กะพร่องกะแพร่ง | (-พฺร่อง-แพฺร่ง) ว. มีบ้างขาดบ้าง, ไม่สมํ่าเสมอ |
กะพร่องกะแพร่ง | ไม่เต็มที่, ไม่ครบถ้วน, ไม่พอเพียง, (ตามที่คาดหมายไว้). |
ขาดตกบกพร่อง | ก. ไม่ครบ, ไม่บริบูรณ์, ยังไม่เรียบร้อย. |
นมบกอกพร่อง | น. ลักษณะของหญิงที่ชายทำให้เสียความบริสุทธิ์แล้วทอดทิ้งไป เช่น แลมันทำชู้แล้วมันทอดหญิงนั้นเสีย ท่านว่ามันทำให้ลูกหลานท่านนมบกอกพร่อง ให้ไหมชายผู้เลมิดพ่อแม่ผู้เถ้าผู้แก่นั้นโดยขนาฎ (สามดวง), มักใช้เพี้ยนไปเป็น นมตกอกพร่อง. |
บกพร่อง | ก. ไม่ครบบริบูรณ์เท่าที่ควรมีควรเป็น เช่น ข้อความบกพร่อง ทำงานบกพร่อง. |
พร่อง | (พฺร่อง) ว. ไม่เต็มตามอัตราเพราะลดหรือขาดไป เช่น ตักแกงพร่อง ทำงานไม่พร่อง กินไม่รู้จักพร่อง. |
พร่อง | (พฺร่อง) ก. ยุบไปหรือลดไปจากเดิม เช่น น้ำในโอ่งพร่องไป ข้าวสารในกระสอบพร่องไป. |
พร้อง | (พฺร้อง) ก. พูด, กล่าว, ร้อง. |
พร้องเพรียก | (-เพฺรียก) ก. ร้องเรียก. |
เพรียกพร้อง | (-พฺร้อง) ก. ร้องเซ็งแซ่ (ใช้แก่นกเป็นต้น). |
กระโฉม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa (Roth) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขน ขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลำต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกมชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วนของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทำยาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน (เห่เรือ). |
กล้อ ๒ | (กฺล้อ) น. เครื่องสานยาชันชนิดหนึ่ง เช่น ก็ให้น้ำเต็มเต้า เข้าเต็มไหไปเต็มหม้อ ชื่อว่ากล้อก็บมิให้พร่องเลอย (ม. คำหลวง ชูชก). (ดู กร้อ). |
กานท, กานท์ | (กานด, กาน) น. บทกลอน เช่น สารสยามภาคพร้อง กลกานท นี้ฤๅ (ยวนพ่าย). |
กายภาพบำบัด | น. การบำบัด ป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูความบกพร่องของร่างกายที่เกิดเนื่องจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปรกติ. |
การวิก | (การะวิก) น. นกการเวก เช่น การวิกรวังวนกุณาล พเพรียกพร้องกระแสงใส (สมุทรโฆษ). |
ข้อ | ลักษณะหรือคุณสมบัติ เช่น ข้อดี ข้อเสีย ข้อบกพร่อง. |
ขาด | ไม่ครบ, บกพร่อง, เช่น ศีลขาด |
คนพิการ | น. คนที่มีความผิดปรกติหรือบกพร่องทางร่างกาย ทางสติปัญญาหรือทางจิตใจ. |
งวด | ก. ลดลงไป, พร่องลงไป, แห้งลงไป, เช่น น้ำงวดลง. |
งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎร์ไม่ให้เสีย | ทำงานไม่บกพร่องทั้งงานส่วนรวมและส่วนตัว, ใช้เพี้ยนว่า งานหลวงไม่ขาด งานราษฎร์ไม่เสีย ก็มี. |
ชำรุด | ก. เสื่อมจากสภาพเดิมจนถึงบกพร่องเสียหายหรือบุบสลายไป เช่น หนังสือชำรุด เกวียนชำรุด. |
เดาะ ๑ | โดยปริยายใช้เรียกผู้ที่กำลังจะดี แต่กลับมีข้อบกพร่องเสียกลางคัน ใช้เป็นคำแทนกริยาหมายความว่า ทำแปลกกว่าธรรมดาสามัญ เช่น ร้อนจะตายเดาะเสื้อสักหลาดเข้าให้. |
ตำหนิ | ก. ติว่าบกพร่อง. |
ติ | ก. ชี้ข้อบกพร่อง. |
เต็ม | ว. มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งบรรจุอยู่จนไม่มีที่ว่าง, ไม่พร่อง, เช่น นํ้าเต็มโอ่ง คนเต็ม |
