไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Atractylodes วงศ์ Compositae เช่น ชนิด A. lancea (Thunb.) Dc., โกฐหอม ก็เรียก. |
โกฐจุฬาลัมพา, โกฐจุฬาลำพา | น. ชื่อเรียกเรือนยอด (แห้ง) ที่กำลังมีดอกของพืช ๓ ชนิด ในสกุล Artemisia วงศ์ Compositae เช่น ชนิด A. annua L., A. vulgaris L. |
โกฐชฎามังษี, โกฐชฎามังสี | น. ชื่อเรียกรากแห้งของไม้ล้มลุกชนิด Nardostachys jatamansi DC. ในวงศ์ Valerianaceae. |
โกฐเชียง | น. ชื่อเรียกเหง้าและรากแห้งของไม้ล้มลุกชนิด Angelica sinensis (Oliv.) Diels และชนิด Livisticum officinale W. D. J. Koch. ในวงศ์ Umbelliferae. |
โกฐน้ำเต้า | น. ชื่อเรียกเหง้าและรากแห้งของพืช ๖ ชนิด ในสกุล Rheum วงศ์ Polygonaceae เช่น ชนิด R. officinale Baill., R. palmatum L. |
โกฐพุงปลา | น. ชื่อเรียกสิ่งที่นูนปูดขึ้นมาตามกิ่งและใบของไม้ต้นหลายชนิดในสกุล T erminalia วงศ์ Combretaceae เช่น สมอไทย ( T. chebula Retz.), อีสานเรียก ปูดกกส้มมอ. |
โกฐสอ | น. ชื่อเรียกรากแห้งของไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Angelica วงศ์ Umbelliferae เช่น ชนิด A. sylvestris L., A. glabra Makino. |
โกฐหอม | ดู โกฐเขมา. |
โกฐหัวบัว | น. ชื่อเรียกเหง้า ราก ใบ และดอกแห้งของไม้ล้มลุก ๓ ชนิด ในวงศ์ Umbelliferae คือ ชนิด Cnidium officinale Makino, Conioselinum univittatum Turcz. ex H. Karsten et Kirilow และ Ligusticum striatum DC. |
โกฐาส | (โกดถาด) น. ส่วน เช่น พรพอใจบ้นนน้นนอนนเป็นโกฐาสถ้อย (ม. คำหลวง ทศพร). |
กระดูก ๒ | น. ชื่อโกฐชนิดหนึ่ง เรียกว่า โกฐกระดูก. (ดู โกฐกระดูก ที่ โกฐ). |
กะกลิ้ง | น. โกฐกะกลิ้ง. (ดู โกฐกะกลิ้ง ที่ โกฐ). |
กักกรา | (-กฺรา) น. โกฐกักกรา. (ดู โกฐกักกรา ที่ โกฐ). |
ก้านพร้าว | น. โกฐก้านพร้าว. (ดู โกฐก้านพร้าว ที่ โกฐ). |
เขมา ๒ | (ขะเหฺมา) น. โกฐเขมา . (ดู โกฐเขมา ที่ โกฐ). |
จุฬาลัมพา, จุฬาลำพา | น. โกฐจุฬาลัมพา. (ดู โกฐจุฬาลัมพา, โกฐจุฬาลำพา ที่ โกฐ). |
ชฎามังษี, ชฎามังสี | น. โกฐชฎามังษี. (ดู โกฐชฎามังษี, โกฐชฎามังสี ที่ โกฐ). |
ตรีฉินทลามกา | (-ฉินทะลามะกา) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาแก้ธาตุลามกให้หมดไป ๓ อย่าง คือ โกฐนํ้าเต้า สมอไทย รงทอง. |
ตรีทิพยรส | (-ทิบพะยะรด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสดี ๓ อย่าง คือ โกฐกระดูก เนื้อไม้ อบเชยไทย. |
ทั้ง | ว. ทั่ว เช่น ทั้งโลก ทั้งห้อง ทั้งตัว, รวมหมด เช่น ปลาทั้งตัว, พร้อมด้วย เช่น ต้มทั้งกระดูก นอนทั้งรองเท้า, ตลอด เช่น ทั้งคืน ทั้งวัน ทั้งเดือน ทั้งปี, ครบตามที่กำหนด เช่น โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง และโกฐจุฬาลัมพา ชุมเห็ดทั้ง ๕ ได้แก่ ต้น ราก เปลือก ใบ และดอก ของต้นชุมเห็ด |
น้ำเต้า | โกฐนํ้าเต้า. (ดู โกฐนํ้าเต้า ที่ โกฐ). |
ปูดกกส้มมอ | น. โกฐพุงปลา. (ดู โกฐพุงปลา ที่ โกฐ). |
พุงปลา | น. โกฐพุงปลา. (ดู โกฐพุงปลา ที่ โกฐ). |
สอ ๔ | น. โกฐสอ.(ดู โกฐสอ ที่ โกฐ). |
แสลงใจ ๒ | (สะแหฺลง-) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Strychnos nux-vomica L. ในวงศ์ Strychnaceae ผลกลม สุกสีเหลือง เมล็ดกลมแบน มีแอลคาลอยด์หลัก ๒ ชนิด คือ สตริกนิน และ บรูซีน เป็นสารพิษ, ตูมกาแดง ก็เรียก, อีสาน เรียก แสลงเบื่อ, เมล็ดแก่แห้งใช้ทำยาได้ เรียก โกฐกะกลิ้ง. |
หัวบัว ๓ | น. โกฐหัวบัว. (ดู โกฐหัวบัว ที่ โกฐ). |