เต็มใจ | ก. มีนํ้าใจไม่บกพร่อง, มีใจสมัครด้วยยินดี, ไม่มีข้ออิดเอื้อนหรือขัดแย้ง. |
เต็มเม็ดเต็มหน่วย | ว. ครบ, ไม่ขาดตกบกพร่อง, เช่น เก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย. |
เติม | ก. เพิ่มสิ่งที่ยังพร่องอยู่. |
บก | ว. แห้ง, พร่อง, ลดลง, เช่น แลมันทำชู้แล้วมันทอดหญิงนั้นเสีย ท่านว่ามันทำให้ลูกหลานท่านนมบกอกพร่อง (สามดวง) |
เบญจวรรณห้าสี | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง บังคับเสียงพยัญชนะตัวเดียวใน ๕ คำแรกของทุกวรรค เช่น จอมจักรเจ้าแจ้งเจาะฟังเพราะพร้อง จวนจิตรจ่องจนใจสงไสยสนิท (ศิริวิบุลกิตติ์), โบราณเขียนเป็น เบญจวรรณห้าศรี ก็มี. |
โป๊ | ก. ส่งเสริมสิ่งที่บกพร่อง เช่น ยาโป๊, ทำสิ่งยังบกพร่องอยู่ให้สมบูรณ์ เช่น เอาสีโป๊ตรงที่เป็นช่องเป็นรู ก่อนทาสีเอาปูนโป๊รอยที่ชำรุด. (จ. โป้ว ว่า ปะชุนเสื้อผ้า, ซ่อมแซม, บำรุงร่างกาย). |
ผู้แทนโดยชอบธรรม | น. บุคคลซึ่งตามกฎหมายมีสิทธิที่จะทำการแทน ให้คำอนุญาต หรือให้ความยินยอม แก่บุคคลผู้มีความสามารถบกพร่อง ในอันที่จะทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง. |
ยอบ | ว. พร่อง. |
รันธะ | ความผิด, ความบกพร่อง. |
ละเอียด | ที่ต้องชี้แจงหรือแจกแจงโดยไม่ให้มีอะไรขาดตกบกพร่อง เช่น เรื่องนี้ต้องอธิบายโดยละเอียด |
วิจาร, วิจารณ-, วิจารณ์ | (วิจาน, วิจาระนะ-, วิจาน) ก. ให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ. |
วิด | ก. อาการที่ทำให้นํ้าพร่องหรือหมดไปด้วยวิธีวัก สาด หรือด้วยเครื่องวิดมีระหัดเป็นต้น เช่น วิดน้ำออกจากเรือ วิดน้ำออกจากบ้าน, ถ้าใช้วิธีอย่างเดียวกันนั้นถ่ายเทนํ้าจากที่หนึ่งเข้าสู่อีกที่หนึ่ง ใช้ว่า วิดเข้า เช่น วิดนํ้าเข้านา. |
สนิท | กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็นเนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้สนิท |
ส่องกระจก | ก. ดูภาพตนเองในกระจกเงา, โดยปริยายหมายความว่า ให้สำรวจดูฐานะหรือข้อบกพร่องของตน (มักใช้ในอาการที่ดูหมิ่น) เช่น กลับไปส่องกระจกดูเงาตัวเองเสียบ้าง. |
สายตาพิการ | น. ความพิการในการเห็น, สายตาที่บกพร่องมองเห็นไม่เหมือนคนปรกติ เช่นตาบอดสี, การเห็นไม่ดีจนเป็นอุปสรรคต่อการงานซึ่งต้องใช้การมองเห็นเป็นหลัก. |
สายตาเอียง | น. ความบกพร่องของนัยน์ตาที่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในแนวระดับหรือในแนวดิ่งไม่ได้ชัดสม่ำเสมอกัน ช่วยได้โดยสวมแว่นที่เป็นเลนส์รูปกาบกล้วย. |
เสียการเสียงาน | ก. ทำให้งานที่มุ่งหวังไว้บกพร่องหรือเสียหาย เช่น อยากจะไปเที่ยวก็ไม่ว่า แต่อย่าให้เสียการเสียงาน, เสียงานเสียการ ก็ว่า. |
เสียงาน | ก. ทำให้สิ่งหรือเรื่องที่กำหนดไว้ไม่สำเร็จหรือบกพร่อง เช่น เพื่อน ๆ รับปากว่าจะมาช่วยแล้วไม่มา ทำให้เสียงานหมด. |
เสียงานเสียการ | ก. ทำให้งานที่มุ่งหวังไว้บกพร่องหรือเสียหาย เช่น เขามัวแต่ไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ จนเสียงานเสียการ, เสียการเสียงาน ก็ว่า. |
เสียแต่, เสียที่ | สัน. เสียตรงที่, บกพร่องตรงที่, มีตำหนิตรงที่, เช่น หน้าตาก็สวยดี เสียแต่พูดไม่เพราะ. |